*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีบุญข้าวจี่

                   ประเพณีบุญข้าวจี่
 

ทำบุญข้าวจี่ วันเพ็ญเดือน 3 เป็นวันมาฆบูชา รุ่งขึ้นวันแรม 1 ค่ำก็ถวายข้าวจี่ เรียกว่าวันทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชานั่นเอง ข้าวจี่คือเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเป็นข้าวเหนียวยัดไส้ แล้วถวายพระเณรฉันตอนเช้า ส่วนมากชาวบ้านจะรีบทำแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหัวแจก) นิมนต์พระเณรสวดแล้วฉัน เป็นทั้งงานบุญและงานรื่นเริงประจำแต่ละหมู่บ้าน เพราะได้ทำข้าวจี่ไปถวายพระหลังจากพระฉันแล้วก็เลี้ยงกันเองสนุกสนาน มีคำพังเพยอีสานว่า
"เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นเข้าจี่ เข้าจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจัวน้อยเช็ดน้ำตา"
เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันตั้งแต่โบราณมาว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกพระและนิยมทำบุญบ้าน สวดมนต์เสร็จพิธีสงฆ์ แล้วก็สู่ขวัญข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านก็ทำเล็กน้อยพอเป็นพิธี คือเอาข้าวไปถวายสงฆ์แล้วทำพิธีตุ้มปากเล้าเล็กน้อยเป็นการบูชาคุณของข้าวในเล้าหรือยุ้ง
"เถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ"
ทั้งนี้ประเพณีบุญข้าวจี่จัดขึ้นโดยทั่วไปในภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณแถบ อ.พังโคน และ อ.สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยจะมีการทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน


            **************************************************************************************


ประเพณีบุญข้าวจี่

ประวัติความเป็นมาประเพณีบุญข้าวจี่ บุญข้าวจี่นิยมทากันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทาบุญวันมาฆบูชา ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนามาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่วและนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟ มูลเหตุที่ทาบุญข้าวจี่ในเดือนสาม เนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาได้มีการทานาเสร็จสิ้น ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งใหม่จึงอยากร่วมกันทาบุญข้าวจี่ถวายแก่พระสงฆ์
สาหรับมูลเหตุดั้งเดิมที่มีการทาบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่ากันตามความเชื่อว่า ในสมัยพุทธกาล นางปุณณะทาสี ได้ทาขนมแป้งจี่ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท์ ณ ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผลด้วยอานิงสงฆ์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวอีสานจึงเชื่อในอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทาข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา
ตาบลนาอ้อเริ่มฟื้นฟูประเพณีบุญข้าวจี่อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่บ้านนาอ้อ ได้รับยกย่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบของจังหวัดเลยและมีการจัดงานประเพณีแบบเป็นระเบียบแบบแผนและจัดงานอย่างต่อเนื่องมาทุกปี (สาร สารทัศนานันท์ 2527 : 43 – 44) การปฏิบัติในงานประเพณีบุญข้าวจี่
เมื่อทางวัดและทางบ้านกาหนดวันทาบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะไปเตรียมหาไม้ไผ่สาหรับเสียบข้าวจี่ เมื่อถึงวันทาบุญก็จะเอาไม้เสียบและฟืนที่เตรียมไว้สาหรับทาบุญข้าวจี่ไปรวมกันที่วัด เมื่อก่อไฟจนเป็นถ่านดีแล้วชาวบ้านแต่ละคนเอาข้าวเหนียวทาเป็นปั้นโรยเกลือและเคล้านวดให้เข้ากันจนข้าวมีลักษณะเหนียว กะจานวนให้ครบพระภิกษุสามเณรในวัดเสียบไม้ปิ้งไฟหรือย่างบนกองไฟจวนสุกทาไข่ให้ทั่วแล้วปิ้งต่อไปจนไข่เหลือง บางแห่งเมื่อปิ้งเสร็จเอาน้าอ้อยปึกยัดไส้ด้วย (น้าอ้อยอาจเอาใส่ยัดไส้ก่อนปิ้งไฟก็ได้) หรือจะไม่ใส่น้าอ้อยก็ได้ จึงจัดอาหารคาวหวานและข้าวจี่มารวมกันที่ศาลาวัด นิมนต์พระภิกษุและสามเณรในวัดทั้งหมดมารับถวายทาน ข้าวจี่หากไม่มารวมกันทาที่วัด ชาวบ้านอาจต่างคนต่างทามาจากที่บ้านของตน โดยเสร็จแล้วต่างนาข้าวจี่มาที่วัดก็ได้ พิธีถวายมีการกล่าวคาบูชาดอกไม้ กราบไหว้พระรัตนตรัย รับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรถวายข้าวจี่แล้วยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมอาหารคาวหวาน ก่อนยกไปถวายมีการกล่าวคาถวายข้าวจี่อีกด้วย




วิดีโอ YouTube




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น