*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีบุญบั้งไฟ

                     ประเพณีบุญบั้งไฟ


ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าทีคอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้
ประเพณีบุญบั้งไฟ หรือประเพณียิงจรวดไทยขอฝนนี้ ความจริงไม่ใช่ประเพณีเฉพาะของชาวเมืองยโสธร แต่เป็นฮีด(จารีต)สำคัญ ฮีดหนึ่งของชาวอีสานทั่วทั้งภูมิภาค หากแต่ชาวยโสธรโยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมืองนั้นให้ความสำคัญ และร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานอย่างแข็งขัน จนทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และในที่สุดด้วยความช่วยเหลือจากภาครัฐและเอกชนอีกหลาย ๆ ส่วน
บุญบั้งไฟยโสธร จึงเลื่อนฐานะขึ้นเป็นประเพณีสำคัญของประเทศ เป็นตัวแทนจากภาคอีสานที่เชิดหน้าชูตาในด้านวัฒนธรรมประเพณีของชาติ

รูปแบบประเพณี

 
ในวันนี้ ประเพณีบุญบั้งไฟ แบ่งงานออกเป็นงานใหญ่ ๆ สองงานด้วยกันคือวันแรก เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น. เป็นขบวนแห่บั้งไฟสวยงามไปตามถนนสายหลักใจกลางเมือง
ในวันนี้ชาวบ้านจากคุ้มต่าง ๆ จะนำบั้งไฟขึ้นขบวนรถที่ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามเป็นลวดลายไทยงามวิจิตร นำแห่แหนด้วยขบวนรำประกอบดนตรีพื้นเมือง บนขบวนรถบางทีจะเป็นธิดาบั้งไฟโก้ เทพบุตรเทพธดาตัวน้อย ๆ หรือแม้กระทั่งเรื่องราวจำลองจากนิยายพื้นบ้านปรัมปรา เช่นเรื่องท้าวผาแดง นางไอ่ เป็นต้น นอกจากนี้ที่จะขาดไม่ได้ก็คือขบวนรีวิวประเภทเนื้อหาสาระและตลกขบขันต่าง ๆ ที่เปิดโอกาสให้ชาวเมืองที่ต่างอายุกันได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอย่างเสมอหน้าและ มาประกวดประชันกันอย่งสนุกสนาน
ส่วนวันที่สองเริ่มแต่เช้าที่สวนพญาแถนเป็นการประกวดการจุดบั้งไฟ มีการประกวดบั้งไฟขึ้นสูงแบะยั้งไฟแฟนซีต่าง ๆ ในขณะที่ชาวบ้านชาวคุ้มต่าง ๆ ก็จะยกขบวนออกร้องรำทำเพลงกันตลอดทั้งวันอย่างสนุกสนาน

จุดเด่นของพิธีกรรม


จุดเด่นของการชมประเพณีบุญบั้งไฟ อยู่ที่ช่วงเช้าของวันแรกคือวันแห่บั้งไฟสวยงาม สามารถชมได้ที่ปะรำพอธีถนนใจกลางเมือง และช่วงเช้าวันที่สอง คือการจุดบั้งไฟขึ้นสูงที่สวนสาธารณะพญาแถน

ตำนานเรื่องเล่า


ตำนานของประเพณีบุญบั้งไฟ ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านสองเรื่องคือเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่ และเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการยิงบั้งไฟเลยทีเดียว
ตำนานเรื่องนี้เริ่มจากพระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ครั้งนั้น พญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคันคากอาศัยอยู่
ในที่สุดพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน
พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นยีร หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันทีและถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว
และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญานแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน พญาแถนก็บันดาลให้ฝนหยุดตก
 

วิดีโอ YouTube

 
 

วิดีโอ YouTube

 
 
                                                                                        ******************************************************
 งานบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน  ซึ่งเกี่ยวกับดำรงชีวิตและอาชีพของชาวอีสาน  โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาชีพทำนา  พอเข้าเดือน 6 จะเข้าสู่ฤดูทำนา ก็จะเริ่มเข้าสู่น่าฝน  แล้วก็จะมีการบูชาเทพยดาตามเชื่อ  การจุดบั้งไฟนั้นก็เป็นการบูชาแถนซึ่งเป็นเทวดาบนสรวงสรรค์  ได้ตกตามฤดูกาล  เพื่อที่จะทำให้ชาวนานั้นปลูกข้าวได้ผลิตที่ดี  สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันนั้นคือ  ชาวอีสานเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการทำดินปืนมาแต่โบราณ  จนกระทั่งสามารถนำดินปืนมาบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ลำยาวๆล่ามสายชนวนออกมาจุดให้บั้งไฟพุ่งทะยานขึ้นไปบนท้องฟ้า  ซึ่งนับเป็นต้นแบบของจรวด  ที่ได้รับการพัฒนาจากโลกซีกตะวันตก  กลายเป็นอาวุธสงครามที่ร้ายแรง  ตลอดจนการส่งมนุษย์ไปสู่อวกาศ  จนกระทั่งสามารถไปถึงดวงจันทร์ได้



 
                บั้งไฟที่ชาวอีสานทำกันนี้มีอยู่ 4 ขนาด  ขนาดเล็กสุดใช้ดินปืนประมาณ 12 กิโลกรัม  เรียกว่า บั้งไฟพัน  ใหญ่ขึ้นมาก็คือ  บั้งไฟหมื่น  ใช้ดินปืนประมาณ 15 – 24 กิโลกรัม  และขนาดใหญ่เรียกว่า  บั้งไฟแสน  ใช้ดินปืนถึง 120 กิโลกรัม  และขนาดใหญ่ที่สุดได้ทำการสร้างมาไม่นานนี้เอง เรียกว่าบั้งไฟล้านซึ่งมีนาดใหญ่ที่สุด  แต่ไม่ค่อยจะสร้างกันมากนักเพราะทำยากและมีอันตรายมาก  ส่วนใหญ่ใช้บั้งไฟหมื่นกันมาก                 งานบุญบั้งไฟเดือน 6 ของชาวอีสานนี้  เป็นงานประเพณีอันสนุกสนาน  มีการเซิ้งนำขบวนแห่บั้งไฟ  ประกวดบั้งไฟ  ทั้งรูปร่างลักษณะและการตกแต่ง  ตลอดจนการจุดว่าบั้งไฟของคุ้มศรัทธาหรือวัดไหนขึ้นสูงสุด  งานบุญบั้งไฟในอีสาน  ที่จัดกันอย่างใหญ่โตที่สุดก็คือที่จังหวัดยโสธร  และหนองคาย
                สำหรับประวัติความเป็นมาจะมีแต่ครั้งไหนยังหาหลักฐานแน่ชัดไม่ได้  เพียงแต่หลักฐานเทียบเคียงเท่านั้นขอให้สันนิษฐานไว้ว่า  จะมีต้นเหตุเป็นมาในแง่ต่างๆ ดังนี้
                1. ด้านศาสนาพราหมณ์  พราหมณ์มีการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟคือพระอัคนี  ซึ่งเขาถือว่าไฟเป็นทั้งเครื่องบูชาเทพเจ้าอื่นๆ  และเป็นตัวพระอัคนีเอง  ผู้นำเครื่องสังเวยบูชาพระเจ้าเทพเจ้าเบื้องสวรรค์  การจุดบั้งไฟอาจจะเป็นการละเล่นอย่างหนึ่ง  พร้อมกับการละเล่นอย่างหนึ่ง  พร้อมกับการบูชาพระเจ้า
                2. ด้านพุทธศาสนา  ประเพณีพุทธมีการฉลอง  และทำบูชาในวันวิสาขบูชา  คือกลางเดือน 6 ในการบูชาอาจจะมีการทำไฟในแบบต่างๆ  ทั้งไฟน้ำมัน  ไฟธูปเทียน  และดินประสิวด้วย  ในงานบุญบั้งไฟปรากฏว่า  มีการรักษาศีล  การให้ทาน  การบวชนาค  และนิมนต์พระเทศน์อานิสงส์บั้งไฟด้วย
                3. ความเชื่อพื้นบ้าน  ชาวเมืองท้องถิ่นเชื่อว่า  มีโลกมนุษย์  โลกเทวดา  และโลกบาดาล  มนุษย์อยู่ภายใต้อธิพลเทวดา  ทางอีสานบางครั้งยังมีการถือเทวดาว่าเป็นบรรพบุรุษอยู่ด้วยช้ำ  การรำผีฟ้าก็เป็นตัวอย่างอันหนึ่งที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา  เทวดาเรียกว่า “แถน” เมื่อถือว่าแถน  ก็คือว่า  ฝน ฟ้า  ลม  แดด  เป็นอิธิพลของแถนด้วย  หากทำให้แถนโปรดปราน  มนุษย์ก็จะมีความสุข  ดังนั้น  จึงมีพิธีบูชาแถน  หรือ  ถวยแถนต่อมาการจัดบั้งไฟ  ก้อาจจะเป็นวิธีหนึ่ง  ที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาความภักดีไปยังแถน  หรือบูชาแถน  มีชาวบ้านภาคอีสานส่วนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน  และมีนิทานปรัมปรา  เรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ทั่วไป
                ผ.ศ.สิรัวัฒน์ คำวันสา.อีสานปริทัศน์.กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์,2523

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น