อิทัปปัจจยตา เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล เมื่อมีเหตุย่อมมีผล และเมื่อเหตุดับผลก็ดับคือเมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อสิ่งนี้ ไม่มีสิ่งนี้ย่อมไม่มีเพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป อิทัปปัจจยตา ถือเป็นหัวใจของปฏิจจสมุปบาทเป็นกฎเหนือกฎทั้งปวง เป็นพุทธธรรมอันติมะหรือสัจธรรมความจริงแท้ ที่สุดของพุทธศาสนา และเชื่อมโยงคำสอนทั้งปวง ของพระพุทธเจ้าว่า ล้วนเป็นไปตามหลักธรรม หรือกฎของอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น อิทัปปัจจยตาหลักอิทัปปัจจยตาซึมซ่านอยู่ในเหตุปัจจัยแห่งการก่อเกิด การดำรงอยู่ การมีปฏิสัมพันธ์ และเสื่อมสลาย ของสรรพสิ่งในจักรวาล รวมถึงเป็นวิธีคิด ทางทฤษฎีวิทยาศาสตร์ทุกสาขาด้วย ครอบคลุมทั้งปัจจัยส่วนวัตถุ จิตใจ สังคมและอื่นๆทั้งหมด ส่วนปฏิจจสมุปบาทหมายถึงแต่สิ่งมีชีวิตที่มีจิต อิทัปปัจจยตาในทางพุทธศาสนามักใช้ในการอธิบายในรูปแบบปรัชญาใช้อธิบายสิ่งต่างๆแบบเชื่อมโยง เช่น เสาเป็นปัจจัยของหลังคา ถ้าไม่มีเสา หลังคาก็อยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีหลังคา เสาก็ไม่มีประโยชน์ ทั้งเสาและหลังคาเป็นปัจจัยของกันและกัน คือ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมาลอยๆโดยไม่มีเหตุผล บางเหตุการณ์ประกอบด้วยหลายเหตุปัจจัย เช่น ร้องให้เพราะเจ็บ เจ็บเพราะหัวแตก หัวแตกเพราะหกล้ม หกล้มเพราะถนนลื่น ถนนลื่นเพราะฝนตก
อิทัปปัจจยตา
โดย..ท่านพุทธทาสภิกขุอิทัปปัจจยตา คือหลักเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผล
อุปมาเราทำความดีไม่ทำความผิด นั่นคือเหตุ
เมื่อมีเหตุก็ย่อมมีผลก็คือทำให้จิตใจเป็นสุขไม่เดือดร้อน
ตัวอย่างเช่น เราหาเงินได้แล้วก็ใช้อย่างประหยัดเก็บออมนั่นเป็นเหตุ แล้วผลที่ได้ก็คือพอมีเงินเก็บ
เหตุดีผลก็ออกมาดี เหตุไม่ดีผลก็ไม่ดี
สภาวะธรรมชาติของโลกนั้นอาศัยเกี่ยวเนื่องอยู่กับเหตุปัจจัย เมื่อมีสิ่งนั้นเกิดสิ่งนั้นก็เกิด ยกตัวอย่างเช่น
มีการตัดไม้ทำลายป่ามากๆ เมื่อมีเหตุแห่งการกระทำอย่างนี้ ผลที่ได้จากเหตุนั้นคือความแห้งแล้งตามมา
เมื่อมีความแห้งแล้งเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อการปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ
การเลี้ยงสัตว์ บกสัตว์น้ำ ก็ประสบปัญหา เมื่อการเกษตรประสบปัญหา เมื่อสิ่งนี้เป็นเหตุ ผลกระทบจาก
เหตุการณ์นี้คือความอดอยาก เมื่อมีความอดอยากขาดแคลนอาหารเป็นเหตุก็มีการอพยพไปสู่แหล่งอื่น
เพื่อความอยู่รอด การลักการปล้นก็จะเกิดขึ้น
เมื่อปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองเป็นเหตุ ผลกระทบก็นำไปสู่ปัญหาสังคม การเมือง ระดับประเทศระดับโลก
อกาลิโก แปลว่า (พระธรรม)ไม่ประกอบด้วยกาล หมายความว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติโดยไม่จำกัดกาลเวลา ไม่ขึ้นกับกาลเวลา
พุทธทาสภิกขุ
การทำหน้าที่ คือ ธรรมะ เราสามารถทำได้โดยไม่ใช่การถูกบังคับ ไม่เช่นนั้นเราจะทำงานไปพลาง ตกนรกไปพลาง
เมื่อทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะแล้ว จะเกิดผลคือว่า เราจะมีธรรมะและมีความสุขในทุกอิริยาบถ
หรือตลอดเวลาที่ได้ทำหน้าที่ เราจึงต้องทำหน้าที่ให้เป็นธรรมะ จะได้เป็นสุขในการทำหน้าที่ กล่าวคือเราจะทำงาน
ไปพลาง เป็นสุขไปพลาง และพอใจเป็นสุขได้ทุกเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น