การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน
ความหมายและความสำคัญของการถวายกฐิน
ความหมายของกฐิน
กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)
กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
- กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
- กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
- กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆืเพื่อกรานกฐิน
- กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์
ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น
การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้
- จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
- จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
- จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
- จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
- จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
- จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
- เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง
ความเป็นมาของกฐิน
ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ
- ไปไหนไม่ต้องบอกลา
- ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน
- ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงกันฉันภัตตาหารได้)
- เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
- จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้
ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน, บริวารกฐิน (บริพานกฐิน), สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน
ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน, บริวารกฐิน (บริพานกฐิน), สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน
ชนิดของกฐินในประเทศไทย
ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ
จุลกฐิน
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
จุลกฐิน
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
มหากฐิน
การทอดกฐินในประเทศไทย
กฐินหลวง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น)
กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นต้น
กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์
กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)
กฐินราษฎร์
กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย
คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า
คำถวายผ้ากฐิน
คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า
- บทปุพพภาคนมการ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
- กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
- อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
- ทุติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
- ตติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
- สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ หิตาย สุขาย
- กล่าวคำแปล
- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง
- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สาม
- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ
คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบใหม่
- บทปุพพภาคนมการ
- นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
- กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
- อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
- สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
- ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ, อมฺหากํ
- ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
- กล่าวคำแปล
- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.
20 ความคิดเห็น:
บุญกฐิน
เป็นการถวายผ้าจีวรแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษาแล้ว เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 มูลเหตุที่มีการทำบุญกฐินนั้น มีเรื่องเล่าว่า มีพระภิกษุจำนวนหนึ่งได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยระหว่างการเดินทางนั้นเป็นช่วงฝนตกและระยะทางไกลจึงทำให้ผ้าจีวรของพระภิกษุเหล่านั้นเปียกน้ำเปรอะเปื้อนโคลนไม่สามารถหาผ้าผลัดเปลี่ยนได้ พระพุทธเจ้าจึงเห็นความยากลำบากนั้น จึงมีพุทธบัญญัติให้ภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด ชาวบ้านจึงได้จัดผ้าจีวรนำมาถวายพระภิกษุในช่วงเวลาดังกล่าวจนกลายเป็นประเพณีทำบุญกฐินมาจวบจนปัจจุบัน ก่อนการทำบุญกฐินเจ้าภาพจะต้องจองวัดและกำหนดวันทอดกฐินล่วงหน้า มีการเตรียมผ้าไตรจีวรพร้อมอัฐบริขารและเครื่องไทยทานมีการบอกแก่ญาติมิตร ตอนเช้าในพิธีจะแห่ขบวนกฐินเพื่อนำไปทอดที่วัด และแห่กฐินเวียนประทักษิณ 3 รอบ จึงทำพิธีถวายผ้ากฐิน นอกจากนี้อาจมีการทำบุญจุลกฐิน (กฐินแล่น) ซึ่งเป็นการทำผ้าไตรจีวรจากปุยฝ้ายและนำไปทอดให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาเริ่มทำเพราะเชื่อว่าจะได้บุญมาก
ประวิตความเป็นมาของบุญกฐิน
ตามตำนานในพระไตรปิฎกกล่าวว่า เมื่อครั้งพระสงฆ์ชาวเมืองปาฐา 30 รูปทราบข่าวว่าพระพุทธองค์ประทับอยู่
ณ เชตวันมหาวิหาร จึงพากันรอนแรมมาเฝ้าแหนด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า แต่การเดินทางมีอันต้องสะดุดลงกลางคันเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูพรรษาหน้าฝน ภิกษุเหล่านั้นต่างพบว่าตัวเองอยู่ในสถานะแขกจรผู้ลำบาก ต้องอยู่ในพรรษาด้วยความร้อนใจ ทันทีที่ออกพรรษา จึงรีบรุด เดินทางต่อ
ทั้งๆที่ถนนหนทางเฉอะแฉะเป็นหล่มโคลน ครั้นพอถึงเชตวันจึงอยู่ในสภาพสกปรกมอมแมม พระพุทธองค์ทรงไถ่ถามทุกข์สุขตามธรรมเนียม เมื่อทรงสดับตรับฟังเรื่องราวทั้งหมด ก็ทรงวินิจฉัยตามเหตุผลว่า พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดกาลพรรษา ควรมีผ้าใหม่ทดแทนของเก่าที่อาจเปรอะเปื้อนเสียหายในช่วงฤดูฝน จึงตรัสอนุญาตแก่คณะสงฆ์ให้มีการ ”กรานกฐิน„ หรือการแสวงหาผ้าใหม่ โดยกำหนดให้เป็นสังฆกรรมหนึ่งแม้จะเป็นพุทธานุญาตพิเศษ แต่พระองค์ก็ทรงบัญญัติอย่างมีกฎเกณฑ์ จึงเป็นที่มาและจุดเริ่มต้นของประเพณีบุญกฐินในกาลต่อมา เรื่องของกฐิน ”ไม่ได้หมายถึงต้นไม้หรอกหรือ„ น้ำเสียงงงๆไม่แน่ใจของพัตนรี ชะตาถนอมพยาบาลสาวจากเมืองสุรินทร์ ที่เล่าว่า เธอได้ไปร่วมงานบุญอยู่บ่อยครั้ง แต่ละครั้งก็ได้สรวลเสเฮฮา ร้องรำทำเพลงไปตามจังหวะเพลงพื้นเมือง มาก กว่าจะเข้าใจในแก่นสารสาระ นี่คือความเป็นจริงในหมู่ชาวพุทธรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย ที่เข้าใจความหมายของบุญกฐินคลาดเคลื่อนไปจากคุณค่าและความหมายที่แท้จริง ”กฐิน„ ในทางพระพุทธศาสนาไม่ได้หมายถึงพืชหรือชื่อต้นไม้ หากความหมายนั้นถูกระบุไว้หลายนัย ส่วนใหญ่ให้ข้อมูลตรงกันว่าหมายถึง ”กรอบไม้„ หรือเครื่องมือตัดเย็บที่เรียกว่า ”สะดึง„ และอีกนัยหนึ่งคือ ”ผ้า„ หรือ ”ผ้านุ่ง„ ของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังหมายความถึงพิธีการและขั้นตอนของการถวายและรับกฐิน หรือ”สังฆกรรม„ด้วย ส่วนคำว่า ”กรานกฐิน„ คือ การลาดไม้แบบหรือสะดึงลงไป แล้วเอาผ้าทาบเพื่อตัดให้ได้ขนาดตามแบบ ก่อนจะช่วยกันเย็บเป็นจีวรนักประวัติศาสตร์ทางพุทธศาสนาอธิบายว่าการกรานกฐินเป็นพิธีกรรมว่าด้วยการจัดทำผ้านุ่งผืนใหม่ เริ่มแรกนั้นน่าจะทำกันเฉพาะในหมู่สงฆ์ มีลักษณะกิริยาแบบลงแรง ลงขัน เพื่อช่วยกันผลิตผ้าขึ้นมาผืนหนึ่ง ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ว่า พระสงฆ์ที่มา ร่วมนั้นต้องจำพรรษาครบ 3 เดือน และมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูปในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายในหนึ่งวัน แม้จะเป็นเพียงผ้าแค่ผืนเดียว แต่ด้วยปัจจัยจำกัดหลายอย่างในยุคนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ภิกษุแต่ละรูปต้องช่วยกันอย่างแข็งขัน ทั้งการกรอด้าย ตัดเย็บ ย้อม และหากไม่ชำนาญ ก็ย่อมต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นตามไปด้วย การทำผ้านุ่งของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลนั้นมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง บนพื้นฐานของข้อจำกัดที่เรียกว่า ”พระวินัย„ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เช่น ผ้าที่ได้มานั้น ต้องบริสุทธิ์ ซึ่งไม่เพียงหมายถึงผ้าผืนใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผ้าเก่า ถูกทิ้งเพราะขาดหรือสกปรก ไปจนถึงผ้าที่ใช้ห่อศพ หรือ ”ผ้าบังสุกุล„ นอกจากนี้ คำว่า ”บริสุทธิ์„ ยังเน้นที่การได้มาเป็นสำคัญ ทั้งหมดเหล่านี้ วิจิตร สมบัติบริบูรณ์ ระบุไว้ในหนังสือ ”กฐินทาน„
ระบุไว้ในหนังสือ ”กฐินทาน„ ว่าเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความหมายมากกว่าการได้มาซึ่งผ้าผืนหนึ่ง เพราะเป็นข้อกำหนดที่แฝงไว้ด้วยคำสอน ทั้งเรื่องของการละกิเลส ความเสียสละ สามัคคี และพึ่งพาตนเองโดยไม่รบกวนผู้อื่นส่วนผ้าที่เกิดขึ้นนั้นจะมอบให้แก่ภิกษุที่เห็นว่าสมควรเกิดจากความเห็นชอบร่วมกันในหมู่สงฆ์ โดยขั้นตอนที่เรียกว่า ”สวดญัตติ„ ส่วนใหญ่ผู้ถูกเลือกมักเป็นผู้ที่ครองผ้าเก่าใช้การไม่ได้แล้ว หรือพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตลอดช่วงเข้าพรรษา หรือเป็นพระที่มีอาวุโสสูงสุด กระทั่งต่อมา พระพุทธองค์ทรงเริ่มอนุญาตให้พระสงฆ์รับผ้าจากคหบดีหรือฆราวาสได้ ตามคำร้องขอของชีวกโกมารภัจจ์ แพทย์ประจำพระองค์ และประจำสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อข่าวนี้แพร่สะพัดออกไป ทานก็หลั่งไหลมาจากผู้มีศรัทธาทั่วทุกสารทิศ จึงช่วยแบ่งเบาภาระของสงฆ์ในการเสาะหาและตัดเย็บจีวรได้อย่างมาก ส่งผลให้สงฆ์มีผ้ามากขึ้นจนต้องจัดตั้งคลังผ้าขึ้น เพื่อจัดระเบียบการใช้ผ้าของพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยแรกๆนั้นการตัดเย็บจีวรยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนเพียงต่อเศษผ้าที่ได้รับบริจาคหรือหามาได้ให้เป็นผืนก็ถือว่าใช้ได้ พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าผ้านุ่งของพระสงฆ์นั้นหาเอกภาพไม่ได้ จึงทรงมอบหมายให้พระอานนท์เป็นผู้ออกแบบเพื่อให้จีวรของพุทธสาวกเป็นไปในรูปแบบเดียว กัน พระอานนท์ออกแบบผ้าเป็นตารางสี่เหลี่ยม โดยได้แรงบันดาลใจจากผืนนาในแคว้นมคธ จนกลายเป็นต้นแบบที่ใช้สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 700 ปีก่อน...กฐินบนแผ่นดินสยาม ตลอดระยะเวลากว่า 2,500 ปี นับจากครั้งพุทธกาลพุทธศาสนาแบบเถรวาทเผยแผ่เข้าสู่ลังกาและดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมๆกับการเสื่อมถอยไปจากชมพูทวีปพิธีกรรมต่างๆสอดประสานไปกับวิถีชีวิตและประเพณีในท้องถิ่นสันนิษฐานว่าระยะแรกกฐินยังเป็นกิจกรรมที่ทำเฉพาะในหมู่สงฆ์ และพระพุทธองค์ได้กำหนดให้ดำเนินการภายในหนึ่งเดือน นับจากวันออกพรรษา คือ แรม 1 ค่ำเดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้นสำหรับในแผ่นดินสยาม หลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงงานบุญกฐิน ย้อนกลับไปถึงดินแดนรุ่งอรุณแห่งความ สุขนามสุโขทัย โดยมีบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกอย่างชัดเจนถึงศรัทธาปสาทะในบวรพุทธศาสนา ตั้งแต่ผู้ปกครองจนถึงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ดังความว่า ”คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนม เบี้ยมีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้วญิบล้าน„นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า พิธีกรรมทางพุทธศาสนา รวมทั้งงานบุญกฐินถูกสืบทอดเรื่อยมา นอกจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วยังมีประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติอื่นๆที่เชื่อมโยงกัน ด้วยปัจจัยหลายด้าน ทั้งสภาพแวดล้อมและสถานการณ์บ้านเมือง ส.พลายน้อย ผู้รู้ทางไทยคดีศึกษา กล่าวว่า บรรพบุรุษไทยเลือกชัยภูมิที่มีแม่น้ำลำคลองเป็นที่ตั้ง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้เรือรบในสงครามอยู่เนืองๆจนเกิดมีประเพณีการใช้กระบวนเรือในการพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ กฐินหลวงกับกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค แม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า ประเพณีการถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไร แต่ในปีพุทธศักราช 2505 กระบวนเรืออันวิจิตรอลังการก็กลับมามีชีวิตโลดแล่นอีกครั้ง หลังจากว่างเว้นไปกว่า 30 ปี
หลังจากว่างเว้นไปกว่า 30 ปี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเล็งเห็นว่าขนบประเพณีนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ฟื้นฟูขึ้น นับจากนั้นเป็นต้นมา ภาพกระบวนเรือ กลางลำน้ำเจ้าพระยา ที่มีพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นฉากหลังก็ติดตาตรึงใจผู้คนทั่วโลกล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา มหานครอันจอแจอย่างกรุงเทพฯก็แทบจะหยุดนิ่ง และสายน้ำเจ้าพระยาได้หวนคืนสู่ความเกรียงไกรอีกครั้ง เมื่อฝ่ายเตรียมงานได้ปิดเส้นทางเดินเรือชั่วคราวเพื่อประกอบพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม เป็นการเสด็จพระ-ราชดำเนินรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดขึ้นเฉพาะในวาระพิเศษอันเป็นมหามงคลเท่านั้น นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเดิมทีเรือเหล่านี้ถูกใช้ในการศึกสงคราม แต่เมื่อบ้านเมืองว่างเว้นจากการศึก จึงมีการรวมพลเพื่อฝึกซ้อม ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงเวลาของบุญกฐิน จึงได้มีการใช้กระบวนเรือรบแห่ในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ นำพาความรื่นเริงบันเทิงใจมาสู่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่มารอเฝ้าชมพระบารมี และอิ่มบุญที่ได้โดย เสด็จพระราชกุศล ตลอดสองฝั่งแม่น้ำ กฐินที่เป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยพระมหากษัตริย์จัดเป็น ”กฐินหลวง„ ทั้งสิ้น ซึ่งรวมถึง ”กฐินต้น„ ด้วย ในส่วนกฐินหลวงนั้นจะมีพระอารามหลวงรวม 16 พระอารามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้พระบรมวงศานุวงศ์หรือผู้แทนพระองค์ไปทอดถวาย โดยส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ในต่างจังหวัดมีเพียงจังหวัดนครปฐม (วัดพระปฐมเจดีย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วัดนิเวศธรรรมประวัติและวัด สุวรรณดาราราม) และจังหวัดพิษณุโลก (วัดพระศรีรัตน-มหาธาตุ) ส่วนการเสด็จฯไปถวายผ้าพระกฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชประสงค์ที่จะถวายเป็นพิเศษ ไม่เจาะจงว่าเป็นพระอารามหลวงหรือไม่ จัดเป็น พระกฐินต้น และเนื่องจากเมืองไทยมีวัดหลวงอีกมากมาย จึงมีการเปิดโอกาสให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การ สมาคม มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน และประชาชนทั่วไป สามารถขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้ โดยมีหน่วยงานกลางคือ กรมการศาสนา เป็นผู้ประสานดูแล กฐินดังกล่าวเรียกว่า ”กฐินพระราชทาน„ กฐินราษฎร์ ไกลออกไป 400 กิโลเมตรจากเมืองหลวง ชาวบ้านที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กำลังร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน พวกเขามารวมตัวกันในขบวนแห่เล็กๆที่มีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ธนบัตรหลากสีสันและมูลค่าประดับตกแต่งเป็นต้นไม้ และที่ขาดไม่ได้คือผ้ากฐินที่บรรจงวางไว้อย่างดี ประเพณีทอดกฐินของชาวบ้านที่นี่ก็ไม่ต่างจากท้องถิ่นชนบทอื่นๆ เพราะถือเป็นงานบุญประจำปีที่พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันจัด ศรัทธามากล้นนำพาให้เกิดงานบุญเอิกเกริก วัดวาได้รับการปัดกวาด ประดับประดาไปด้วยธงทิวและดอกไม้ บรรยากาศครื้นเครงด้วยงานมหรสพรื่นเริง ลูกหลานทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนและที่อพยพไป ทำงานต่างถิ่นพร้อมใจกันกลับบ้านเกิด หอบหิ้วของฝากและเงินทำบุญครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา ส่วนหนุ่มสาวก็ถือโอกาสเที่ยวชมมหรสพทั้งคืน”แรกเริ่มเดิมทีเจ้าภาพถวายผ้ากฐินคงมีเพียงรายเดียว„ อาภาอรเศรษฐสิทธากุล พุทธศาสนิกชนที่เคยเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐิน เล่า ”ต่อมาคงมีคนศรัทธาอยากทำบุญมากขึ้น เลยเปิดโอกาสให้เป็นเจ้าภาพร่วมกันกลายเป็นกฐินสามัคคี„ เธอเล่าต่อว่า การเตรียมงานบุญกฐินไม่ใช่ เรื่องยากเลย เมื่อปวารณาหรือจองกฐินไว้เรียบร้อยแล้วมีเพียงองค์กฐินหรือผ้ากฐินก็ถือว่าใช้ได้ แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มบริวารกฐิน เช่น อัฐบริขาร และจตุปัจจัยไทยธรรมอื่นๆ ที่จัดเตรียมไปถวายวัดร่วมกับองค์กฐินด้วย”องค์กฐินและบริวารไม่ว่าจะมาจากเจ้าภาพรายเดียวหรือหลายรายก็นับว่าเป็นมหากฐิน ค่ะ„ อาภาอรให้ความเห็นในฐานะคนใกล้วัด ส่วนการเพิ่มคำว่า ”มหา„ เข้าไปนัยว่าเพื่อให้พึงระลึกถึงผลของบุญ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงกฐินอีกรูปแบบหนึ่งที่ว่ากันว่าทำยาก แต่ให้ผลบุญหรืออานิสงส์สูง คือ ”จุลกฐิน„หรือ ”กฐินแล่น„ ซึ่งนิยมทำกันในสมัยโบราณ เมื่อมีผู้เห็นว่าวัดบางแห่งยังไม่ได้กฐิน และใกล้จะหมดกฐินกาลจึงต้องช่วยกันเตรียมผ้ากฐิน ตั้งแต่เก็บฝ้าย ปั่นฝ้าย ทอผ้า ย้อม และเย็บ) ให้เสร็จและทอดภายในวันเดียวกัน การทำบุญกฐินแบบนี้จึงต้องอาศัยคนหมู่มาก และเป็นไปอย่างไม่รีรอ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ”กฐินแล่น„ซึ่งเรียกตามกิริยา คือ ”แล่น„ เป็นคำอีสาน ที่แปลว่า เร่งรีบ ต้องแล่น (วิ่ง) จึงจะเสร็จทันกาล กฐินอีกอย่างที่มีลักษณะคล้ายกันคือ ”กฐินโจร„ บางท้องถิ่นเรียก ”กฐินตก„) ที่ต้องรีบดำเนินการ โดยมากมักเป็น วัดที่ตกค้างยังไม่ได้รับกฐิน และใกล้สิ้นหน้าทอดกฐินหรือกฐินกาลแล้วเช่นกัน แต่พิธีการไม่ยุ่งยากเท่าจุลกฐิน ที่เรียกว่ากฐินโจร สันนิษฐานว่ามักทำกันแบบไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวให้ทางวัดรู้ล่วงหน้า
พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
•
■กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
■กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
■กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก
■กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีกานสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกัน 4 ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐินคือแสดงความพอใจ ว่าได้ กรานกฐิน เสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่เราได้ยินกันก่อนจะมีการทำบุญกฐิน คือ การจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินในขณะที่มีพิธีการทอดกฐินคือคำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรุปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่า ผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือการเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ-โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับว่าเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐินดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น
ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้น การใช้ไม้แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่าถวายผ้ากฐินเหมือนกัน
และเนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทสไทยจึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน
กฐินหลวง
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิ และประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตย์สถาพร ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ทำให้เรียกกฐินนี้ว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้วจะเรียกว่า กฐินหลวง ทั้งสิ้น
ในสมัยต่อๆ มา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณา ให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
•กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
•กฐินต้น
•กฐินพระราชทาน
กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
กฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 16 วัด คือ
•วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
•วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
•วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
•วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
•วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
•วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
•วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
•วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
•วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
•วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
•วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
•วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
•วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
•วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
•วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา
•วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
วัดหลวงทั้งหมดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเพียงปีละ 8-9 วัดเท่านั้น นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวาย
กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำทุกปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้า
แนวปฏิบัติ
การเฝ้าฯ รับเสด็จฯ งานถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการและกำหนดการแต่งการเฝ้าฯ รับเสด็จฯ **
ผู้ที่เฝ้าฯ รับเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้รับรองเชิญให้นั่งพัก ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถตามลำดับชั้นยศและตำแหน่ง
งานเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินตามราชประเพณีประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการ แต่งเครื่องแบบเต็มยศ จะมีกองเกียรติยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พร้อมทั้งแตรวงประจำกองและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ตั้งแถวรับเสด็จฯ
เมื่อใกล้เวลาเสด็จฯ ประมาณ 5 หรือ 10 นาที เจ้าหน้าที่ผู้รับรองของสำนักพระราชวังจะได้เชิญข้าราชการผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าไปยืนเรียงแถวรอรับเสด็จฯ ตามแนวทางลาดพระบาท (ถ้าสถานที่ไม่พอจะเข้าแถว ก็คงรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นั้น)
ได้เวลาเสด็จฯ มีแตรวงกองทหารเกียรติยศบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้เฝ้าฯ ที่นั่งพักยืนถวายความเคารพ ผู้มาเฝ้าที่เข้าแถวรับเสด็จฯ ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์ จนสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายความเคารพเมื่อเสด็จฯ ผ่าน
เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้เชิญและนำเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่เข้าไปเฝ้าฯ ในพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปจะต้องถวายคำนับ แล้วยืนอยู่ ณ เก้าอี้ที่จะนั่งเฝ้าฯ ตามยศและตำแหน่ง เมื่อทรงปฏิบัติในการถวายพระกฐิน ประทับพระราชอาสน์ ผู้เฝ้าฯ ถวายคำนับแล้วนั่งได้ เมื่อเสด็จฯ กลับก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับเมื่อเสด็จมาถึง
ราชประเพณีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ถ้าพระอารามหลวงหรือวัดใดที่มีโรงเรียนตั้งอยู่ ย่อมจัดลูกเสือหรือนักเรียนตั้งแถวรับเสด็จฯ ถ้ามีแตรวงลูกเสือด้วยให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อเสด็จฯ ถึง และเสด็จฯ กลับ
โรงเรียนที่จัดลูกเสือนักเรียนรับเสด็จฯ ตามระเบียบจะต้องจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์แทนพระพุทธรูป มีแจกัน พานดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม แต่ไม่ต้องจุดเทียนหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรมีธูปเทียนแพ กระทงดอกไม้ใส่พานตั้งไว้ เป็นการถวายความเคารพสักการะในการรับเสด็จฯ
ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ยืนที่ข้างๆ โต๊ะหมู่หน้าแถวนักเรียนและลูกเสือ เมื่อเสด็จฯ ถึง ณ ที่นั้นผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ก้าวออกมาถวายความเคารพ (ถ้าเป็นครูชายสวมหมวก ทำวันทยหัตถ์ ถ้าเป็นครูหญิงถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว) แล้วกราบบังคมทูลรายงานจำนวนอาจารย์ ครู นักเรียนจบแล้วถอยออกไปถวายคำนับก่อนที่จะกลับไปยืนเฝ้าฯ ณ ที่เดิม
ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กฐินต้น
กฐินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของกฐินต้นนี้ไว้ว่า
"กฐินส่วนพระองค์นี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐาน มาเรียกกันว่า กฐินต้น ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. 2447 การเสด็จประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จรถไฟไปโดยมิให้ใครรู้ การเสด็จประพาสครั้งนั้นเรียกว่า เสด็จประพาสต้น
เหตุที่เรียกว่าประพาสต้นก็เพราะเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2447 เสด็จทรงเรือมาด 4 แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาด 4 แจว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำสำหรับแจวตามเรือพระที่นั่งเวลามีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินโดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ เมื่อซื้อเรือมาดได้ดังพระราชประสงค์แล้วพระราชทานชื่อเรือลำนั้นว่า เรือต้น ในวันนั้นกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงที่ประทับแรมที่เมืองราชบุรีเกือบ 3 ทุ่ม เพราะน้ำเชี่ยว ผู้คนในขบวนเส็จเหนื่อยหอบตามกัน
ประพาสต้น จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จประพาสอย่างในวันนี้ว่า ประพาสต้น และยังเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรือนไทยที่ทรงสร้างสำหรับประทับอย่างชาวบ้านว่า เรือนต้น กันต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินต้นเป็นประจำทุกปี การจะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดใดมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน
2.ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
3.ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย
แนวปฏิบัติ
ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นารส่วนพระองค์เรียกกันว่า พระกฐินต้น ส่วนมากจะเป็นวัดในต่างจังหวัด สำนักพระราชวังจะออกเป็นหมายรับสั่ง ส่วนมากจะแต่งเครื่องแบบปกติขาว เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ เจ้าหน้าที่นอกนั้นหรือข้าราชการมนท้องถิ่น แต่งกายเครื่องแบบปกติกากีคอตั้งแบบข้าราชการ หรือกากีคอพับผูกผ้าผูกคอ
การเฝ้าฯ รับเสด็จ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะรับรองข้าราชการและผู้มีเกียรติรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถ
การเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินในต่างจังหวัดนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องจัดข้าราชการเข้าแถวรับเสด็จฯ ณ ที่ซึ่งรถยนต์พระที่นั่งเทียบ เมื่อเสด็จฯ ลงจากรถยนต์พระที่นั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าไปเฝ้าฯ ถวายคำนับ (ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์) แล้วกราบบังคมทูลรายงานตนเอง และเบิกข้าราชการผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ เช่น
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ............... ผู้ว่าราชการจังหวัด............ ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสเบิกผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท (ในกรณีที่ภริยาเฝ้าฯ อยู่ด้วย) นาง.............. ภริยาข้าพระพุทธเจ้า (จะทูลเกล้าถวายดอกไม้ด้วยก็ได้) แล้วต่อไปควรจะกราบบังคมทูลเฉพาะ ข้าราชการผู้ใหญ่ระดับสูง เช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นายอำเภอของท้องที่ที่เสด็จฯ เท่านั้น
กฐินพระราชทาน
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจาก วัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (16 วัดดังที่กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัวโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้
ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง
แนวปฏิบัติ
ขั้นตอนของกฐินพระราชทานมีดังนี้
1.เมื่อได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนาแล้ว ควรถวายหลังวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 หรือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินวันแรกแล้ว
2.ให้ติดต่อกับวัดโดยตรง เพื่อแจ้งวัน เวลา และขอให้เจ้าอาวาสสั่งไวยาวัจกรเตรียมสถานที่และสิ่งจำเป็นที่มีบูชาพระรัตนตรัยมีเครื่องบูชาพร้อม อาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์อนุโมทนาพระกฐิน โต๊ะขนาดกว้างพอสมควรสำหรับวางพานแว่นฟ้า ผ้าไตรพระกฐินและพานเทียนพระปาติโมกข์ โต๊ะวางเครื่องบริขารพระกฐินและเครื่องไทยธรรม โต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีตามสมควร
3.เมื่อถึงวันกำหนด ก่อนผู้เป็นประธานจะไปถึงหรือก่อนเริ่มพิธี ให้เจ้าหน้าที่เชิญเครื่องพระกฐินจัดไว้บนโต๊ะ วางเทียนปาติโมกข์ไว้บนพาน และให้มีเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบหรือแต่งสากลนิยมคอยส่งให้ผู้เป็นประธานที่เชิงบันไดหรือประตูเข้าสถานที่ประกอบพิธี
4.ประธานรับผ้าพระกฐินจากเจ้าหน้าที่ที่เชิงบันได พระอุโบสถอุ้มประคองยืนตรงถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วจึงเข้าสู่พระอุโบสถตรงไปวางไว้ที่พานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนสงฆ์
(ถ้ามีปี่พาทย์หรือเครื่องดนตรีให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะผู้เป็นประธานรับผ้าไตรจากเจ้าหน้าที่หรือรับที่โต๊ะหมู่ในกรณีที่จัดไว้ ต่อจากนั้นจึงบรรเลงเพลงช้า) ขณะประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีจนถึงเวลาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงส่งเทียนชนวนคืน ให้หยุดบรรเลงทันทีแม้จะยังไม่จบเพลงก็ตาม และควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้สัญญาณเวลาให้เริ่มเพลงหรือให้หยุดบรรเลง
5.เมื่อวางผ้าพระกฐินแล้ว จุดธูปเทียนเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ 3 หน
6.เมื่อกราบพระรัตนตรัยแล้ว ไปที่พานแว่นฟ้าหยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปมอบแก่ไวยาวัจกร แล้วยกผ้าพระกฐินขึ้นประคอง พนมมือหันไปทางพระประธานว่า นโม 3 จบ ต่อจากนั้นหันหน้าไปทางพระสงฆ์ว่าด้วยคำถวายพระกฐินดังนี้
"ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐกอปรด้วยพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า * น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลด้วยไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจตามพระบรมพุทธานุญาตนั้นเทอญ"
( * ถ้าเป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม บริษัท ห้างร้าน ให้เปลี่ยนคำว่า ข้าพเจ้า เป็นชื่อหน่วยงานนั้นๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล่าฯ พระราชทาน)
กล่าวถวายพระกฐินทานจบแล้วประเคน พร้อมด้วยเทียนพระปาติโมกข์เสร็จแล้ว เข้านั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้ในระหว่างที่ผู้เป็นประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ผู้อยู่ในพิธีทั้งหมด ยืนแสดงความเคารพจนกว่าประธานจะนั่งลง จึงนั่งลงพร้อมกัน
7.พระสงฆ์ทำพิธีกรรม
8.เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีกรรมเสร็จออกไปครองผ้า (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการ ถ้ามี) ครองผ้าเสร็จกลับเข้านั่งยังอาสนสงฆ์ (ปี่พาทย์หยุดบรรเลง) ผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีถวายเครื่องพระกฐินแก่องค์ปกครอง เริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไปจนถึงเครื่องมือก่อสร้าง ถ้าจัดเครื่องไทยธรรมถวายเพิ่มเติมควรถวายภายหลังเครื่องพระกฐินหลวง
9.ถ้ามีผู้บริจาคร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ควรประกาศให้ที่ประชุมทราบ
10.พอพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้เป็นประธานกรวดน้ำ แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก จบประธานกราบพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงกราวรำ ถ้ามี)
11.กรมการศาสนาเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการขอพระราชทาน จึงขอให้รายงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานและยอดเงินโดยเสด็จพระราชกุศลไปยังกรมศาสนา หลังจากการถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว เพื่อจะได้รวบรวมดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลโดยพร้อมเพรียงกัน
กฐินราษฎร์
กฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชนหรือราษฎรที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีกำลังศรัทธานำผ้ากฐินของตนเองไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆ (เว้นไว้แต่วัดหลวงที่กล่าวมาแล้วในกฐินหลวง) การทอดกฐินของราษฎรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะวิธีการทอดถึง 4 รูปแบบคือ
•กฐิน หรือ มหากฐิน
•จุลกฐิน หรือ กฐินแล่น
•กฐินสามัคคี
•กฐินตกค้าง
เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน บางครั้งเรียกว่า ผ้าที่เป็นองค์กฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น
นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า บริวารกฐิน ตามที่นิยมกันประกอบด้วยปัจจัย 4 คือ
1.เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มี ไตร จีวร บริขารอื่นๆ ที่จำเป็น
2.เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน
3.เครื่องซ่อมเสนาสนะ มี มีด ขวาน สิ่ว เลื่อย ไม้กวาด จอบ เสียม
4.เครื่องคิลานเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น
หรือจะมีอย่างอื่นนอกจากที่กลาวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภคเท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐินด้วยก็ได้ สุดแต่กำลังศรัทธาและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ
นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้
ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ
1.ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
2.อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วย
กฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน ก็ได้
เป็นกฐินที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคนหมู่มาก ต้องเร่งรีบทำให้เสร็จ เลยเรียกว่า กฐินแล่น (ความหมายคือเร่งรีบ ฟ้าว ต้องแล่น (วิ่ง) จึงจะเสร็จทันกาล) เจ้าภาพผู้ที่จะคิดทำจุลกฐินเพื่อทอดถวาย ณ วัดใดวัดหนึ่งจะต้องมีบารมี มีพวกพ้องคอยช่วยเหลือ เพราะต้องเริ่มจากการนำฝ้ายที่แก่ใช้ได้แล้วแต่ยังอยู่ในฝัก มีปริมาณมากพอที่จะทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้แล้ว ทำพิธีสมมติว่าฝ้ายจำนวนนั้นได้มีการหว่านแตกงอก ออกต้น เติบโต ผลิดอก ออกฝักแก่สุก แล้วเก็บมาอิ้วเอาเมล็ดออก ดีดเป็นผง ทำเป็นเส้นด้าย เบียออกเป็นไจ กรอออกเป็นเข็ด แล้วฆ่าด้วยน้ำข้าว ตากให้แห้ง ใส่กงปั่นเส้นหลอด ใส่กระสวยเครือแล้วทอเป็นแผ่นผ้าตามขนาดที่ต้องการนำไปทอดเป็นผ้ากฐิน
เมื่อพระสงฆ์รับผ้านั้นแล้ว มอบแก่พระภิกษุผู้เป็นองค์ครอง ซึ่งพระภิกษุองค์ครองจะจัดการต่อไปตามพระวินัย
หลังจากนั้นผู้ทอดต้องช่วยทำต่อ คือ นำผ้านั้นมาขยำ ทุบ ซัก แล้วไปตากให้แห้ง นำมาตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง แล้วเย็บย้อม ตากแห้ง พับ ทับรีดเสร็จเรียบร้อยนำไปถวายพระภิกษุองค์ครองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านทำพินทุอธิษฐาน เสร็จการพินทุอธิษฐานแล้วจะมีการประชุมสงฆ์ แจ้งให้ทราบ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดจะอนุโมทนาเป็นเสร็จพิธีจุลกฐิน
แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้ทอดกฐินไม่มีกำลังมาก พอจะตัดวิธีการในตอนต้นๆ ออกเสียก็ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเอาผ้าขาวผืนใหญ่ มากะประมาณให้พอที่จะตัดเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งแล้วนำไปทอด เมื่อพระภิกษุสงฆ์ท่านนำไปดำเนินการตามพระวินัยแล้ว ก็ช่วยทำต่อจากท่าน คือ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อมให้เสร็จ แล้วนำกลับไปถวายพระภิกษุองค์ครองเพื่อพินทุ อธิษฐานต่อไปเหมือนวิธีทำที่กล่าวมาแล้วในการทำจุลกฐินเต็มรูปแบบ
ส่วนบริวารของจุลกฐิน ผ้าห่มพระประธาน และเทียนปาติโมกข์ ตลอดจนธงจรเข้ ตะขาบ ก็คงเป็นเช่นที่กล่าวมาในเรื่องของกฐินหรือมหากฐินนั่นเอง
เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน จะบริจาคมากน้อยอย่างไรไม่กำหนด เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการดำเนินการก็มักจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่มีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น เมื่อได้ปัจจัยมาก็นำมาจัดหาผ้าอันเป็นองค์กฐินรวมทั้งบริวารต่างๆ เมื่อมีปัจจัยเหลือก็นำถวายวัดเพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการบูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิ โบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น กฐินสามัคคีนี้มักจะนำไปทอดยังวัดที่กำลังมีการก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์ เพื่อเป็นการสมทบทุนให้สิ่งอันพึงประสงค์ของวัดให้สำเร็จเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว
เรื่องของกฐินสามัคคีเป็นที่นิยมแพร่หลายกันมาก เพราะนอกจากจะถือกันว่าเป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังเป็นการช่วยทำนุบำรุงวัด ตลอดจนเป็นการสร้างความสมานสามัคคีของชุมชน ให้มีความรักมั่นกลมเกลียวอันเนื่องมาจากอานิสงส์ของกฐินสามัคคีนั่นเอง
กฐินประเภทนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กฐินตก กฐินโจร ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงเหตุผลที่เกิดกฐินชนิดนี้ ตลอดจนชื่อเรียกที่ต่างกันออกไปว่า (จากเรื่องเทศกาลออกพรรษา)
"...แต่ที่ทำกันเช่นนี้ ทำกันอยู่ในท้องถิ่นที่มีวัดตกค้างไม่มีใครทอดก็ได้ จึงมักมีผู้ศรัทธาไปสืบเสาะหาวัดอย่างนี้เพื่อทอดกฐินตามปกติในวันใกล้ๆ จะสิ้นหน้าทอดกฐินหรือในวันสุดท้ายของกาลกฐิน (คือวันก่อนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12) การทอดกฐินอย่างนี้เรียกว่า กฐินตกค้าง หรือเรียกว่า กฐินตก บางถิ่นก็เรียก กฐินโจร เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด ไม่บอกกล่าวเล่าสิบล่วงหน้าให้วัดรู้ เพื่อเตรียมตัวกันได้พร้อมและเรียบร้อย การทอดกฐินตกถือว่าได้บุญอานิสงส์แรงกว่าทอดกฐินตามธรรมดา บางคนเตรียมข้าวของไปทอดกฐินหลายๆ วัด แต่ได้ทอดน้อยวัด เครื่องไทยธรรมที่ตระเตรียมเอาไปทอดยังมีเหลืออยู่ หรือบางวัดทอดไม่ได้ (อาจเป็นที่ไม่ครบองค์สงฆ์) ก็เอาเครื่องไทยธรรมเหล่านั้นจัดทำเป็นผ้าป่า เรียกกันว่า ผ้าป่าแถมกฐิน
กฐินประเภทนี้ เรื่ององค์กฐิน บริวารกฐิน ยังคงเป็นเช่นเดียวกับกฐินอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนข้อแตกต่างที่ชัดเจนคือ ไม่มีการจองวัดล่วงหน้า การทอดก็ทอดได้เฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด และเจ้าภาพเดียวอาจจะทอดหลายวัดก็ได้ ตลอดจนสามารถนำเอาของไทยธรรมที่เหลือทำเป็นการบุญชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ผ้าป่าแถมกฐิน ได้อีก
การแก้ปัญหาเรื่องกฐินตกค้าง
ในกรณีที่วัดใดวัดหนึ่งไม่มีผู้จองกฐิน หรือที่เรียกว่ากฐินตกค้างนั้น ถ้าเข้าใจความมุ่งหมายของการทอดกฐินแล้วแก้ปัญหาได้ง่าย เพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าการทอดกฐินนั้นต้องใช้จ่ายสิ้นเปลืองมาก ถ้าไม่มีกำลังทรัพย์พอก็ไม่ค่อยกล้าแสดงความจำนงจองกฐิน
ความจริงการทอดกฐินนั้นมีเพียงผ้าผืนเดียว ซึ่งอาจตัดเย็บย้อมเป็นผ้านุ่ง หรือผ้าห่มซ้อนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ หรืออาจถวายผ้าสำเร็จรูปผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ นับเป็นการทอดกฐินแล้ว ที่เราสิ้นเปลืองกันมากนั้นเป็นการไปเพิ่มโน่นเพิ่มนี่ขึ้นมากันตามกำลังศรัทธา เพื่อให้มีองค์ประกอบสวยงาม โดยเฉพาะมหรสพคบงันต่างๆ ที่สร้างความครึกครื้นนั้นไม่ได้มีบัญญัติไว้แต่อย่างใด ซึ่งไม่ใช่สิ่งจำเป็นใดๆ เลย
พราะฉะนั้นถ้ามีปัญหาเรื่องวัดใดวัดหนึ่งไม่มีใครจองกฐิน ใครก็ได้ที่มีศรัทธาและทุนไม่มากไปซื้อผ้าสำเร็จรูปผืนใดผืนหนึ่งมาถวายก็เรียกว่า ทอดกฐิน แล้ว หรือในกรณีที่บางวัดมีประเพณีให้ตัดเย็บ ย้อมให้เสร็จในวันนั้นก็ซื้อผ้าขาวผืนเดียวมาถวาย ก็จัดเป็นการทอดกฐินที่สมบูรณ์ตามพระวินัย เป็นอันแก้ปัญหาเรื่องกฐินตกค้างอย่างง่ายๆ เพียงเท่านี้
การทอดกฐิน
เมื่อได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว ถึงกำหนดก็นำผ้ากฐินกับบริวารไปยังวัดที่จองไว้ การนำไปนั้นจะไปเงียบๆ หรือจะแห่แหนกันไปก็ได้เมื่อไปถึงแล้ว พักอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่สะดวก เช่น ที่ศาลา ท่าน้ำ ศาลาโรงธรรม โรงอุโบสถ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งทางวัดจัดไว้ เมื่อพระสงฆ์พร้อมแล้วก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้าผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้
คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 1
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 2
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
สาธุ โร ภันเต อิมัง สะปริวารา กะฐินะทุสสัง ปฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินทั้งบริวารนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 3
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้นถ้าปรารถถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ต้องประเคน ถ้าปรารถนาจะประเคนก็อย่าประเคนสมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสมก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน ส่วนบริวารนั้น ถ้าจำนงถวายแก่ภิกษุสามเณรในวัดนั้นส่วนเฉพาะ ก็ช่วยกันถวายโดยทั่วกัน เมื่อประเคนเสร็จแล้วจะกลับเพียงนั้นก็ได้ แต่ถ้ายังไม่กลับจะรอจนพระสงฆ์อปโลกน์ และมอบผ้ากฐินเสร็จแล้วก็ได้
ถ้าผ้ากฐินนั้นต้องทำต่อไปอีกเช่น ต้องซัก กะ ตัด เย็บย้อม จะอยู่ช่วยพระก็ได้ จึงมีธรรมเนียมอยู่ว่า ประเคนเฉพาะองค์กฐินแก่พระรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น แล้วรออยู่เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จจึงประเคนบริวารกฐินในภายหลัง พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ถวายทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และขณะนั้น เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
เพียงเท่านั้นก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป
ที่มา http://www.isangate.com/local/katin_01.html
แสดงความคิดเห็น