*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีบุญผะเหวด (พระเวส)

             ประเพณีบุญผะเหวด (พระเวส)
 
ความสำคัญ

บุณผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน ๓ พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการเปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว และบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า

พิธีกรรม

ชาวอีสาน จะจัดทำบุญผะเหวด ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕ จังหวัดร้อยเอ็ด จะจัดประเพณีบุญผะเหวดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคมทุกปี โดยจะมีวันรวมตามภาษาอีสาน เรียกว่า วันโฮมบุญ พุทธศาสนิกชนมาช่วยกันจัดตกแต่งศาลาหรือสถานที่ที่จะทำบุญ จัดเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปเทียน ข้าวตอก อย่างละพันก้อน มีการตั้งธงใหญ่ ไว้แปดทิศ และมีศาลเล็กๆ เป็นที่เก็บข้าวพันก้อน และเครื่องคาวหวาน สำหรับ ผี เปรต และมารรอบๆ ศาลาการเปรียญจะแขวนผ้าผะเหวด เป็นเรื่องราวของพระเวสสันดร ตั้งแต่กัณฑ์ที่ ๑ ถึงกัณฑ์สุดท้าย การจัดงานบุญผะเหวด หรือ งานเทศน์มหาชาตินิยมที่อัญเชิญพระอุปคุต มาปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดเหตุเภทภัยอันตรายทั้งปวง และให้โชค ลาภแก่พุทธศาสนิกชนในการทำบุญมหาชาติ จึงมีการแห่พระอุปคุต ซึ่งสมมุติว่า อัญเชิญมาจาก สะดือทะเล

สาระ

บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศล ให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลคือ ประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้น บรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณ จึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลายพึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญ และได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป
นอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า "กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ"
 
 
ข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับบุญผะเหวด
งานบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน เป็น 1 ในประเพณี ฮีต 12 ซึ่งนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อกันว่าหากได้ฟังเทศน์บุญผะเหวดครบ 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียวและจัดพิธีตั้งเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง

อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ แต่ในทางกลับกันหากตั้งเครื่องคายไม่ถูกต้อง ก็จะดลบันดาลให้เกิดอาเพศต่าง ๆ นานา

การจัดงานบุญผะเหวดแต่ละครั้งเป็นงานบุญสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านต้องมาร่วมกัน นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังแฝงด้วยความเชื่อหลายประการเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ ความเชื่อเรื่องพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระผู้รักษาพิธีให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีพญามารมารบกวน

มูลเหตุที่ทำให้เกิดเทศน์มหาชาติ
มีเรื่องเล่าในพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถรเจ้าได้ขึ้นไหว้พระธาตุเกตแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนาธรรมกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ถัดจากพระสมณะโคดมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

ตอนหนึ่งของพระมาลัยเถระกล่าวกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ว่าประชาชนชาวโลกมีความปรารถนา ใคร่อยากเกิดร่วมในศาสนาของพระองค์ จะให้ชาวโลกประพฤติปฏิบัติอย่างไร พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์เมื่อทราบความประสงค์ของมนุษย์ในโลกแล้ว

จึงได้สั่งความกับพระมาลัยเถระเจ้าว่า ถ้ามนุษย์ทั้งหลายปรารถนาจะได้พบและเกิดร่วมศาสนากับพระองค์แล้ว จงรักษาศีลอย่าให้ขาด

ให้ทานสม่ำเสมอแก่สมณะชีพราหมณ์ ยาจกเข็ญใจ ผู้ยากไร้ทั้งหลาย จงอย่าได้ด่าว่า ฆ่าพ่อ ตีแม่ สมณะชีพราหมณาจารย์ อย่ายุยงพระสงฆ์หมู่คณะให้แตกสามัคคีกัน

ให้ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดกให้จบสั้นภายในวันเดียวโดยความเคารพ จึงจะได้เกิดร่วมศาสนาและพบเห็นพระองค์
การเทศน์มหาชาติมี 13 กัณฑ์ ได้แก่
1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 79 พระคาถา
2. กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ 134 พระคาถา
3. กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ 209 พระคาถา
4. กัณฑ์ที่ 4 วนปเวสน์ 57 พระคาถา
5. กัณฑ์ที่ 5 ชูชก 79 พระคาถา
6. กัณฑ์ที่ 6 จุลพน 35 พระคาถา
7. กัณฑ์ที่ 7 มหาพน 80 พระคาถา
8. กัณฑ์ที่ 8 กุมาร 101 พระคาถา
9. กัณฑ์ที่ 9 มัทรี 90 พระคาถา
10. กัณฑ์ที่ 10 สักบรรพ์ 43 พระคาถา
11. กัณฑ์ที่ 11 มหาราช 69 พระคาถา
12. กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ 36 พระคาถา
13. กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ 48 พระคาถา

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 
 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 
 

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube


 

วิดีโอ YouTube

 
 

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น