*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การไหว้

การไหว้
ภาพ:Dee1.jpg
การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี"แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ"การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

ลักษณะการเเสดงความเคารพด้วยการไหว้


การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ

ภาพ:Dee2.jpg

การประนมมือ


การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น

ไหว้


ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้
  • ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ภาพ:Res1.gif
ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
  • ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว

ภาพ:Res2.gif
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
  • ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
ภาพ:Res3.gif
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ภาพ:Res4.gif
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม

การกราบ

การกราบ(อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่
3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
ภาพ:Res5.gif

ท่าเตรียมกราบ

  • ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
  • หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
  • จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
ภาพ:Res6.gif

  • จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
ภาพ:Res7.gif

  • จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
ภาพ:Res8.gif
  • ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
  • หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
ภาพ:Res9.gif
3.3 การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
1) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก
2) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
3) หมอบลงตามแบบหมอบ
4) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
5) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
6) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ
ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง

การคำนับ

ภาพ:Res10.gif
ในการคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก

การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด
ภาพ:Res11.gif
การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดังนี้
  • จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
ภาพ:Res12.gif
  • จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
ภาพ:Res13.gif
  • จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1
ภาพ:Res14.gif
ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ
5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม
ภาพ:Res15.gif
5.3 การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร
ภาพ:Res17.gif
หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ
แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง
แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม
ภาพ:Res18.gifภาพ:Res19.gifภาพ:Res24.gif

6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป

6.1 การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา
การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง
ภาพ:Res20.gif
การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
ในกรณีที่ศพได้รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ
6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี
ภาพ:Res21.gif
ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้
ภาพ:Res22.gifภาพ:Res23.gif
ภาพ:Res24.gif
6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย
6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น ๆ

การรับความเคารพ

ภาพ:Res25.gif
เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี
สาเหตุเเละเหตุการณ์ที่คนต้องไหว้
1. ไหว้เพราะความเลื่อมใส
2. ไหว้เพราะความกลัว
3. ไหว้เพราะสำนึกผิด
4. ไหว้เพราะสำนึกคุณ หรือแสดงวัฒนธรรม
สรุป ผลของการไหว้แล้ว จะได้เป็น 3 ประการคือ
1.ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ
2.ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้
3.ช่วยให้ผู้ถูกไหว้พัฒนาตนเอง
ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ นั้น ก็ด้วยผู้ไหว้สำนึกตนว่าได้ประกอบกรรมดี ประพฤติดีงาม ทำให้เกิดความสบายใจอิ่มเอมใจ ส่วนผู้ที่ ได้รับเมตตา นั้น ก็หมายถึงได้รับการตอบสนองด้วย ความรู้สึกที่ดีมีค่า ความเมตตาเป็นความรู้สึกทางคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขโดยทางเดียว ไม่เจือด้วยทุกข์โทษแต่อย่างใดเลย เมื่อเราไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเราโดยการแสดงตอบแทน เช่น บาลีว่า ปูชโก ลภเต ปูชํ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ วนฺ ทโก ปฏิวนฺ ทนํ ผู้ไหว้ก็ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ตามกฏแห่งเหตุผล

ข้อควรระวังในการไหว้

ข้อสำคัญที่ควรคำนึงสังวรระวังก็มีว่า อย่าไหว้ อย่าแสดงการบูชา สักแต่ว่าเป็นพิธี เป็นกิริยาเฉพาะช่วงที่ทำพิธีเท่านั้น ควรจะให้การไหว้ออกจากน้ำใจอันแท้จริง ในหลักธรรมตามมงคลสูตร อนุโลมเข้ากับการไหว้ได้แก่ การยกย่องเทิดทูนคุณความดี เรียกว่า บูชา การตระหนักถึงความสำคัญของท่าน เรียกว่า คารวะ การระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู เหล่านี้ล้วนเป็นแต่แรงบันดาลให้มีการไหว้ทั้งนั้น

การรับไหว้

เมื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้ คือเคารพตอบเพื่อมิไห้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้องกระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้ วิธีรับไหว้ ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอก แล้วยกขึ้นให้สูงมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้ และของผู้รับไหว้


ที่มา :: -www.banfun.com
ที่มา :: http://www.panyathai.or.th/

1 ความคิดเห็น:

พ่อใหญ่ครูเส กล่าวว่า...

การแสดงความเคารพศพที่ถูกต้อง



การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธรูปเสียก่อน แล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วนการจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูกหลานหรือศิษยานุศิษย์หรือผู้เคารพนับถือที่ประสงค์จะบูชา

การเคารพศพพระ ถ้าเจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูป ให้จุด ๓ ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง

การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ ๑ ครั้ง(ไม่แบมือ) แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ ๓ (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป-ก้มหัวพนมมือ) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นมีเพียงยืนสงบหรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง

ในกรณีที่ศพได้รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูปเทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อแสดงว่าวายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพศพส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบหรือคำนับ






.

แสดงความคิดเห็น