*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีบุญซำฮะ

                                      ประเพณีบุญซำฮะ
 
บุญซำฮะ หรือบุญเดือนเจ็ด ทำเพื่อชำระล้างสิ่งที่สกปรก รกรุงรังออกจากร่างกาย และทำจิตใจให้สดใส คำว่า ซำฮะหรือชำระ หมายถึง ทำให้สะอาด ปราศจากมลทินโทษ การทำให้สะอาดนั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ
1. ความสกปรก ภายนอก ได้แก่ร่างกาย เสื้อผ้า อาหาร การกิน ที่อยู่อาศัย สกปรก
2. ความสกปรกภายใน ได้แก่จิตใจ เกิด ความโลภ โกรธ หลง
ตามฮีตสิบสองมีว่าพอเมื่อเดือนเจ็ดให้พากันบูชาเทวดาอารักษ์หลักเมืองทั้งมเหศักดิ์ด้วยเพื่อขอความคุ้มครองจากเทวดาอารักษ์มเหศักดิ์เมืองปู่ตาเมืองให้ปกปักรักษาบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็ฯสุข ไม่มีเหตุเภทภัยต่างๆมากล้ำกราย โดยแต่งเครื่องบูชาบวงสรวงเทพดังกล่าว พิธีนี้มีทุกบ้านทุกเมืองในเขตอีสาน
 
มูลเหตุที่ทำ

 
มีเรื่องเล่าใน พระธรรมบทว่า ครั้งหนึ่งเมืองไพสาลีเกิดทุพภิกขภัย ภาวะข้าวยาก หมากแพง เพราะเกิดผนแล้ง สัตว์เลี้ยงต่างๆล้มตายเพราะความหิว เกิดโรคระบาด (โรคอหิวาตกโรค)ทำให้ผู้คนล้มตาย ชาวเมืองกลุ่มหนึ่งจึงพากันไปนิมนต์พระพุทธเจ้าให้มาขจัดปัดเป่า พระองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์ 500 รุป โดยเดินทางมาทางเรือใช้เวลาเดินทาง 7 วัน จึงถึงเมืองไพสาลี เมื่อเสด็จมาถึงก็เกิดฝน “ห่าแก้ว”ตกลงมาอย่างหนัก จนน้ำฝนท่วมแผ่นดินสูงถึงหัวเข่า และน้ำฝนก็ได้พัดพาเอาซากศพของผู้คนและสัตว์ต่างๆ ไหลล่องลอยลงแม่น้ำไปจนหมดสิ้น พระพุทธเจ้าทำน้ำมนต์ใส่บาตรให้พระอานนท์ นำน้ำมนต์ไปสาดทั่วพระนคร โรคร้าย ไข้เจ็บ ก็สูญสิ้นไปด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าและน้ำพระพุทธมนต์ ดังนั้นคนลาวโบราณและคนไทยอีสานจึงถือเป็นประเพณี เมื่อถึงเดือนเจ็ดของทุกปีจะพากันทำบุญ ซำฮะ เป็นประจำทุกปี

 
พิธีกรรม

 
เมื่อถึงวันทำบุญ ชาวบ้านจะพากันมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน หากหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันทำปะรำพิธีกลางหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูปเทียน ขันน้ำ ขันใส่กรวดทราย และฝ้ายผูกแขน มารวมที่ศาลากลางบ้าน ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหารมาทำบุญตักบาตร แลี้ยพระถวายจังหัน เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วจะให้พรและรดน้ำมนต์ให้กับชาวบ้านที่มาในงาน ทุกคนจะเอาขันน้ำมนต์ ด้ายผูกแขน ขันกรวดทารายกลับไปที่บ้านเรือนของตนเอง แล้วนำน้ำมนต์ไปปะพรมให้แก่ทุกคนให้ครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือน วัว ควาย เอาด้ายผูกแขนลูกหลานทุกคน เชื่อว่าจะนำความสุขและสิริมงคลมาสู่สมาชิกทุกคน ส่วนกรวดทรายก็จะนำเอาไปหว่านรอบๆ บริเวณบ้านและที่สวนไร่นาเพื่อขับไล่เสนียด จัญไร และสิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้หมดสิ้นไป
บุญซำฮะ คือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ให้คนในหมู่บ้านร่วมกันทำความสะอาดบริเวณบ้านของตนและสถานที่สาธารณะของหมู่บ้าน และดอนปู่ตา ซึ่งถือว่าเป็นผีบ้าน เพื่อให้คุ้มครองชาวบ้านทุกคนทั้งหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุข
พิธีเลี้ยงปู่ตา หมู่บ้านแทบทุกหมู่บ้านในภาคอีสานจะมี “ดอนปู่ตา” ซึ่งเป็นป่าสงวนของชาวบ้านที่ติดกับหมู่บ้าน โดยมีความเชื่อว่าบริเวณดอนปู่ตานี้เป็นที่อยู่อาศัยของผีบรรพบุรุษของหมู่บ้านในบริเวณดอนปู่ตานี้ จะถือว่าเป็นสิ่งหวงห้าม ชาวไม่กล้าทำลาย จึงทำให้ป่าในบริเวณนี้เจริญ และสมบูรณ์ที่สุดดังนั้นในเดือนเจ็ด นอกจากบุญซำฮะแล้วขังมี บุญเลี้ยงหลักบ้าน จะมีบุญเลี้ยงผีปู่ตา ซึ่งจะเลี้ยงหลังจากการเลี้ยงหลักบ้าน
 
 
 
 
 

วิดีโอ YouTube

 
 
 
 
ขอขอบคุณ...เนื้อหาจาก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
 

3 ความคิดเห็น:

พ่อใหญ่ครูเส กล่าวว่า...

บุญซำฮะ บุญเดือนเจ็ด



"ฮีตหนึ่งนั้นพอเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช
ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย
ตลอดไปยอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสักข์
ทั้งหลักเมืองสู่หน บูชาเจ้า
พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า
นิมนต์สังฆเจ้าชำระแท้สวดมนต์
ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง
สูตรชำระเมืองอย่าค้าง สิเสียเศร้าต่ำศูนย์
ทุกข์สิแล่นวุ้นโฮมใส่เต็มเมือง
มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า
ให้เจ้าทำตามนี้คือเฮาได้บอกกล่าว
จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน
แม่นทุกข์ฮ้อนหมื่นซั้นบ่มีว่าสิมาพาน
ปานกับเมืองสวรรค์สุขเกิ่งกันเทียมได้"


ประเพณีบุญเดือนเจ็ดหรือบุญซำฮะเป็นงานบุญที่ชาวอีสานจะจัดงานประเพณีขึ้น
มีจุดประสงค์เพื่อ ปัดรังควานและขับไล่เสนียดจัญไร
ตลอดถึงเหล่าภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน

คำว่า ซำฮะ ก็คือ ชำระ ที่หมายที่การ ล้างให้สะอาด

บุญซำฮะ อาจจะเรียกว่าเป็นบุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้าน
ซึ่งในงานบุญนี้นอกจากจะทำพิธิขับไล่สิ่งชั่วร้ายแล้ว
ยังต้องมีการทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้านและประชาชน






ด้วยความเชื่อตามตำนานอันนี้ชาวอีสานจึงได้จัดให้มีประเพณีบุญซำฮะขึ้นในเดือนเจ็ดเป็นประจำทุกปี

ในการจัดงานบุญซำฮะหรือบุญเบิกบ้าน
ชาวบ้านจะทำบริเวณพิธีด้วยการนำต้นกล้วยมาสี่ต้นทำเป็นเสา
ผูกยึดด้วยสายสิญจ์ และจะมีการโยงสายสิญจ์ไปยังบ้านทุกหลังในหมู่บ้าน
แล้วนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์
นอกจากนี้จะมีการนำหินเข้าพิธีเมื่อปลุกเสกแล้วพระหรือพราหมณ์ก็จะนำหินที่ปลุกเสกไปว่านทั่วหมู่บ้าน เพื่อปัดรังควาน

ในปัจจุบัน บางหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่
ชาวบ้านจะนำหินใส่ถุงเขียนชื่อเมื่อเสร็จพิธีก็จะมารับกลับไปว่านที่บ้านของตนเอง

บ้างก็นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านของตนไปสูตร หรือ ปลุกเสก

พ่อใหญ่ครูเส กล่าวว่า...

เรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญซำฮะ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองไพสาลี
เป็นยุคเข็ญ เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
สรรพสิ่งต่างก็พากันเจ็บป่วยล้มตาย ด้วยโรคห่า หรือ อหิวาตกโรค
ชาวบ้านที่ยังมีชีวิตอยู่จึงไปนิมนต์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมาปัดเป่าทุกข์ภัย
พระพุทธองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับพระสงฆ์จำนวน 500 รูป กว่าพระองค์จะเดินทางมาถึงเมืองไพสาลีก็ใช้เวลานานถึง 7 วัน
เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงพร้อมคณะสงฆ์ก็เกิดฝนห่าแก้วตกลงมาอย่างหนัก
จนน้ำท่วมเมืองไพสาลีสูงถึงหัวเข่า แล้วน้ำก็ไหลพัดพาเอาซากศพต่าง ๆ ลงสู่แม่น้ำจนหมดสิ้น
พระองค์จึงทำน้ำพระพุทธมนต์ให้พระอานนท์ไปประพรมทั่วเมือง
นับตั้งแต่บัดนั้นโรคร้ายก็สูญหายไปจากบ้านเมือง

บุญซำฮะนิยมทำกันในเดือน ๗ จัดทำได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมการชำฮะ(ชำระ) สะสาวสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทิลโทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะสิ่งที่ต้องการทำให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรกภายนอกได้แก่ร่งกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่จิตใจเกิดความความโลภมากโลภา โกรธหลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือ บุญชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดข้าศึกมาราวีทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้นเกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตายถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อนชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้นเกี่ยวกับการซำฮะนี้เรียกว่า บุญซำฮะ มีกำหนดทำให้ระหว่างเดือนเจ็ด จึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด
“ ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า นิมนต์สังฆเจ้าขำระแท้สวดมนต์ ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง สูตรชำระเมืองอย่าค้างสิเสีย เศร้าต่ำศูนย์ ทุกข์สิแล่นวุ่นๆ มาโฮมใส่เต็มเมือง มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า ให้เจ้าทำตามนี้ แนวเฮาสิกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน ทุกข์หมื่นฮ้อยซั้นบ่มีว่าพาน ปานกับเมืองสวรรค์ สุขเกิ่งกันเทียมได้”
เดือนเจ็ดทำบุญซำฮะ (ล้าง) หรือบุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีตาแฮก ผีเมือง เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ

พ่อใหญ่ครูเส กล่าวว่า...

คำว่า “ซำฮะ” เป็นภาษาไทยอีสานตรงกับคำไทยภาคกลางว่า “ชำระ” ซึ่งในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ชำระ ก. ชะล้างให้สะอาด เช่นชำระร่างกาย สะสาง ปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น ชำระพระไตรปิฎก
พิจารณาตัดสิน เช่น ชำระความ ใช้ในคำว่า ชำระหนี้”

...ความหมายของคำว่า ซำฮะ ซึ่งเป็นภาษาไทยอีสานก็มีความหมายเช่นเดียวกันกับในคำว่า ชำระของพจนานุกรมไทย เช่น
ในหนังสือพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ให้ความ
หมายไว้ว่า “ซำฮะ ก. ชำระ สะสาง ทำให้ดี เช่น อาบน้ำชำระกาย ,พิจารณาตัดสินให้, เช่น ชำระความ , ปัดรังควาน เช่น
สูตรชำฮะ เป็นต้น”

...บุญซำฮะจึงอาจสรุปความหมายได้ว่า คือบุญที่จัดทำขึ้นเพื่อทำพิธีปัดรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออก
จากหมู่บ้าน บางแห่งเรียกว่า “บุญเบิกฟ้า” บางแห่งเรียกว่า “บุญบ้าน” เฉย ๆ บางบ้านที่เป็นหมู่บ้านใหญ่อาจแบ่งกันทำ
เป็นคุ้มไป จึงเรียกว่า “บุญคุ้ม” ก็มี แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากหมู่บ้านนั่นเอง

แสดงความคิดเห็น