*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีบุญเข้ากรรมหรือบุญเดือนเจียง

ประเพณีบุญเข้ากรรมหรือบุญเดือนเจียง


การอยู่ปริวาสกรรมของภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำ เพราะเหตุมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึงเรียกว่า บุญเดือนเจียง นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแกนและผีต่างๆ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็นสิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว" (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งประพฤติตนให้ ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป ทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ ( เดือนเจียง ) จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือ พิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ( อาบัติ หนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรมการเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วย บางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม ( อยู่ไฟหลังคลอด ) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว"
"
บุญเข้ากรรมเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม
บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย

"
หนึ่งในฮีต 12 คือ บุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ควาสำคัญ อีกงานหนึ่ง เพราะเป็นช่วงที่พระสงฆ์จะมีการเข้ากรรมหรืออยู่บริวาสกรรม  เพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเลสตาม คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน จะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์ ประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น   โดยมากงานบุญในเดือนนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า ผู้คนมีความเชื่อกันว่า   หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรมของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแม่และลูก  ส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนักรองลงมาจากปาราชิก ทำพิธีวุฏฐานพิธีซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัต อันเป็นพิธีกรรมที่ทำให้จิตใจไม่หมองมัว หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงการกระทำอันเป็นบาปที่ทำมาตลอดเข้าพรรษา หรือตั้งแต่กำเนิด บ้างก็ว่าการคร่ำเคร่งในการเข้ากรรมของพระสงฆ์เพื่อเป็นการทดแทนการอยู่กรรมของมารดาที่แสนจะทรมาน  มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า ในสมัยพุทธกาล ในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าปริวาสกรรม มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเพียงเล็กน้อย การทำลายชีวิตในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นเพียงบาปเล็กน้อย เป็นอาบัติอย่างเบา จึงไม่แสดงอาบัติ แต่เหตุในครั้งนั้นก็ยังคงค้างคาอยู่ในใจของภิกษุรูปนั้นอยู่เสมอตลอดระยะเวลาในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรมในป่าและคงอยู่เป็นเวลานาน แต่เมื่ออยากแสดงอาบัติในการทำใบตะไคร่น้ำขาดในครั้งนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดรับฟัง เมื่อภิกษุรูปนี้ได้มรณะภาพลง บาปกรรมก็ยังติดตัวไปยังภพใหม่ด้วย   จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วช่วงระยะเวลาการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้น เป็นช่วงที่ท่านแสดงซึ่งอาบัติที่เคยกระทำมาและยอมรับในการทำผิดนั้น มิได้บริสุทธิ์กว่ากาลที่ผ่านมา แต่เป็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในปัจจุบัน ชาวอีสานก็ยังให้ความสำคัญกับงานบุญในเดือนเจียงนี้อยู่แม้จะมีจำนวนลดน้อยลงบ้างตามกาลเวลา

ขั้นตอนดำเนินการ       สถานที่
สถานที่สำหรับเข้ากรรมนั้นจะต้องเป็นสถานที่่ี่เงียบไม่พลุกพล่านอาจเป็นบริเวณวัดตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ มีกุฏิหรือกระต๊อบชั่วคราวเป็นหลัง ๆสำหรับพระภิกษุอยู่อาศัยระหว่างเข้ากรรมตามลำพังผู้เดียว จำนวนพระสงฆ์เข้ากรรม คราวหนึ่ง ๆ มีจำนวนเท่าใดก็ได้ก่อนจะเข้ากรรมพระภิกษุรูปใดต้องอาบัติแล้ว ต้องบอกพระภิกษุสงฆ์สี่รูปให้รับทราบไว้ได้เวลาแล้วจึงเข้ากรรม

“ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อนอย่าได้ละห่วงเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำแท้แหล่ว”
ความหมายคือ พอถึงเดือนเจียง (เดือนอ้าย) ภิกษุสงฆ์จะต้องเตรียมพิธีเข้าปริวาสกรรม เพราะถือเป็นธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณขออย่าได้ละทิ้งประเพณีนี้ หาไม่แล้วจะทำให้เกิดภัยพิบัติได้ ด้วยคำสอนนี้ ชาวอีสานจึงนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจนปัจจุบัน






วิดีโอ YouTube






















       พิธีกรรม ในหนังสือวินัยมุขกล่าวว่า พระสงฆ์ผู้เข้ากรรมต้องประพฤติมานัตต์ แปลว่า “นับราตรี”ครบหกราตรี แล้วสงฆ์จึงจะสวดระงับอาบัติเรียกว่า “อัพภาน” แปลว่า “เรียกเข้าหมู่” แต่พระต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ล่วงเลยนานวันเท่าใดต้องอยู่ปริวาส ซึ่งแปลว่า “อยู่ใช้ให้ครบวันเท่านั้น” ก่อนจึงควรประพฤติมานัตต์ได้ต่อไป ถ้าในระหว่างอยู่ปริวาสต้องครุกาบัติอีกจะต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์ใหม่ เรียกว่า “ปฏิกัสสนา”แปลว่า กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิมสำหรับประเพณีนิยมกันในภาคอีสานเกี่ยวกับการเข้ากรรมนี้ปกติอยู่เก้าราตรี คือ ตอนสามราตรีแรกเรียกว่า”อยู่ปริวาส”
       เมื่อจะเข้าปริวาสให้กล่าวคำสมาทานต่อสงฆ์โดยกราบพระภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ซึ่งสามารถสวดให้ปริวาสได้รูปหนึ่งว่า “ปริวาสัง สมาทิยามิ หรือ วัตตัง สมาธิยามิ” ๓ หนก็ได้และถ้าไม่อาจอยู่ปริวาสต่อไปได้จะเก็บปริวาสก็กล่าวว่า”ปริวาสัง นิกขิปามิ หรือวัตตังนิกขิปามิ” ๓ หน ต่อหน้าพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และตอนหกราตรีต่อมาเรียกว่า “อยู่มานัตต์”ซึ่งมีคาถาสวดเพื่อเข้ามานัตต์ต่อหน้าสงฆ์โดยกราบพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้แก่พรรษา ซึ่งสามารถสวดให้มานัตต์ได้ โดยกล่าวขอสมาทานมานัตต์ก่อนแล้วจึงสมาทานวัตตังดังนี้ “มานัตตัง สมาทิยามิ วัตตังสมาทิยามิ” ๓ หน แล้วประพฤติให้ครบหกราตรี แต่ถ้ามีเหตุอันจำเป็นต้องพักเก็บมานัต จะกล่าวคำเก็บมานัตต่อหน้า พระภิกษุผู้แก่พรรษาโดยว่าวัตต์ก่อนแล้วจึงว่าเก็บมานัตต์ ดังนี้ “วัตตัง นิกขิปามิ มานัตตัง นิกขิปามิ” ๓ หน ถ้าต้องการเข้ามานัตต์ต่ออีก ก็ขอสมาทานมานัตต์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเข้ากรรมครบกำหนดคืออยู่มานัตต์ครบหกราตรีแล้ว จึงอัพภานคือออกจากรรมได้แก่ ่การออกจากอาบัติสังฆาทิเสส หรืออาบัติหนักขนาดกลาง(ครุกาบัติ) ระหว่างเข้ากรรม การสารภาพความผิดต้องมีพระสงฆ์ ๔ รูป   เป็นผู้รับรู้ ส่วนการออกจากกรรม ต้องมีพระสงฆ์ ๒๐ รูป ให้อัพภาน ในจำนวนนี้จะนับพระภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเข้าด้วยไม่ได้ การรับพระภิกษุผู้ต้องอาบัติหนักและได้ถูกทำโทษ คืออยู่ปริวาสหรือมานัตต์ แล้วให้กลับเป็นผู้บริสุทธิ์โดยพระสงฆ์สวดระงับอาบัตินี้เรียกว่า “สวดอัพภาน” ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้วถือว่าเป็นผู้หมดมลทิน เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง สำหรับชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพิธีบุญเข้ากรรม จะต้องเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์ด้วยจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ตลอดเวลาที่เข้ากรรม และในวันที่พระภิกษุออกจากกรรมจะต้องมีการทำบุญให้ทานเช่น มีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และฟังเทศน์ เป็นต้น คฤหัสถ์ผู้ใดได้ทำบุญแด่พระภิกษุสงฆ์ในบุญเข้ากรรม ถือว่าได้กุศลหรืออานิสงส์แรงมาก 

     บุญเข้ากรรมในปัจจุบันมักจะมีจัดทำเฉพาะบางตำบลหมู่บ้านที่ชาวบ้านยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิมจริงๆ เท่านั้น วิพากษ์พิธีกรรมความเชื่อ ประเพณีบุญเข้ากรรมนั้นยังมีข้อที่น่าสังเกตอยู่มากเพราะปัจจุบันนี้พิธีกรรมนี้ได้กลายเป็นการจัดงานเพื่อวัตถุประสงค์อื่นมากกว่า คือแทนที่จะเป็นพิธีชำระพระผู้ต้องอาบัติให้เป็นผู้บริสุทธิ์ตามพระธรรมวินัย ซึ่งก่อนที่จะให้มีงานบุญนี้จะมีพระที่ทำผิดเกิดขึ้นเป็นมูลเหตุ ถือว่าเป็นพระที่บกพร่องทางธรรมวินัย แต่ปัจจุบันนี้กลับมีการโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามธรรมวินัย เพราะแท้จริงแล้วพระที่มาเข้ากรรมนั้น เป็นพระที่ทุศีลมาก่อน แม้จะมาปลงหรือล้างอาบัติอย่างดีก็แค่กลับเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเดิมเท่านั้น มิได้มีเหตุใดที่จะอ้างได้ว่าผู้ทำบุญด้วย จะมีผลานิสงส์มากดังกล่าว เพราะความจริงในหลักศาสนามีว่า มีแต่ทำบุญกับพระสุปฏิปันโน (ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ) เท่านั้นจึงจะมีผลานิสงส์มาก การโฆษณาเพื่อชักชวนให้ญาติโยมไปทำบุญมากๆ จึงมักจะมีเหตุผลอื่นมากกว่าหากต้องการให้ญาติโยมได้บุญจริง ๆและต้องการบอกความจริงในทางศาสนาให้ผู้คนทราบ ก็น่าจะบอกความจริงว่าทำบุญกับใครอย่างไร จะได้บุญมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในทางพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องนี้อย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ก็เน้นย้ำสำทับให้ลูกหลานได้จดจำนำไปปฏิบัติมิรู้ลืมว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น