*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

           ประเพณีบุญข้าวประดับดิน          

วิดีโอ YouTube


บุญข้าวประดับดิน วันแรม 14 ค่ำ ประเพณี บุญเดือน 9 อีสาน

อีกหนึ่ง ประเพณีอีสาน ที ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ได้ ปฎิบัติ สืบต่อกันมา กัน
มานมนาน โดย การสืบทอด ประเพณีดังกล่าว จาก บรรพ์บุรุษ จน ถึงปัจจุบัน ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา การทำบุญข้าวประดับดิน นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมหมากพลู บุหรี่ที่ห่อด้วยใบตอง กล้วย นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้ หรือวางไว้ตามพื้นดิน เรียกว่า "ห่อข้าวน้อย" พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตร นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย

บุญข้าวประดับดิน วันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า  ประเพณี บุญเดือนเก้า อีสาน
มูลเหตุที่จะมีการทำ บุญข้าวประดับดิน  นั้น
อันสืบเนื่องมากจากว่า
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งพุทธกาล บรรดาญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงค์แล้ว มิได้ทรงอุทิศส่วนกุศลผลบุญ ไปให้บรรดาเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น เมื่อเปรตมิได้รับผลบุญ
ถึงเวลากลางคืนพากันส่งเสียงน่ากลัว เพื่อขอส่วนบุญอยู่ใกล้ๆ กับพระราชนิเวศน์ พระ
เจ้าพิมพิสารทรงได้ยินเช่นนั้น พอรุ่งเช้า จึงเสด็จไปทูลถามสาเหตุจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงแจ้งสาเหตุให้พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบแล้ว จึงถวายทาน แล้วอุทิศส่วนกุศลซึ่งทำไปให้เปรต ตั้งแต่นั้นมา บรรดาเปรตเหล่านั้นก็ไม่มารบกวนอีก เพราะเปรตที่เป็นญาติได้รับผลบุญแล้ว ชาวอีสานจึงถือเอามูลเหตุนี้ ทำบุญข้าวประดับดิน ติดต่อกันมา

วิธีดำเนินการ พอถึงวันแรม 13 ค่ำ เดือนเก้า ชาวบ้านเตรียมอาหาร มีทั้งคาวหวาน
ได้แก่ เนื้อ ปลา เผือก มัน ข้าวต้ม ขนม น้ำอ้อย น้ำตาล ผลไม้ เป็นต้น และหมากพลู บุหรี่ไว้ไห้พร้อม เพื่อจัดทำเลี้ยงกันในครอบครัวบ้าง และทำบุญถวายพระภิกษุสามเณรบ้าง ส่วนสำหรับอุทิศให้ญาติที่ตาย ใช้ห่อด้วยใบตองกล้วย อาหารคาวห่อหนึ่ง อาหารหวานห่อหนึ่ง และหมากพลูบุหรี่ห่อหนึ่ง เย็บหุ้มปลาย แต่บางคนใส่ใบตองที่เย็บเป็นกระทงก็มี หรือหากไม่แยกกัน อาจเอาอาหารทั้งคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ ใส่ในห่อ
หรือกระทงเดียวกันก็ได้ สิ่งของเหล่านี้ จะมากน้อยก็แล้วแต่ศรัทธา
พอเช้าวันรุ่งขึ้น คือวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ตอนเช้ามืด คือ เวลาประมาณ 4 ถึง 6 นาฬิกา ชาวบ้านก็นำอาหาร หมากพลู บุหรี่ที่ห่อใส่กระทงแล้วไปวางไว้ตามพื้นดิน
วางแจกไว้ตามบริเวณโบสถ์ ต้นโพธิ์ ศาลา ตามกิ่งไม้หรือต้นไม้ใหญ่ๆ ในบริเวณวัด พร้อมกับจุดเทียนไว้ และบอกกล่าวแก่เปรต ให้มารับเอาสิ่งของและผลบุญด้วย
บางหมู่บ้าน จะเอาอาหารที่อุทิศให้แก่ผู้ตายหลังทำพิธีแล้ว ก็ฝังไว้ในดินก็มี เพื่อไม่
ให้ผู้ใดผู้หนึ่งกินอาหารที่เป็นเดนเปรต เพราะกลัวจะกลายเป็นเปรตไปด้วย
การวางอาหารไว้ตามพื้นดิน หรือตามที่ต่างๆ เพื่อจะให้พวกเปรตมารับเอาของอุทิศให้ได้ง่าย โดยไม่ต้อง มีพิธีรีตอง เสร็จพิธีอุทิศผลบุญส่งไปให้เปรตแล้ว ชาวบ้านก็จะ
นำอาหารที่เตรียมไว้อีกส่วนหนึ่ง ไปตักบาตรและถวายทานแด่พระภิกษุ สามเณร มี
การสมาทานศีลฟังเทศน์ และกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับต่อไป การทำบุญข้าวประดับดิน บางท้องถิ่นมีการห่ออาหารคาว อาหารหวาน หมากพลู บุหรี่ ไปวางไว้ตามที่ต่างๆ บริเวณวัด ภายหลังการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณรแล้วก็มี เป็นเสร็จ

พิธีทำบุญข้าวประดับดิน

พระสงค์เป็นเนื้อนาบุญ มีเรื่องมากมายที่ท่านกล่าวไว้ในพระสุตตันตปิฎก โดยเฉพาะ
ในธรรมบทขุททกนิกาย ธัมมปทัฎฐกถา ภาค 2 เรื่องมัฏฐกุณฑลี พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่มัจฉริยพรหมณ์ พ่อของมัฎฐกุณฑลี เมื่อมัฎฐกุณฑลี ลูกชายมีชีวิตอยู่ป่วยลง พ่อไม่ยอมรักษาเพราะกลัวเงินหมด แต่พอมัฏฐกุณฑลี ผู้ลูกชายตายแล้ว พ่อเอาทั้งข้าวทั้งของไปกองให้ลูก แล้วร้องไห้อาลัยหาในป่าช้า บ่นเพ้อให้ลูกมาเอาของ พระพุทธองค์ตรัสว่า เปล่าประโยชน์ที่จะเอาข้าวเอาของไปทำเช่นนั้น เพราะคนตายแล้ว เขาก็ไป
ตามคติ (สุคติ ทุคติ) ของเขา ไม่มีวันย้อนกลับมา รับสิ่งของเหล่านั้นแต่อย่างใด
ควรจะทอดทานให้แก่สมณชีพราหมณ์ คนยากจน และสัตว์ดิรัจฉาน ของเหล่านี้
จะมีอานิสงส์ งอกเงยไปถึงแก่เปรตชนผู้ล่วงลับไปแล้ว  
เนื่องจาก พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญ จะเป็นไปได้ไหมว่า พระพุทธองค์ไม่อยากจะ
ให้ของเหล่านั้น ต้องเน่าหรีอเสียทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ สำหรับของที่ให้แล้ว วางประดับไว้ตามดินที่เรียกว่า ข้าวประดับดิน ในบุญนี้ก็มีเพียงอาหาร ผู้ได้กินอาหารนี้
โดยตรง ที่เห็นๆ ก็คือสัตว์เดียรัจฉาน ตามนี้ก็ถือว่า ถูกต้องตามพุทธประสงค์แล้ว สำหรับการแจกห่อข้าวน้อยในบุญประดับดินนี้ นิยมแจกตอนเช้า ตั้งแต่ตี 4 จนถึง
ย่ำรุ่ง ไม่นิยมแจกนอกวัดด้วย

*******************************************************************************************
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน (บุญเดือนเก้า)
  • ความสำคัญ
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้
ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต
  • พิธีกรรม ประกอบด้วย

๑. วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน
หมาก พลู และบุหรี่ไว้
๒. วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี ๔ นำสิ่งของที่เตรียมไว้
จัดใส่กระทงหรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสาก แล้ววางแจกตามบริเวณวัด
โดยวางไว้กับพื้นดิน หรือบางคนก็ฝังดิน
๓. ชาวบ้านกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่ง เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้า
เสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน
  • สาระ

โบราณท่านเขียนไว้ในหนังสือฉลอง ความว่า "ครั้งที่มหาโมคคัลลาน์แทรก
แผ่นดินลงไปเยือนนรก ซึ่งเขากำลังเสวยกรรมอยู่ในแดนต่างๆ พอท่านไปถึงก็บันดาลให้ไฟนรกดับ สัตว์นรกก็ไม่ได้เสวยกรรม พอท่านจะกลับมายังโลกมนุษย์
พวกสัตว์นรกได้สั่งท่านให้มาบอกญาติพี่น้องทาง โลกได้ทราบ และทำทานอุทิศ
ส่วนกุศลไปให้บ้าง เมื่อพระโมคคัลลาน์กลับมาถึงชมพูทวีปก็ประกาศข่าวนี้ให้ประชาชนทราบ ซึ่งวันนั้นตรงกับวันดับเดือนเก้า (วันแรม ๑๕ ค่ำ)จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันทำบุญข้าวประดับดิน"

สาเหตุที่ต้องทำพิธีตั้งแต่เช้ามืดเพราะเชื่อว่าพญายมราชปล่อยผีเปรตให้มี
เวลาอยู่บนโลกมนุษย์เพียง ๒ ชั่วโมง จากตี ๔ ถึง ๖ โมงเช้า และที่ต้องวาง
เครื่องไทยทานไว้กับพื้นดินนั้นเพื่อให้เปรตรับเอาง่ายๆ โดยไม่ต้องมีพิธีรีตอง
เดี่ยวจะกลับไม่ทันเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น