ความสำคัญ
ความหมายของคำว่า "คูณลาน" หมายความว่าเพิ่มเข้า หรือทำให้มากขึ้นส่วนคำว่า "ลาน" คือสถานที่สำหรับนวดข้าว การนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง เรียกว่า "คูณลาน" การทำประเพณีบุญคูณลานกำหนดเอาเดือนยี่เป็นเวลาทำ เพราะกำหนดเอาเดือนยี่นี่เองจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญเดือนยี่ ดังบรรพบุรุษได้ผูกกลอนสอนให้ชาวบ้านเตรียมการก่อนทำบุญไว้ว่า
"เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว
ให้นิมนต์พระสงฆ์องค์เจ้ามาตั้งสวดมงคล
เอาบุญคูณข้าวเข้าป่าหาไม้เห็ดหลัว
อย่าได้หลงลืมทิ่มฮีตเก่าคองเดิมเฮาเด้อ"
หมายความว่า เมื่อถึงฤดูเดือนยี่มาถึงให้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมงคลทำบุญคูณข้าว ให้จัดหาไม้มาไว้ทำฟืนสำหรับใช้ในการหุงต้มประกอบอาหาร อย่าได้หลงลืมประเพณีเก่าแก่แต่เดิมมาของเรา
พิธีกรรม
การทำบุญคูณลานของชาวบ้านจะไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จเมื่อไร วันที่จะขนข้าวขึ้นเล้า (ฉางข้าว) นั่นแหละจะเป็นวันทำบุญคูณลานและทำที่นานั่นเลย แต่ก่อนที่จะทำการนวดข้าวนั้นให้ทำพิธีย้ายแม่ธรณีออกจากลานเสียก่อน และบอกกล่าวแม่โพสพมีอุปกรณ์ที่จะต้องเตรียมดังนี้
๑. ใบคูณ ใบยอ อย่างละ ๗ ใบ ๖. ยาสูบ ๔ มวน
๒. เขาควายหรือเขาวัว ๑ คู่ ๗. หมาก ๔ คำ
๓. ไข่ ๑ ฟอง ๘. ข้าวต้ม ๑ มัด
๔. มัน ๑ หัว ๙. น้ำ ๑ ขัน
๕. เผือก ๑ หัว ๑๐. ขัน ๕ ดอกไม้ ธูปเทียน
เมื่อพร้อมแล้วก็บรรจุลงในก่องข้าว (หรือกระติ๊บข้าว) ยกเว้นน้ำและเขาควาย ซึ่งเรียกว่า "ขวัญข้าว" เพื่อเตรียมเชิญแม่ธรณีออกจากลานและบอกกล่าวแม่โพสพ นำก่องข้าว เขาควาย ไม้นวดข้าว ๑ คู่ ไม้สน ๑ อัน คันหลาว ๑ อัน มัดข้าว ๑ มัด ขัดตาแหลว ๑ อัน (ตาแหลว เป็นอุปกรณ์ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้คาถากุ้มข้าวใหญ่ของลานอื่นดูดไป) นำไปวางไว้ที่หน้าลอมข้าว(กองข้าว) เสร็จแล้วเจ้าของนาก็ตั้งอธิษฐานว่า "ขอเชิญแม่ธรณีได้ย้ายออกจากลานข้าว และแม่โพสพอย่าตกอกตกใจไปลูกหลานจะนวดข้าวจะเหยียบย่ำอย่าได้โกรธเคืองหรืออย่าให้บาป" อธิษฐานแล้วก็ดึงเอามัดข้าวที่ฐานลอม (กองข้าว) ออกมานวดก่อนแล้วเอาฟ่อนฟางข้าวที่นวดแล้วห่อหุ้มก่องข้าวมัดให้ติดกัน เอาไม้คันหลาวเสียบฟาง เอาตาแหลวผูกติดมัดข้าวที่เกี่ยวมาจากนาตาแฮกเข้าไปด้วย แล้วนำไปปักไว้ที่ลอมข้าวเป็นอันว่าเสร็จพิธี ต่อไปก็ลงมือนวดข้าวทั้งลอมได้เลย เมื่อนวดเสร็จก็ทำกองข้าวให้เป็นกองสูงสวยงาม เพื่อจะประกอบพิธีบายศรีสูตรขวัญให้แก่ข้าว โดยเอาต้นกล้วย ต้นอ้อย และตาแหลวไปปักไว้ข้างกองข้าวทั้ง ๔ มุม นำตาแหลวและขวัญข้าวไปวางไว้ยอดกองข้าวพันด้วยด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าวแล้วโยงมายังพระพุทธรูป ถึงวันงานก็บอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วก็ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ นำพระพุทธมนต์ไปรดกองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางพระสงฆ์แล้วก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสูตรขวัญให้แก่ข้าว
สาระ
จุดมุ่งหมายของการทำประเพณีบุญคูณลานก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในลานของตน และเพื่อเป็นการขออานิสงส์ต่างๆ
การสูตรขวัญข้าวจะกระทำที่ลานนาหรือที่ลานบ้านก็ตามแต่จะสะดวก หลังสู่ขวัญข้าวเสร็จก็จะเป็นการขนข้าวขึ้นยุ้ง ก่อนขนขึ้นยุ้งเจ้าของจะต้องไปเก็บเอาใบคูณและใบยอเสียบไว้ที่เสายุ้งข้าวทุกเสา ซึ่งถือเป็นเคล็ดว่าขอให้ค้ำคูณยอ ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และเชิญขวัญข้าวและแม่โพสพขึ้นไปยังเล้าด้วย
******************************************************************************************************
เดือนยี่หรือเดือนสอง นักปราชญ์โบราณอีสานได้จัดการให้มีประเพณีในการ ทำบุญประจำเดือนนี้ คือบุญคูณลาน โดยท่านได้กล่าวไว้เป็นผญาว่า...
ฮอดเมื่อเดือนสองอย่าช้าข้าวใหม่ปลามัน
ให้เฮามาโฮมกันแต่งบุญประทายข้าว
เชิญให้มาโฮมเต้าอย่าพากันขี่ถี่
บุญคูณลานตั้งแต่กี้มาถ่อนซ่อยฮักษา
สำหรับมูลเหตุของเรื่องนี้มีปรากฎในหนังสือธรรมบทว่าในสมัยหนึ่งนางปุณณทาสีได้ทำขนมแป้งจี่(ข้าวจี่) ที่ทำจากรำข้าวอย่างละเอียดถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าเมื่อพระพุทธองค์กับพระอานนท์รับแล้วคงไม่ฉันเพราะอาหารที่เราถวายไม่ใช่อาหารที่ดีหรือประณึตอะไร คงจะโยนให้หมู่กาและสุนัขกินเสียกลางทางพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางและเข้าใจในเรื่อง ที่นางปุณณทาสีคิด จึงได้สั่งให้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากได้ปูลาดอาสนะลงแล้วประทับนั่งฉันสุดกำลังและในตอนท้าย หลังการทำภัตตกิจด้วยขนมแป้งจี่เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้ฟัง จนกระทั่งนางปุณณทาสีได้บรรลุโสดาบัน เป็นอริยอุบาสิกาเพราะมีข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ด้วยควาเชื่อแบบนี้คนอีสานโบราณจึงได้จัดแต่งให้บุญข้าวจี่ทุกๆปี ไม่ได้ขาดดั่งที่ปรากฎในผญาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...
ยามเมื่อถึงเดือนสามได้พากันเอาบุญข้าวจี่
ตั้งหากธรรมเนียมนี้มีมาแท้ก่อนกาล
ได้เฮ็ดกันทุกบ้านทุกถิ่นเอาบุญ
อย่าได้พากันไลเสียฮีตบุญคองเค้า
สถานที่นวดข้าวเรียกว่า"ลาน" การนำข้าวที่นวดแล้วมากองให้สูงขึ้นเรียกว่า "คูณลาน" คนอีสานสมัยก่อนมีอาชีพทำนาเป็นหลักและต้องการจะทำบุญด้วยการบำเพ็ญทาน ก็ได้จัดให้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า"บุญคูณลาน"
โดยกำหนดเอาเดือนยี่หรือเดือนสองเป็นเวลา ทำเพราะมีกำหนดทำเอา ในเดือนยี่นี้เองจึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า"บุญเดือนยี่"
สำหรับประฐมมูลเหตุของเรื่องนี้มีอยู่ว่าในสมัยของพระกัสปะพุทธเจ้าได้มีชาวนาสองพี่น้องทำนาร่วมกัน ยามเมื่อข้าวเป็นน้ำนม น้องชายต้องการที่จะทำข้าวมธุปยาสถวายแด่พระสงฆ์ มีพระกัสสปะพุทธเจ้าเป็นประธาน ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่เห็นด้วยจึงได้ทำการแบ่งนากันคนละครึ่งพอได้กรรมสิทธิในที่นาแล้วก็เอาข้าวในนา ของตนทำบุญถึง ๙ ครั้ง คือในเวลาที่ข้าวเป็นน้ำนม๑ ในเวลาที่ข้าวเป็นข้าวเม่า ๑ ในเวลาเก็บเกี่ยวข้าว ๑ ในเวลาที่จักตอกมัดข้าว ๑ ในเวลาที่มัดข้าวเป็นฟ่อน ๑ ในเวลาที่กองข้าวไว้ในลาน ๑ ในเวลาที่ทำเป็นลอม ๑ ในเวลาที่นวดข้าว ๑ ในเวลาที่ขนข้าวใส่ยุ้งฉาง ๑ ในการถวายทานทุก ๆ ครั้ง น้องชายตั้งความปรารถนาการบรรลุเป็นอรหันตสาวกเป็นองค์แรก ในสมัยสมณโคดมพุทธเจ้า ครั้นมาถึงศาสนาของพระพุทธโคดม น้องชายได้มาเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อว่า"โกณฑัญญะ" และได้ออกบวชเป็นพุทธสาวก และได้บรรลุพระอรหันต์เป็นองค์แรก รวมทั้งได้รับเอตทัคคะคือ เป็นผู้เลิศในรัตตัญญู
ส่วนพี่ชายได้ถวายข้าวเพียงครั้งเดียวคือในเวลาที่ทำนาแล้ว และได้ตั้งอธิฐานว่า ขอให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลครั้นมาถึงศาสนาของพระพุทธโคดมได้มาเกิดเป็น สุภัททปริพพาชกและได้บวชในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ในเวลาที่พระองค์จวนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้เข้าทูลถามความสงสัย พอเวลาฟังเทศน์จบลงได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เป็นพระอริยะสาวกองค์สุดท้ายในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่
การถวายข้าวเป็นทานถือได้ว่าเป็นกาลทานชนิดหนึ่งและเป็นการทำบุญที่มีอนิสงส์มากดังที่ได้กล่าวแล้ว นักปราชญ์โบราณอีสานจึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบมาจนถึงทุกวันนี้.
ฮอดเมื่อเดือนสองอย่าช้าข้าวใหม่ปลามัน
ให้เฮามาโฮมกันแต่งบุญประทายข้าว
เชิญให้มาโฮมเต้าอย่าพากันขี่ถี่
บุญคูณลานตั้งแต่กี้มาถ่อนซ่อยฮักษา
สำหรับมูลเหตุของเรื่องนี้มีปรากฎในหนังสือธรรมบทว่าในสมัยหนึ่งนางปุณณทาสีได้ทำขนมแป้งจี่(ข้าวจี่) ที่ทำจากรำข้าวอย่างละเอียดถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระอานนท์ นางคิดว่าเมื่อพระพุทธองค์กับพระอานนท์รับแล้วคงไม่ฉันเพราะอาหารที่เราถวายไม่ใช่อาหารที่ดีหรือประณึตอะไร คงจะโยนให้หมู่กาและสุนัขกินเสียกลางทางพระพุทธเจ้าทรงทราบวาระจิตของนางและเข้าใจในเรื่อง ที่นางปุณณทาสีคิด จึงได้สั่งให้พระอานนท์ผู้เป็นพุทธอุปัฎฐากได้ปูลาดอาสนะลงแล้วประทับนั่งฉันสุดกำลังและในตอนท้าย หลังการทำภัตตกิจด้วยขนมแป้งจี่เรียบร้อยแล้ว พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมให้ฟัง จนกระทั่งนางปุณณทาสีได้บรรลุโสดาบัน เป็นอริยอุบาสิกาเพราะมีข้าวจี่เป็นมูลเหตุ ด้วยควาเชื่อแบบนี้คนอีสานโบราณจึงได้จัดแต่งให้บุญข้าวจี่ทุกๆปี ไม่ได้ขาดดั่งที่ปรากฎในผญาซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...
ยามเมื่อถึงเดือนสามได้พากันเอาบุญข้าวจี่
ตั้งหากธรรมเนียมนี้มีมาแท้ก่อนกาล
ได้เฮ็ดกันทุกบ้านทุกถิ่นเอาบุญ
อย่าได้พากันไลเสียฮีตบุญคองเค้า
สถานที่นวดข้าวเรียกว่า"ลาน" การนำข้าวที่นวดแล้วมากองให้สูงขึ้นเรียกว่า "คูณลาน" คนอีสานสมัยก่อนมีอาชีพทำนาเป็นหลักและต้องการจะทำบุญด้วยการบำเพ็ญทาน ก็ได้จัดให้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า"บุญคูณลาน"
โดยกำหนดเอาเดือนยี่หรือเดือนสองเป็นเวลา ทำเพราะมีกำหนดทำเอา ในเดือนยี่นี้เองจึงได้ชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า"บุญเดือนยี่"
สำหรับประฐมมูลเหตุของเรื่องนี้มีอยู่ว่าในสมัยของพระกัสปะพุทธเจ้าได้มีชาวนาสองพี่น้องทำนาร่วมกัน ยามเมื่อข้าวเป็นน้ำนม น้องชายต้องการที่จะทำข้าวมธุปยาสถวายแด่พระสงฆ์ มีพระกัสสปะพุทธเจ้าเป็นประธาน ชวนพี่ชาย แต่พี่ชายไม่เห็นด้วยจึงได้ทำการแบ่งนากันคนละครึ่งพอได้กรรมสิทธิในที่นาแล้วก็เอาข้าวในนา ของตนทำบุญถึง ๙ ครั้ง คือในเวลาที่ข้าวเป็นน้ำนม๑ ในเวลาที่ข้าวเป็นข้าวเม่า ๑ ในเวลาเก็บเกี่ยวข้าว ๑ ในเวลาที่จักตอกมัดข้าว ๑ ในเวลาที่มัดข้าวเป็นฟ่อน ๑ ในเวลาที่กองข้าวไว้ในลาน ๑ ในเวลาที่ทำเป็นลอม ๑ ในเวลาที่นวดข้าว ๑ ในเวลาที่ขนข้าวใส่ยุ้งฉาง ๑ ในการถวายทานทุก ๆ ครั้ง น้องชายตั้งความปรารถนาการบรรลุเป็นอรหันตสาวกเป็นองค์แรก ในสมัยสมณโคดมพุทธเจ้า ครั้นมาถึงศาสนาของพระพุทธโคดม น้องชายได้มาเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อว่า"โกณฑัญญะ" และได้ออกบวชเป็นพุทธสาวก และได้บรรลุพระอรหันต์เป็นองค์แรก รวมทั้งได้รับเอตทัคคะคือ เป็นผู้เลิศในรัตตัญญู
ส่วนพี่ชายได้ถวายข้าวเพียงครั้งเดียวคือในเวลาที่ทำนาแล้ว และได้ตั้งอธิฐานว่า ขอให้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลครั้นมาถึงศาสนาของพระพุทธโคดมได้มาเกิดเป็น สุภัททปริพพาชกและได้บวชในพระพุทธศาสนา แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ในเวลาที่พระองค์จวนที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้เข้าทูลถามความสงสัย พอเวลาฟังเทศน์จบลงได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เป็นพระอริยะสาวกองค์สุดท้ายในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่
การถวายข้าวเป็นทานถือได้ว่าเป็นกาลทานชนิดหนึ่งและเป็นการทำบุญที่มีอนิสงส์มากดังที่ได้กล่าวแล้ว นักปราชญ์โบราณอีสานจึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบมาจนถึงทุกวันนี้.
************************************************************************************************
1 ความคิดเห็น:
บุญเดือนยี่(เดือนสอง)หรือบุญคูณลาน
บุญคูณลาน เป็นการทำบุญขวัญข้าวที่นวดเสร็จแล้วและกองไว้ในลานข้าวกำหนดทำในเดือนยี่จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ เหตุที่มีการทำบุญนี้เนื่องจากผู้ใดที่ทำนาได้ข้าวมากๆ ก่อนหาบหรือขนข้าวมาใส่ยุ้งฉางก็อยากทำบุญกุศล เพื่อเป็นสิริมงคลให้เพิ่มความมั่งมีศรีสุขแก่ตน และครอบครัวสืบไป
ที่สำหรับตีหรือนวดข้าว เรียกว่า ลานการเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น เรียกว่า คูนลาน หรือที่ เรียกกันว่าคูนข้าวชาวนาที่ทำนาได้ผลดีอยากได้กุศลให้ทานรักษาศีล เป็นต้นก็จัดเอาลานนข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่าบุญคูนลานกำหนด เอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลาทำบุญจึง เรียกว่า บุญเดือนยี่
" ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง
ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้
อย่าได้ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า
ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง
จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอก
อย่าเอาใจออกแท้เข็นฮ้ายแล่นเถิงเจ้าเอย "
หลังการเก็บเกี่ยวจะทำบุญคูณข้าวหรือบุญคูณลาน นิมนต์พระสวดมนต์เย็น เพื่อเป็น มงคลแก่ข้าวเปลือก รุ่งเช้าเมื่อพระฉันเช้าแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าว นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียม เก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน ดังคำโบราณว่า .... เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว ให้นิมนต์พระสงฆ์ องค์เจ้ามาตั้งสวดมุงคูณเอาบุญคูณข้าว เตรียมเข้าป่าหาไม้เฮ็ดหลัว เฮ็ดฟืนไว้นั่นก่อน อย่าได้ หลงลืมถิ่น ฮีตของเก่าเฮาเดอ...
นิมนต์พระสวดมนต์เย็นเพื่อเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก แล้วทำพิธีสู่ขวัญข้าวนอกจากนี้ชาวบ้านเตรียมเก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน
คนอีสานเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญแก่ไร่นา ข้าวและต้นข้าว เพราะเป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญ วิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนอีสานอยู่ในท้องไร่ท้องนา อาชีพหลักก็เป็นอาชีพด้านการเกษตรกรรมโดยเฉพาะการทำนา
.
แสดงความคิดเห็น