วันอาสาฬหบูชา 15 ค่ำ เดือน 8 ประวัติวันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ความสำคัญวันอาสาฬหบูชา
อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้นคำว่า “อาสาฬหบูชา” จึงหมายถึง การบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในศาสนาพุทธ 3 ประการคือ
- เป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก มีการแสดงพระปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นสัจธรรมที่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงตรัสรู้
- เป็นวันที่เกิดประรัตนไตรครบ 3 องค์ คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ
- เป็นวันที่พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากฟังปฐมเทศนาจบ
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถือเป็น เทศนากัณฑ์แรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โดยมี 5 ท่านคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ เป็นนักบวชที่ออกบวช เพื่อติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งโกณฑัญญะ เป็นคนแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
ประวัติวันอาสาฬหบูชา
การบูชาในเดือน 8 เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2501 คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน ให้เวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมเทศนา ส่วนเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา
เทียนเข้าพรรษา
เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน
เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
ข้อพึงปฏิบัติสำหรับชาวพุทธ
ตักบาตร
กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในช่วงเช้า คือการตักบาตรใหญ่ อาจจัดขึ้นที่วัดและตามพื้นที่ราชการ โดยมีพระสงค์จำนวนมากเข้าร่วมพิธี
ทำบุญ
พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญในวันอาสาฬหบูชาตลอดทั้งวัน โดยสามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ การถวายสังฆทาน การปล่อยนกปล่อยปลา รวมไปถึงการถือศีล 5 หรือศีล 8 และการฟังเทศน์ที่วัดในช่วงตอนเย็น
เวียนเทียน
การเวียนเทียนนั้นจะเรียกว่าการเวียนเทียนเข้าพรรษา จัดขึ้นในตอนหัวค่ำ เพื่อแสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
งดเหล้าเข้าพรรษา
การรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษานั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ถือเป็นค่านิยมในประเทศไทย เพราะการงดดื่มสุราในช่วงเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษานี้ ถือเป็นการปฏิบัติเพื่อบูชาศาสนา รวมไปถึงการใช้เป็นข้ออ้างทางสังคมเพื่อหลีกหนีจากสุรา
เหตุผลในการงดเหล้าเข้าพรรษา
- เพื่อสุขภาพของตัวเอง
- เพื่อลดค่าใช้จ่ายในสิ่งมึนเมา
- เพื่อลดความเสี่ยง และไม่สร้างบัญหาให้สังคม
- เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และทำนุบำรุงศาสนา
สถานที่ทำบุญวันอาสาฬหบูชายอดนิยม
1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
วัดสำคัญของไทยและเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 วัดโพธิ์ได้ถูกขึ้นทะเบียนจารึก เป็นมรดกความทรงจำโลก โดยยูเนสโก วัดโพธิ์ถือเป็นวัดที่มีพระเจดีย์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยสัญลักษณ์เด่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีก็คือ “ยักวัดโพธิ์” ตั้งอยู่ที่ทางเข้าพระมณฑป มีสีแดงและสีเขียว
2. วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดอรุณ)
วัดแจ้งหรือวัดอรุณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ถือเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งที่เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ยักษ์วัดแจ้งจะยืนเฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ การไหว้พระที่วัดอรุณในช่วงวันสำคัญทางศาสนาอย่างวันอาสาฬหบูชา คนไทยถือว่าเป็นมงคลชีวิต มักมีคนไทยหลายๆคน มาทำบุญวันเกิดที่วัดแห่งนี้
3. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
วัดในพระบรมหาราชวัง สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 วัดพระแก้วขึ้นชื่อว่าเป็นวัดสำคัญ เป็นหน้าตาของบ้านเมือง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระลาน พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
เพลง วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา คืออะไร
#เพลงวันอาสาฬหบูชา #เพลงอาสาฬหบูชา #วันอาสาฬหบูชา #อาสาฬหบูชา #ประวัติวันอาสาฬหบูชา #ความสําคัญของวันอาสาฬหบูชา #ธัมมจักกัปปวัตนสูตร #วันเข้าพรรษา
ที่มา :: sanook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น