*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การไหว้

การไหว้
ภาพ:Dee1.jpg
การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี"แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ"การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ

ลักษณะการเเสดงความเคารพด้วยการไหว้


การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ

ภาพ:Dee2.jpg

การประนมมือ


การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น

ไหว้


ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้
  • ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ภาพ:Res1.gif
ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
  • ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว

ภาพ:Res2.gif
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
  • ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
ภาพ:Res3.gif
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ภาพ:Res4.gif
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม

การกราบ

การกราบ(อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่
3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
ภาพ:Res5.gif

ท่าเตรียมกราบ

  • ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
  • หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
  • จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
ภาพ:Res6.gif

  • จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
ภาพ:Res7.gif

  • จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
ภาพ:Res8.gif
  • ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
  • หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
ภาพ:Res9.gif
3.3 การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
1) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกันประนมมือเพียงระหว่างอก
2) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
3) หมอบลงตามแบบหมอบ
4) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
5) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
6) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ
ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ สามครั้ง

การคำนับ

ภาพ:Res10.gif
ในการคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก

การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์

5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด
ภาพ:Res11.gif
การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดังนี้
  • จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
ภาพ:Res12.gif
  • จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
ภาพ:Res13.gif
  • จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1
ภาพ:Res14.gif
ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ
5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม
ภาพ:Res15.gif
5.3 การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร
ภาพ:Res17.gif
หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ
แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง
แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม
ภาพ:Res18.gifภาพ:Res19.gifภาพ:Res24.gif

6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป

6.1 การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา
การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง
ภาพ:Res20.gif
การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
ในกรณีที่ศพได้รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ
6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี
ภาพ:Res21.gif
ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้
ภาพ:Res22.gifภาพ:Res23.gif
ภาพ:Res24.gif
6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ณ ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย
6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น ๆ

การรับความเคารพ

ภาพ:Res25.gif
เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี
สาเหตุเเละเหตุการณ์ที่คนต้องไหว้
1. ไหว้เพราะความเลื่อมใส
2. ไหว้เพราะความกลัว
3. ไหว้เพราะสำนึกผิด
4. ไหว้เพราะสำนึกคุณ หรือแสดงวัฒนธรรม
สรุป ผลของการไหว้แล้ว จะได้เป็น 3 ประการคือ
1.ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ
2.ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้
3.ช่วยให้ผู้ถูกไหว้พัฒนาตนเอง
ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ นั้น ก็ด้วยผู้ไหว้สำนึกตนว่าได้ประกอบกรรมดี ประพฤติดีงาม ทำให้เกิดความสบายใจอิ่มเอมใจ ส่วนผู้ที่ ได้รับเมตตา นั้น ก็หมายถึงได้รับการตอบสนองด้วย ความรู้สึกที่ดีมีค่า ความเมตตาเป็นความรู้สึกทางคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขโดยทางเดียว ไม่เจือด้วยทุกข์โทษแต่อย่างใดเลย เมื่อเราไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเราโดยการแสดงตอบแทน เช่น บาลีว่า ปูชโก ลภเต ปูชํ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ วนฺ ทโก ปฏิวนฺ ทนํ ผู้ไหว้ก็ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ตามกฏแห่งเหตุผล

ข้อควรระวังในการไหว้

ข้อสำคัญที่ควรคำนึงสังวรระวังก็มีว่า อย่าไหว้ อย่าแสดงการบูชา สักแต่ว่าเป็นพิธี เป็นกิริยาเฉพาะช่วงที่ทำพิธีเท่านั้น ควรจะให้การไหว้ออกจากน้ำใจอันแท้จริง ในหลักธรรมตามมงคลสูตร อนุโลมเข้ากับการไหว้ได้แก่ การยกย่องเทิดทูนคุณความดี เรียกว่า บูชา การตระหนักถึงความสำคัญของท่าน เรียกว่า คารวะ การระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู เหล่านี้ล้วนเป็นแต่แรงบันดาลให้มีการไหว้ทั้งนั้น

การรับไหว้

เมื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้ คือเคารพตอบเพื่อมิไห้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้องกระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้ วิธีรับไหว้ ยกมือทั้งสองประนมไว้ระดับอก แล้วยกขึ้นให้สูงมากหรือน้อยตามฐานะของผู้ไหว้ และของผู้รับไหว้


ที่มา :: -www.banfun.com
ที่มา :: http://www.panyathai.or.th/

พิธีศพ

พิธีศพ
ภาพ:Funeral.jpg
พิธีศพ


ประเพณีเกี่ยวกับศพ มักจะผิดแผกแตกต่างกันไปตามความนิยมของบุคคลในท้องถิ่นนั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่คงลักษณะการประกอบพิธีไว้เป็นแนวเดียวกัน จะนำมากล่าวพอเป็นแนวทางปฏิบัติเฉพาะบางตอน ที่อนุศาสนาจารย์ปฏิบัติช่วยเหลืออยู่เป็นประจำเท่านั้น

การตั้งศพ


เมื่อตั้งศพและจัดดอกไม้ธูปเทียนประดับเรียบร้อยแล้ว ให้ตามไฟ (ตะเกียงมีโคมหรี่ไว้ปลายเท้า ๑ คู่) ในพิธีทางราชการ เมื่ออาบน้ำศพและนำศพขึ้นตั้งเรียบร้อยแล้ว จะนิมนต์พระ ๑๐ รูป หรือ ๒๐ รูป สดับปกรณ์ (บังสุกุล) จบแล้วถวายไทยธรรมพระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ำ ก็เป็นเสร็จพิธี แต่ศพชาวบ้านทั่วไป ปัจจุบันนิยมนิมนต์พระสงฆ์มา ๑๐ รูป หรือหลายรูปก็แล้วแต่ศรัทธาของเจ้าภาพ เมื่อพระมาถึงแล้ว ทอดผ้าบังสุกุลบนหีบศพ หรือบนที่ที่เตรียมไว้ นิมนต์พระชักผ้าบังสุกุล (จะเป็นผ้าไตร, จีวร, สบง, ผ้าเช็ดตัว, ผ้าเช็ดหน้า ก็ได้) เมื่อพระชักผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เป็นอันเสร็จพิธีในตอนนี้

การสวดพระอภิธรรม


การสวดพระอภิธรรม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า สวดหน้าศพ นิยมสวดในเวลากลางคืน จัดที่พระสวดไว้หนึ่งต่างหาก จำนวนพระสวด ๔ รูป สถานที่ตั้งตู้พระอภิธรรม ๑ ตู้, แจกัน ๑ คู่, เชิงเทียน ๑ คู่, กระถางธูป ๑ ที่, อาสนะสำหรับพระนั่ง ๔ ที่ หมากพลู, น้ำร้อน น้ำชาถวายพระพร้อมความมุ่งหมายก็เพื่อให้เจ้าภาพได้มีโอกาสฟังธรรม และสนทนาธรรมตามควร จะสวด ๓ คืน ๗ คืน หรือทุก ๗ วัน จนถึงวันเผาก็ได้ เมื่อพระสวดประจำคืนเสร็จแล้ว จะนิมนต์ฉันภัตตาหารเช้าก็ได้ สุดแต่จะสะดวก

ลำดับพิธีในการสวดพระอภิธรรม

  • ได้เวลานิมนต์พระประจำที่
  • เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย จุดเทียนธูป ณ ที่พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม
  • เสร็จแล้วจุดธูปเคารพศพหน้าหีปศพ แล้วกลับมานั่ง
  • พิธีกร อาราธนาศีล รับศีลจบแล้วพิธีกร อาราธนาธรรม พระสงฆ์ก็เริ่มสวดพระอภิธรรมต่อไป
  • เมื่อถึงเวลาเลิกสวดประจำคืน พระสวดพระอภิธรรมจบสุดท้ายแล้ว
 
พิธีกร อ่านรายชือผู้ถวายถวายไทยธรรม 
 
  • เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล (ถ้ามี)
  • พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล
  • พระสงฆ์อนุโมทนา
  • เจ้าภาพกรวดน้ำ พระสงฆ์เดินทางกลับ
  • เสร็จพิธี
  • เสร็จแล้วจุดเทียนธูปบูชาหน้าศพ แล้วกลับมานั่ง

การทำบุญ ๗ วัน


เมื่อเก็บศพไว้ครบ ๗ วัน เช่น ตายในวันศุกร์ พอถึงวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ต่อมา ก็นิมนต์พระ ๗ รูป (พิธีทางราชการ ๑๐ รูป) มาสวดพระพุทธมนต์เย็น ถวายอาหารบิณฑบาตเช้าในวันรุ่งขึ้น แล้วจะมีสดับปกรณ์ (สวดมาติกาบังสุกุล) แสดงพระธรรมเทศนาต่อก็ได้ หรือทำในตอนเช้าหรือตอนเพล โดยไม่ต้องสวดมนต์เย็นก็ได้

ลำดับพิธีทำบุญ ๗ วัน



(ทำบุญตอนเพล)

ทำบุญ ๗ วัน ถ้าทำวันเดียว ตายวันศุกร์ ให้ทำวันศุกร์สัปดาห์ต่อไป

๑๐.๐๐ น. - พระสงฆ์ประจำอาสนะ
  • เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย แล้วไปจุดเทียนธูปหน้าศพ และกลับมานั่งที่เดิม
  • อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร แล้วฟังพระสวดพร้อมกัน (ถ้ามีพิธีเทศน์ติดต่อกันไป)
  • อาราธนาพระปริตรต่อทันที ส่วนศีลนั้นอาราธนาและรับศีลตอนมีเทศน์

๑๑.๐๐ น. - ถวายภัตตาหารเพลพระที่สวดพระพุทธมนต์

๑๒.๐๐ น. - พระฉันเสร็จ นำเครื่องไทยธรรมเทียบแล้ว เชิญเจ้าภาพถวาย
  • เก็บไทยธรรมแล้ว ชักผ้าภูษาโยง
  • เจ้าภาพทอดผ้าบังสุกุล (ถ้ามี)
  • พระชักผ้าบังสุกุลแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ
  • เจ้าภาพจุดเทียนธูปที่โต๊ะบูชาก่อน แล้วจุดเทียนประจำกัณฑ์เทศน์ (เทียนส่องดูหนังสือเทศน์)

๑๓.๓๐ น. - พระเทศน์ขึ้นธรรมาสน์

อาราธนาศีล อาราธนาธรรม

  • เมื่อพระเริ่มเทศน์ด้วยการบอกศักราชก่อน ระหว่างนี้เจ้าภาพจุดเทียนเครื่องห้า (เครื่องทองน้อย) องศพก่อนแล้ว จุดเครื่องห้าของเจ้าภาพ หรือจะจุดติดต่อจากจุดเทียนประจำกัณฑ์เทศน์ หรือจุดระหว่างอาราธนาธรรมก็ได้
  • พระสงฆ์แสดงธรรมจบ เจ้าภาพไปจุดเทียนธูป ณ ที่เบื้องหน้าพระสงฆ์สวดรับเทศน์ พระสงฆ์ ๔ รูป (ถ้ามี) สวดธรรมคาถาต่อจนจบ
  • เจ้าภาพถวายไทยธรรม เจ้าหน้าที่เก็บไทยธรรมแล้วชักผ้าภูษาโยง
  • พระสงฆ์ทอดผ้าบังสุกุล (ถ้ามี)
  • เจ้าภาพกรวดน้ำ พระสงฆ์อนุโมทนา แล้วเดินทางกลับ
  • เสร็จพิธี

การทำบุญ ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน


พิธีทำบุญ ๕๐ หรือ ๑๐๐ วัน ก็ทำเช่นเดียวกับพิธีทำบุญ ๗ วัน ดังที่กล่าวมาแล้ว

การบรรจุศพ


เมื่อเจ้าภาพได้บำเพ็ญกุศลครบ ๓ วัน ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วันแล้ว ยังไม่ทำฌาปนกิจ จะต้องเก็บไว้เพื่อรอญาติ รอโอกาสอันเหมาะสม ก็นิยมเก็บศพไว้ที่บ้านหรือที่วัด ก็สุดแต่จะสะดวก ถ้าเก็บไว้ที่วัด ก็นิยมการบรรจุศพ พิธีบรรจุศพก็ไม่มีอะไรมาก เมื่อเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลครบ ๓, ๕, ๗, ๕๐, ๑๐๐ วัน หรือมากกว่านั้นแล้ว พอได้เวลา (ส่วนมากเวลา ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐) ก็นำศพไปยังสถานที่บรรจุนำหีบศพเข้าที่เก็บ แต่ยังไม่ปิดที่เก็บ เชิญแขกเข้าเคารพ โดยเจ้าภาพจัดหาดินเหนียวก้อนเล็ก ๆ ห่อกระดาษดำ และกระดาษขาวใส่ถาดไว้ เพื่อแจกแขกคนละก้อน จะมีดอกไม้ด้วยก็ได้ เมื่อแขกนำดินเหนียวและดอกไม้ไปวางเคารพศพแล้ว เจ้าภาพก็ทอดผ้าบังสุกุลปากหีบศพ และนิมนต์พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุล (หรือทอดผ้าบังสุกุลก่อนเชิญแขกเข้าเคารพศพก็ได้) พระสงฆ์ชักผ้าบังสุกุลแล้วก็เก็บ เป็นอันเสร็จพิธี ผู้จัดการฌาปนสถานก็จัดการปิดที่เก็บหีบศพต่อไป

การฌาปนกิจศพ


การฌาปนกิจศพหรือการเผาศพ เมื่อถึงเวลาที่เจ้าภาพกำหนดแล้ว ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ฌาปนสถาน และออกบัตรเชิญ โดยกำหนดวันเวลาให้ผู้เคารพนับถือทราบทั่วกัน เมื่อชักศพขึ้นตั้งอย่างที่ทำคราวถึงแก่กรรมแล้ว จะมีพระสวดพระอภิธรรมก่อนฌาปนกิจสัก ๓ วัน ๗ วันอีกก็ได้ หรือจะทำเพียงวันเดียวก็ได้ แต่ทำกันอยู่ทั่ว ๆ ไปนิยมตั้งศพทำบุญในตอนเช้าวันฌาปนกิจแล้วเพื่อตัดภาระ

ลำดับพิธีฌาปนกิจศพ


๐๙.๐๐ น. - เชิญศพขึ้นตั้งบนศาลาบำเพ็ญกุศล ๑๐.๑๕ น. - นิมนต์พระสงฆ์ประจำที่อาสน์สงฆ์ ๑๐.๒๐ น. - เจ้าภาพจุดเทียนธูปพระรัตนตรัย ๑๐.๒๕ น. - อาราธนาพระปริตร ๑๐.๓๐ น. - พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๑๑.๐๐ น. - ถวายภัตตาหารเพล
  • ถวายเครื่องไทยธรรม
  • พระสงฆ์อนุโมทนา
๑๒.๐๐ น. - เลี้ยงอาหารกลางวันญาติมิตร และแขกที่มาในงาน ๑๔.๐๐ น. - นิมนต์พระเทศน์ขึ้นพักบนอาสน์สงฆ์ ๑๔.๐๕ น. - เจ้าภาพจุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย เทียนกัณฑ์เทศน์, เทียนธูปหน้าศพ
  • อาราธนาศีล, อาราธนาธรรม (เทศน์ธรรมดาหรือเทศน์แจงก็ได้)
๑๔.๑๐ น. - พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาจบแล้ว ถวายกัณฑ์เทศน์ ๑๕.๐๐ น. - นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป (หรือจำนวนตามแต่นิมนต์) ขึ้นอาสน์สงฆ์พร้อมกัน
  • มาติกาบังสุกลุ
๑๕.๓๐ น. - เคลื่อนศพเวียนเมรุ ๓ รอบ พระสงฆ์นำศพ ๑ รูป ๑๕.๔๕ น. - เชิญศพขึ้นสู่เมรุ ๑๖.๐๐ น. - แถวกองเกียรติยศเข้าที่พร้อมหน้าเมรุ (ถ้าเป็นศพที่ต้องจัดกองเกียรติยศ)
  • อ่านคำไว้อาลัย (ถ้ามี) (ท้ายคำไว้อาลัยมียืนไว้อาลัยศพที่มีกองเกียรติยศไม่ต้องเชิญยืนไว้อาลัย)
  • เจ้าภาพเชิญแขกผู้ใหญ่ทอดผ้าบังสุกุล โดยจัดลำดับจากผู้มีอาวุโสน้อยไปหาผู้มีอาวุโสขึ้นไปตามลำดับ
  • ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลหน้าศพ
  • ประธาน ฯ (กรณีพระราชทานเพลิงศพ ให้ถวายคำนับยังทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ฯ ในวันนั้น) วางกระทงดอกไม้ (เครื่องขมา)
  • เป่าแตรนอน ๑ จบ (กรณีจัดกองเกียรติยศ)
  • เจ้าหน้าที่เพลิงหลวงส่งธูปเทียน และดอกไม้จันทน์ให้ประธาน ฯ (ทำในเขตกรุงเทพ ฯ)
  • ประธาน ฯ ลงจากเมรุ
เจ้าภาพเชิญแขกขึ้นประชุมเพลิง
  • เสร็จพิธี


หมายเหตุ - ตามตัวอย่างนี้เป็นศพทหารซึ่งต้องมีกองเกียรติยศ ถ้าเป็นศพไม่มีกองเกียรติยศ ก็ต้องตัดรายการเกี่ยวกับกองเกียรติยศออก

  • ศพที่มีกองเกียรติยศ ไม่ต้องเชิญยืนไว้อาลัยหลังอ่านคำไว้อาลัย
  • รายการนี้สมมติขึ้นเต็มอัตรา ซึ่งยังย่อส่วนได้เพื่อการประหยัด เช่น ตัดพิธีสวดมนต์เลี้ยงพระตอนเช้าออกได้ คงเหลือพิธีเทศน์มาติกาบังสุกุลตอนบ่าย
  • และตัวอย่างนี้ตั้งศพทำบุญที่วัด ถ้าตั้งศพทำบุญที่บ้านก่อน แล้วเคลื่อนศพมาที่วัดในวันนั้น ก็เดินเวียนเมรุแล้วนำศพขึ้นเมรุต่อไป
  • เวลาเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
  • หากมีผ้าทอดจำนวนหลายผืน จะเชิญญาติและแขกผู้ใหญ่ทอดก่อนอ่านคำไว้อาลัยก็ได้ โดยเหลือไว้สำหรับประธาน ฯ ๑ ผืน หรือ ๑ ไตร

การเก็บอัฐิ


มื่อจัดการฌาปนกิจเสร็จแล้ว การเก็บอัฐิ บางรายในตอนเย็นวันเผาเลย ทั้งนั้น เพื่อจะฉลองเสร็จในคราวเดียวกัน โดยเก็บอัฐิในเวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. แล้วนำไปตั้งบำเพ็ญกุศลเช่นเดียวกับพิธีก่อนเผาในคืนวันนั้น เวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. นิมนต์พระสวดพระพุทธมนต์ รุ่งขึ้นถวายภัตตาหารเช้า แล้วนำอัฐิไปบรรจุหรือเก็บกลับบ้าน ก็เป็นเสร็จพิธี แต่ส่วนมากเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้น เช่นเดียวกับพิธีทางราชการ สำหรับชนบทบางที่ นิยมเก็บในวันที่ ๗ จากวันเผา แล้วนำไปบำเพ็ญกุศลดังกล่าวมา

การเดินสามหาบ



การเดินสามหาบ ก็คือ พิธีเก็บอัฐินั่นเอง แต่เป็นพิธีเก็บอัฐิแบบเต็มหรือแบบพิเศษ ซึ่งก็มีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งจะกล่าวต่อไป

รุ่งขึ้นเช้า เจ้าภาพไปเก็บอัฐิ เตรียมเครื่องบูชาและเครื่องสามหาบไปด้วย คือ เครื่องทองน้อย (ธูป ๑ เทียน ๑ ใส่เชิงเล็กและดอกไม้ทำเป็น ๓ พุ่ม) ๑ ที่, สุหร่าย (ขวดโปรยน้ำ) ใส่น้ำอบไทย ๑ ขวด พานใส่เงิน (เศษสตางค์) ๑ พาน และที่ที่จะใส่อัฐิ ของเหล่านี้วางไว้ตรงข้างศีรษะอัฐิ

เมื่อพร้อมกันแล้วก็ตั้งต้นเดินสามหาบ คือ มีของไปถวายพระ เลี้ยงพระ ๓ ชุด ชุดที่หนึ่งมีไตรครอง เป็นประเภทเครื่องนุ่งห่ม ชุดที่สองที่มีสำรับคาว ๑ หวาน ๑ เป็นเครื่องกิน ชุดที่สามมีหม้อข้าวเตาไฟเครื่องใช้ หรือจะจัดสามหาบอีกหนึ่งก็ได้คือ จัดให้มีหม้อข้าวเชิงกราน และพริก หอม กระเทียม ฯลฯ อยู่ในสาแหรกข้างหนึ่ง สาแหรกอีกข้างหนึ่งมีของคาวหวาน และเหมือนกันอย่างนี้ทั้งสามหาบ จัดให้บุตรหลานหรือเครือญาติ ๓ คน เป็นผู้หาบคนละหาบ

หรือสามหาบอีกแบบหนึ่ง จัดคนขึ้น ๙ คน แบ่งเข้าชุด ๓ คน ต่อ ๑ ชุด ชุดหนึ่ง ๆ มีดังนี้คือ ถือไตร ๑ คน, ถือจาน ช้อนซ่อม แก้วน้ำ ๑ คน, หาบสำรับคาวหวาน ๑ คน จัดอย่างนี้ทั้ง ๓ ชุด เดินเวียนเมรุคนละหรือชุดละ ๓ รอบ เวลาเดินให้กู่กันด้วยตามวิธีชาวป่า เรียกกันว่า "วู้ ๆ ๆ" คนและ ๓ ครั้ง แล้วจึงนำสามหาบขึ้นตั้งยังอาสน์สงฆ์

เมื่อเดินสามหาบแล้วก็ขึ้นไปเก็บอัฐิ จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยแล้ววางไตร ๓ ไตรบนผ้าคลุมอัฐินั้น แล้วนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นไปชักผ้าบังสุกุลนั้น จากนั้นจึงเปิดผ้าคลุมออกพรมน้ำอบ และเก็บอัฐิใส่ที่ที่เตรียมไว้ แล้ววางบนพาน ส่วนเถ้าถ่านคือ อังคารรวบรวมใส่ผ้าขาวที่รองนั้น รวบชายขึ้นห่อใส่ในที่ใส่อังคารที่เตรียมไป แล้วเชิญอัฐิและอังคารกลับลงมาตั้งที่ทำบุญ เลี้ยงพระสามหาบและบังสุกุล แล้วก็เป็นอันเสร็จงาน หรือถ้าไม่มี ๓ หาบ ก็เก็บอัฐิอังคารและบังสุกุล ณ ที่นั้น เป็นอันเสร็จพิธี ตอนที่ลงจากเมรุแล้วขึ้นบันไดบ้าน เมื่อถึงบ้านนั้น เจ้าภาพจะโปรยเศษสตางค์เป็นการให้ทานด้วย

แปรธาตุ


ประเพณีเกี่ยวกับการเก็บอัฐิมีอยู่ว่า เมื่อถึงเวลาเก็บอัฐิ จะเป็นในวันเผา หรือในวันรุ่งขึ้น หรือ ๓ วัน ๗ วัน หลังจากเผาเสร็จก็ตาม ครั้งแรกให้ทำกองกระดูกให้เป็นรูปคนนอนหงาย หันศีรษะไปทางทิศตะวันตก สมมติว่าตาย แล้วนิมนต์พระมาบังสุกุล ตอนนี้เรียกว่า "บังสุกุลตาย" จะมีผ้าทอดก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ พระสงฆ์จะพิจารณาว่า "อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปปาทวยธมฺมิโน อุปปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺ ติ เตสํ วูปสโม สุโข" เมื่อพระพิจารณาจบแล้ว ก็ให้ทำรูปอัฐินั้นใหม่ เป็นรูปคนหันศีรษะไปทางทิศตะวันออก สมมติว่าเกิด แล้วเจ้าภาพก็ใช้น้ำหอมประพรมโปรยด้วยดอกไม้และเงินทอง นิมนต์พระสงฆ์บังสุกุลอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้เรียกว่า "บังสุกุลเป็น" พระสงฆ์บังสุกุลว่า "อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นอรตฺถํ วกลิงฺครํ" แล้วทำการเก็บอัฐิ
เมื่อเก็บอัฐิตามต้องการแล้วอัฐิที่เหลือรวมทั้งเถ้าถ่านก็รวบรวมไปบรรจุ, ทิ้งแม่น้ำหรือฝังในที่เหมาะสมต่อไป

ทำบุญอัฐิ (ออกทุกข์)


เมื่อเก็บอัฐิเสร็จตอนเช้า และนำอัฐิไปถึงบ้านแล้ว จะทำบุญในวันนั้นทีเดียว หรือจะพัก ๓ วัน หรือ ๗ วัน จึงทำก็ได้ รายการมีสวดมนต์เลี้ยงพระสงฆ์ บังสุกุล เทศน์ มีตักบาตรน้ำมนต์ เดินสายสิญจน์ เพราะเป็นการทำบุญเรือนให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่ข้างหลัง ในการทำบุญอัฐิ (ออกทุกข์) เจ้าภาพแต่งกายสีต่าง ๆ จากสีขาว - ดำได้

หลักเกณฑ์การจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการ


การปฏิบัติของประธาน และผู้เข้าร่วมพิธี ในพิธีต่าง ๆ และระเบียบปฏิบัติราชการบางเรื่องที่ควรทราบ และถือปฏิบัติดังต่อไปนี้

โอกาสในการจัดกองทหารเกียรติยศ

  • สำหรับทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการนั้น ให้จัดกองทหารเกียรติยศเมื่อเวลาเผาหรือฝัง ตามลัทธิศาสนาของผู้เสียชีวิต แต่ให้งดจัดสำหรับศพทหาร ซึ่งเสียชีวิตเนื่องจากตนเองกระทำความผิด หรือประพฤติชั่ว


การจัดกำลังของกองทหารเกียรติยศ กรณีศพทหารเมื่อเวลาเผาหรือฝัง ให้จัดกำลังดังนี้
  • ศพทหารชั้นนายพันขึ้นไป ให้จัดกำลัง ๑ กองร้อย (๓ หมวด) ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว และแตรวง (ถ้ามี)
  • ศพทหารชั้นนายร้อย ให้จัดกำลังกึ่งกองร้อย (๒ หมวด) ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
  • ศพนายทหารชั้นประทวน และศพนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้เป็นนายทหารสัญญาบัตร ให้จัดกำลัง ๑ หมวด (๒ หมู่) ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว
  • ศพพลทหาร และศพนักเรียนทหาร ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้เป็นนายทหารประทวน ให้จัดกำลัง ๑ หมู่ (๑๐ คน) ถือปืนเล็กล้วน มีแตรเดี่ยว

กรณีการจัดกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหารนั้น ถ้ามีหลายศพในที่เดียวและเวลาเดียว ซึ่งจะต้องทำการเคารพศพพร้อมกัน ให้จัดกำลังตามอัตราของศพที่มียศสูง แต่เพียงรายเดียว นอกจากนั้นการจักกองทหารเกียรติยศสำหับศพทหาร ให้พยายามจัดทหารจากหน่วย หรือเหล่าเดียวกับผู้เสียชีวิต หรือจัดจากหน่วยที่ผู้เสียชีวิตเคยบังคับบัญชา หรือเคยประจำมาแต่ก่อน

การแต่งเครื่องแบบของกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหาร ให้แต่เครื่องแบบฝึกสวมถุงมือสำหรับนายทหารชั้นจ่านายสิบขึ้นไป ให้คาดกระบี่ โดยมีลายละเอียดของเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกับของทหารเกียรติยศ ในการต้อนรับ และส่งผู้บังคับบัญชาของทหาร ดังนี้
  • รองในหมวกเหล็กสีกากีแกมเขียว มีสายรักคางหนังสีขาว
  • เสื้อคอเปิดสีกากีแกมเขียว และผ้าพันคอสีน้ำเงินอ่อน ยกเว้นทหารซึ่งจัดเป็นกองทหารเกียรติยศ ที่สังกัด รร.จปร.ใช้ผ้าพันคอบานเย็น
  • กางเกงขายาวสีกากีแกมเขียวแบบฝึก
  • เข็มขัดหนังสีขาว หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีทอง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทางนอนปลายมน พื้นเกลี้ยงมีรูปเครื่องหมายกองทัพบก ดุนนูนอยู่กึ่งกลางหัวเข็มขัด
  • รองเท้าสูงครึ่งน่องหนังสีดำ ชนิดผูกเชือก
  • สายนกหวีดทำด้วยด้ายถักหรือไนล่อนถักสีขาว ลักษณะเป็นสายถัก ๔ สาย และสายเกลี้ยง ๑ สาย โดยสายถัก ๒ สาย เป็นบ่วงคล้องใต้แขนซ้าย ส่วนสายถัก ๒ สายทำเป็นบ่วงขนาดใหญ่ และเล็กห่างกันพองาม พาดต้นแขนซ้าย ปลายสายเกลี้ยงให้ติดตุ้มโลหะสีทอง ๑ ตุ้ม เมื่อใช้สายนกหวีดนี้ไม่ใช้สายยงยศอย่างอื่นอีก
  • ซองกระบี่ หรือซองดาบทำด้วยหนังสีขาว
  • ถุงมือสีขาว
  • สายสะพายปืนทำด้วยหนังสีขาว
  • สำหรับกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหาร ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ด้วย


การปฏิบัติของกองทหารเกียรติยศสำหรับศพทหารในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฝังศพทหาร

การแสดงความเคารพของกองทหารเกียรติยศ
กองทหารเกียรติยศซึ่งจัดไปเคารพศพ ให้แสดงการเคารพศพในเวลาเผา หรือฝังโดยให้แตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน ๑ จบ แล้วให้หน่วยทหารเคารพศพกระทำวันทยาวุธ แตรวงหรือแตรเดี่ยวบรรเลงเพลงเคารพ เมื่อจบแล้วทำเรียบอาวุธ คงอยู่ในท่าตรง ถ้ามีแตรวงให้บรรเลงเพลงโศก ๑ จบ จึงเสร็จการปฏิบัติ


การปฏิบัติของกองทหารเกียรติยศ และผู้ที่ได้รับเชิญให้เป็นประธานในงานพระราชทานเพลิงศพทหาร

ผบ.กองทหารเกียรติยศ นำกองทหารเกียรติยศเข้าประจำที่แล้วสั่งแถวเรียบอาวุธ และให้กองทหารเกียรติยศหันเข้าหาศพ เสร็จแล้ว ผบ.กองทหารเกียรติยศสั่งติดดาบและยืนรอเวลาจนกว่าพิธีกรอ่านประกาศเกียรติคุณ (ประวัติโดยย่อ) ของผู้ที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพเจ้าภาพจะเชิญผู้บังคับบัญชา หรือผู้เป็นประธานในพิธีของงานพระราชทานเพลิงศพให้ขึ้นเมรุ เพื่อจะทอดผ้ามหาบังสุกุลเมื่อประธานในพิธี ฯ ได้ทอดผ้ามหาบังสุกุล และลงจากเมรุแล้วประธานในพิธีฯ ต้องหันหน้าไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ ถวายคำนับแล้วรับเครื่องขมาศพ (กระทงข้าวตอก และกระทงดอกไม้) จากพนักงานพระราชพิธีของสำนักพระราชวัง ไปวางที่ฐานฟืนหน้าหีบศพ ขณะที่ประธานฯ วางกระทงข้าวตอก ดอกไม้ ผบ.กองทหารเกียรติยศจะสั่งให้กองทหารเกียรติยศจะสั่งให้กองทหารเกียรติยศแถวตรง แตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน ๑ จบ จบแล้วประธานฯ หยิบธูปเทียน ตอกไม้จันทน์ จุดเพลิงพระราชทานจากโคมไฟที่เจ้าพนักงานพระราชทานถือเชิญไปสอดวางลงในใต้พื้นรองศพ ผบ.กองทหารเกียรติยศ จะสั่งให้กองทหารเกียรติยศแสดงความเคารพ โดยใช้คำบอกว่า “ตรงหน้า ระวัง วันทยาวุธ” แตรเดี่ยวเป่าเพลงเคารพ ๑ จบ ประธานในพิธีฯ คำนับศพ ๑ ครั้ง แล้วหันหน้าไปทางทิศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ ถวายคำนับ ๑ ครั้ง แล้วเดินลงจากเมรุ จากนั้นผบ.กองทหารเกียรติยศ จะสั่งเรียบอาวุธ ปลดดาบ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงโศก ๑ จบ และสั่งให้กองทหารเกียรติยศทำซ้ายหรือขวาหันแบกอาวุธ แล้วเดินออกจากพื้นที่ จึงเสร็จการปฏิบัติ


การปฏิบัติของกองทหารเกียรติยศและผู้ที่ได้รับเชิญให้ประธานในงานเผาศพทหาร

การปฏิบัติของกองทหารเกียรติยศ ในงานเผาศพทหาร จะมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการปฏิบัติในงานพระราชทานเพลิงยศทหาร ในข้อ ๔.๒ ทั้งในส่วนของประธานและของกองทหารเกียรติยศ ยกเว้น ประธานในพิธีของงานไม่ต้องถวายคำนับ และรับเครื่องขอขมาศพจากพนักงานพระราชพิธีของสำนักพระราชวังไปวางที่ฐานพื้นหน้าหีบศพ
นอกจากทหารซึ่งเสียชีวิตในขณะประจำการ หรือในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการจะได้รับการจัดกองทหารเกียรติยศ สำหรับศพทหารในเวลาเผาศพหรือฝังศพแล้ว เมื่อเวลาประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลทางศาสนา กห. ยังได้จัดให้มียามเกียรติยศศพทหารแก่ทหาร ซึ่งเสียชีวิติในการรบ หรือเนื่องจากการรบ หรือซึ่งเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการในกรณีอื่น ซึ่งทางราชการพิจารณาเห็นว่า เป็นผู้ประกอบคุณงามความดี สมควรยกย่องเชิดชูเกียรตินั้น โดยจัดให้มียามคู่ ๑ คู่ หรือ ๒ คู่ ยืนเป็นผลัดประจำตลอดเวลาที่บำเพ็ญกุศล และให้เริ่มก่อนพิธีประมาณ ๓๐ นาที และเลิกเมือการบำเพ็ญกุศลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ตายที่ได้เสียสละอย่างสูง และให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบด้วย
การแต่งกายของยามเกียรติยศศพทหารนี้ ให้แต่งกายด้วยเครื่องแบบฝึก สวมรองในหมวกเหล็ก ถืออาวุธประจำกายในท่าสำรวม และแสดงความอาลัยโดยตั้งพานท้ายปืนขึ้นข้างบน มือทั้งสองประสานวางบนพานท้ายปืน ก้มหน้ามองพื้นในทิศทางตรงหน้า หันหน้าไปยังทางที่ตั้งศพ
อนึ่ง ทหารที่เสียชีวิตเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และการเสียชีวิตนั้นมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง หรือเกิดจากความผิดของตนเองแล้ว ยังได้รับเกียรติให้ใช้ธงชาติคลุมหีบศพ เมื่อจะเชิญศพไปทำพิธีพระราชทานน้ำอาบศพ หรือพิธีรดน้ำศพ หรือในระหว่างการทำพิธีบำเพ็ญกุศลทางศาสนาของแต่ละศาสนา และการเชิญศพไปฝังอีกด้วย และการใช้ธงชาติคลุมศพและหีบศพให้ปฏิบัติดังนี้
การคลุมศพ คลุมศพตามความยาวของศพ ให้ขอบธงชาติด้านคันธงชาติอยู่ทางศีรษะของศพ การคลุมหีบศพ คลุมทางด้านขวางของหีบศพให้ชายธงชาติเสมอกับของล่างของหีบศพทั้งสองข้าง

ระเบียบงานศพ


ตั้งแต่โบราณกาลมา พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชาคณะ ข้าราชการ เมื่อสิ้นพระชนม์ มรณภาพ หรือถึงแก่กรรม จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศศพ เช่น โกศ หีบ เป็นต้น เมื่อถึงเวลาที่จะทำการเป็นฌาปนกิจศพ ก็พระราชทานดอกไม้ธูปเทียน และไฟหลวงไปเผาศพผู้ที่จะได้รับพระราชมานเกียรติยศ ในปัจจุบันนี้ได้วางระเบียบไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับพระราชทานน้ำอาบศพ เครื่องประกอบเกียรติยศศพ และพระราชทานเพลิงศพมีดังนี้
ผู้ถึงแก่กรรมมีสิทธิขอรับพระราชทานน้ำอาบศพ เครื่องประกอบเกียรติยศศพ และขอพระราชทานเพลิงศพ คือ
  • พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ตั้งแต่พระครูสัญญาบัตรขึ้นไป
  • พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
  • ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์รองเสวกตรี หรือรองอำมาตย์ตรีขึ้นไป
  • ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นตรีขึ้นไป
  • ข้าราชการฝ่ายทหาร และตำรวจชั้นร้อยตรี ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
  • สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนที่ได้รับพระราชทานยศ ตั้งแต่ชั้นนายหมวดขึ้นไป
  • ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย หรือตติยานุจุลจอมเกล้า หรือจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป
  • ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
  • พนักงานเทศบาลตรีขึ้นไป
  • สมาชิสภาผู้แทนราษฎร สามาชิกวุฒิสภา สามาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
  • รัฐมนตรีที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
  • ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เป็นกรณีพิเศษ
ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามาชิกวุฒิสภา สามาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือรัฐมนตรี เมื่อถึงแก่กรรม เมื่อพ้นตำแหน่งแล้ว หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ก็ขอพระราชทานเครื่องประกอบเกียรติยศศพได้
  • ในการที่จะขอพระราชทานเครื่องเกียรติยศศพได้ ผู้ถึงแก่กรรมจะต้องถึงแก่กรรมโดยไม่ใช่อัตวิบาตกรรม
  • ผู้จะขอพระราชทานน้ำอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศศพ จะได้รับพระราชทานเมื่อการศพนั้นจัดในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • ผู้ที่ประสงค์จะขอพระราชทานน้ำอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศ จะต้องปฏิบัติดังนี้
  • นำดอกไม้ธูปเทียนพร้อมทั้งหนังสือกราบถวายบังคมลาไปยังสำนักพระราชวัง พร้อมทั้งในมรณบัตร ซึ่งสำนักงานพระราชวังได้จัดที่ประดิษฐานพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ไว้ (ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ราชาศัพย์ " พระบรมฉายาลักษณ์" หรือ "พระบรมสาทิสลักษณ์" ก็ได้) ดอกไม้ธูปเทียนที่ใช้มนการนี้ ประกอบด้วยธูปไม้ระกำ ๑ ดอก, เทียนขี้ผึ้ง ๑ เล่ม, ดอกไม้ ๑ กระทง, วางบนพาน และมีคำกราบบังคมทูลตามแบบต่อไปนี้

วันที่.......................... เดือน....................................... พ.ศ. ........................................ ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า............................ (ชื่อผู้ถึงแก่กรรม)......................................... ราชอิสริยาภรณ์................................. อายุ....................... ปี ข้าราชการ....................................... ชั้น.................................... สังกัด.......................... ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลา....................................................... ด้วยโรค............................................... ที่อำเภอ......................... จังหวัด....................................... เมื่อวันที่.................... เดือน....................................... พ.ศ............................ เวลา...........................

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ขอเดชะ

หนังสือข้างตนนี้ไม่ต้องลงนาม ผู้นำไป นำขึ้นวางบนพานเบื้องหน้าพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พร้อมกับดอกไม้ธูปเทียนแล้วถวายความเคารพ เสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะสอบถามรายการต่าง ๆ และกรอกลงในแบบพิมพ์ ในการถึงแก่กรรมนี้ จะไม่ขอพระราชทานน้ำอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศศพ จะขอพระราชทานในตอนฌาปนกิจศพก็ได้ถ้าจะตั้งศพที่วัด การติดต่อวันและการติดต่อเทศบาล เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพดำเนินการเอง
ในการขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติยศศพนั้น เข้าใจกันว่า จะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด คำว่า "พระราชทาน" ก็เป็นที่ควรเข้าใจแล้วว่าย่อมไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ค่าใช้จ่ายส่วนที่เจ้าภาพจะต้องจ่าย ก็เป็นส่วนนอกออกไปจากที่ได้รับพระราชทาน เช่น ค่าซื้อหีบลองใน ค่าผ้าขาวด้ายดิบ ค่าตั้งศพที่วัด ส่วนเครื่องประกอบเกียรติยศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังที่ไปปฏิบัติพิธีนั้น เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้จะเก็บศพไว้นานวัน ถ้าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขอรับหีบ หรือโกศลองนอกไปประกอบศพอื่นดังกล่าวข้างต้นแล้ว สำหรับพระราชวังก็ไม่มาถอนหีบหรือโกศลองนอกออกไป และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหีบโกศแต่ประการใดเลย
เมื่อไปกราบถวายบังคมลา และแจ้งรายการเจ้าหน้าที่แล้ว เจ้าภาพก็นำศพไปยังที่อาบน้ำ เมื่อนำศพไปไว้บนเตียงอาบน้ำแล้ว ก็เปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสงค์จะอาบน้ำศพเข้าอาบได้ จนถึงเวลาที่จะพระราชทานน้ำหลวง ซึ่งเป็นสุดท้าย ต่อจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะได้ทำสุกำศพใกล้เวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังก็เชิญน้ำพระราชทานไป ซึ่งประกอบด้วยน้ำ น้ำหอม และน้ำขมิ้น
เมื่อถึงเวลาจะรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เจ้าภาพก็เชิญผู้มีอาวุโส ซึ่งอยู่ในขณะนั้น หรือผู้ที่เจ้าภาพกำหนดตัวไว้เข้าไปพระราชทานน้ำ เป็นที่นิยมกันว่า ก่อนที่ผู้เป็นประธาน จะอาบน้ำศพ ให้บ่ายหน้าไปทางทิศ ซึ่งเป็นที่ประทับแรม ถวายคำนับ แล้วจึงปฏิบัติการต่อไป เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะส่งสิ่งของให้ตามลำดับ คือ น้ำ น้ำหอม น้ำขมิ้น ผู้เป็นประธาน รดน้ำนั้นที่ศพโดยเริ่มจากบ่าขวาเฉียงลงมาตามอก ไม่ต้องรดจนหมดก็ได้ เมื่อรดน้ำขมิ้นแล้วให้บ่ายหน้าไปถวายคำนับอีกครั้ง เจ้าหน้าที่จะวางศพลงในท่านอนตามเดิม ต่อจากนั้น ทายาทผู้ถึงแก่กรรมก็เข้าไปหวีผมให้ศพ การหวีผมตามประเพณีก็หวีลงแล้วหวีขึ้น แต่จะหวีอย่างธรรมดาก็ได้ ต่อจากนั้น เจ้าหน้าที่จะสุกำศพ
เมื่อทำกุกำศพเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะยกหีบศพหรือโกศขึ้นตั้งผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้น ควรยืนแสดงการเคารพ แล้วตั้งแต่เครื่องประดับ และเครื่องประกอบเกียรติยศศพ
ที่ตั้งนั้นไม่ควรจัดดอกไม้วางไว้บนฝาหีบศพ และไม่ควรจัดดอกไม้ประดับที่หีบศพ เพราะเป็นหีบเกียรติยศอยู่แล้ว ที่หน้าศพไม่ต้องตั้งชั้นลดหรือวางหมอนสำหรับกราบศพ (รวมทั้งไม่ตั้งชั้นลดหน้าโต๊ะพระพุทธรูปด้วย) ถ้าจะจัดเป็นที่กราบก็ควรปูพรมเล็ก ๆ ไว้บนพรมใหญ่อีกชั้นหนึ่ง และไม่ต้องตั้งกระถางธูปสำหรับผู้ไปเคารพศพปักธูป หากศพนั้นเป็นศพเกียรติยศ ก็จะสวดพระอภิธรรมเสียจบหนึ่งก่อน แล้วจึงบังสุกุล หรือสดับปกรณ์ส่วนของเจ้าภาพ


การสวดพระอภิธรรม

ศพที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ประถมาภรณ์ช้าางเผือกขึ้นไป นอกจากเครื่องประกอบเกียรติยศศพดังได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังทรงพระกรุราโปรดเกล้า ฯ ให้มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมด้วย จะพระราชทานให้มีสวดกี่คืน สุดแล้วแต่ระดับเกียรติยศศพของผู้ถึงแก่กรรม
พระที่จะสวดพระอภิธรรมมี ๔ รูป การที่กำหนด ๔ รูปนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดของพระสงฆ์ พระภิกษุ ๔ รูป จึงจะเป็นสงฆ์ โดยที่เป็นธรรมเนียมนิมนต์พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม จะต้องเป็น ๔ รูป งานต่าง ๆ จึงไม่นิยมนิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูป ความจริงไม่ใช่ข้อห้าม หรือกฎเกณฑ์อะไร งานใด ๆ จะนิมนต์พระเพียง ๔ รูป ก็ได้ที่นิยมนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูปขึ้นไป ก็เป็นเพียงการเสี่ยงไม่ให้เหมือนสวดพระอภิธรรมศพเท่านั้น
การสวดพระอภิธรรม แต่ก่อนนี้ มีถวายภัตตาหารเช้าวันรุ้งขึ้นด้วย แต่ปัจจุบันนี้ไม่มีถวายภัตตาหาร คงถวายปัจจัยแทน ศพที่ได้รับพระราชทานพระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม ก็ได้รับพระราชทานเงินสำหรับถวายด้วย พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จะจัดเครื่องใช้สักการะสำหรับเจ้าภาพจุดบูชาพระ ทำการสวดพระอภิธรรมด้วย ทั้งนี้เป็นการพระราชทาน เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น










ที่มา :: จากหนังสือพุทธศาสตร์ "ศาสนพิธี" ปีที่ ๔๓ อันดับที่ ๑/๒๕๔๓
ที่มา :: กรมเสมียนตรา สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
 
 
 
 
 
.

พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตาย

พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตาย
พิธีทำบุญต่ออายุ
การชักบังสกุลเป็น
ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น
ชีวิตของมนุษย์เรามีความเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวันตายคราวนี้ เป็นเรื่องราวรายละเอียดประเพณี พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายและการทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ

การ เกิด แต่ เจ็บ ตายเป็นสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดมาสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกรูปนามโดยเท่าเทียมกันดังมีคำกล่าวที่ว่า"มรณัง อนตีโต"คือเราจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
ธรรมชาติของน้ำ คือ ความเหลว ธรรมชาติของคน คือความตาย
แม้ว่าความตายจะเป็นสิ่งที่มนุษย์เกรงกันมาก แต่ก็ไม่เคยมีใครหลีกหนีพ้นได้มีผู้คนเป็นจำนวนมากพยายามคิดค้นหาตัวยา หรือหนทางที่จะให้มีชีวิตอยู่อมตะแต่ยังไม่เคยมีใครประสบผลสำเร็จฉะนั้นเมื่อมนุษย์ทุกคนมีความตายเป็นของคู่กับการเกิดจึงไม่ควรเกรงกลัวกับความตายจนเกินเหตุแต่สิ่งที่ควรคำนึงคือการกระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรพิจารณาว่าเราได้ประกอบคุณงามความดีและสร้างบุญกุศลเอาไว้ได้มากน้อยแค่ไหนในช่วงที่มีโอกาสเหลืออยู่
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายมีอยู่มากหลายอย่าง อาทิ
  • พิธีทำบุญต่ออายุ
  • การชักบังสุกุลเป็น
  • การบอกหนทางผู้ป่วย
  • พิธีการทำศพ
ในสมัยโบราณ เมื่อมีผู้ป่วยหนักเห็นว่าจะมีโอกาสรอดได้น้อย บรรดาญาติๆ หรือลูกหลาน จะนิมนต์สงฆ์มาสวดพุทธมนต์บทโพชฌงค์ และชักบังสุกุล นอกจากนี้ยังมีพิธีทำบุญต่ออายุให้แก่คนชราทั่วๆไปซึ่งลูกหลานจะเป็นผู้จัดให้ คือกระทำก่อนที่จะเจ็บป่วยถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อส่วนใหญ่เป็นการทำพิธีทางศาสนา คือนิมนต์พระมาสวดพระปริตรและทำบุญอุทิศส่วนกุศลโดยมากลุกหลานจะกระทำให้ทุกๆปี หรือทุกๆ ๕ ปีข้อนี้แล้วแต่ความสะดวกและเห็นสมควร
 
ประวัติความเป็นมา
การสวดโพชฌงค์ หรือ การสวดหลักธรรมชั้นสูงอันเป็นองค์แห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ซึ่งพระอริยเจ้าเมื่อระลึกถึงสามารถคลายความทุกขเวทนา ในเวลาอาพาธนั้นได้ดังมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพุทธตำนาน ดังนี้
เมื่อคราวที่พระมหากัสสปะแลพระโมคคัลลานะอาพาธ พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาบทโพชฌงค์โปรดทำให้พระอริยเจ้าทั้งสองคลายจากความทุกขเวทนาหายอาพาธ
อีกคราวหนึ่งเมื่อพระพุทธองค์ทรงประชวรได้ตรัสให้พระมหาจุนทะแสดงบทโพชฌงค์ให้ฟังซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงหายประชวรเช่นกัน
การชักบังสุกุลเป็น
สำหรับการสวดบังสุกุลเป็น คือการนำผ้ามาคลุมร่างคนเจ็บไว้ทั้งตัว ให้พระสงฆ์จับชายผ้า กล่าวคาถาเป็นภาษาบาลีว่า
อะจิรัง วะตะยัง กาโย
ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ
ฉุฑโฑอะเปตะวัญญาโณ
นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง ฯ
แปลใจความได้ว่า กายนี้ไม่นานหนอจักเป็นของเปล่าๆ ปราศจากวิญญาณทับถมแผ่นดิน ดังท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้ฉะนั้น ฯ
เป็นการช่วยให้คนป่วยหรือคนชรามีกำลังใจ ทั้งจากบทสวดและการที่ลูกหลานมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันด้วยความรักและระลึกถึงว่าคนชราผู้นี้เคยเป็นดังร่มโพธิ์ร่มไทรที่เคยให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลานหากคนชราถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพัง โดยเฉพาะเมื่อยามเจ็บป่วยจะขาดกำลังใจเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ประเพณีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพุทธมนต์บทโพชฌงค์และชักบังสุกุลแก่ผู้ที่กำลังป่วยหนัก จึงกระทำสืบเนื่องกันมาในภาคอีสานจะมีพิธีสวดขวัญให้แก่คนไข้ที่กำลังเจ็บหนัก และทำพิธีค้ำต้นโพธิ์ต่ออายุพิธีตวงข้าวล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำบุญและสร้างขวัญกำลังใจทั้งสิ้น
บางคนเมื่อเจ็บป่วยหนัก อาจจะทำบุญต่ออายุด้วยการปล่อยนกปล่อยปลาปล่อยเต่า บางทีก็ไปซื้อสัตว์เป็นๆ จำพวกเป็ด ไก่ หมู วัวควาย ที่เขากำลังจะฆ่าไปปล่อย ถือเป็นการไถ่อายุ
การบอกหนทางคนป่วย

ไม่ว่าจะกระทำพิธีต่ออายุหรือพยายามรักษาพยาบาลอย่างไรก็ตามเมื่อถึงกำหนดแห่งการสิ้นอายุขัย ทุกคนก็ต้องตายละสังขารไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติเมื่อคนป่วยเจ็บหนักใกล้จะหมดลมหายใจญาติพี่น้องจะจัดเตรียมกรวยสำหรับใส่ดอดไม้ธูปเทียนซึ่งทำจากใบตองนำมาใส่มือให้แก่ผู้ป่วยที่พนมไว้และทำการบอกหนทาง คือ บอกหรือกระซิบข้างหูว่าให้นึกถึงพระอรหันต์ หรือภาวนา
อรหัง สัมมา ฯลฯ
เหตุแห่งการบอกหนทางเช่นนี้เพราะมีความเชื่อกันว่า คนเราเมื่อจะหมดลมหายใจวิญญาณจะออกจากร่าง แต่จะไปสู่สุคติหรือทุกขคติ ย่อมขึ้นอยู่กับจิตสำนึกครั้งสุดท้าย การบอกหนทางแก่ผู้ตายก็เพื่อให้ดวงวิญญาณได้ไปสู่สุคติหรือสู่สัมปรายภพ คือภพใหม่ที่ดี
ตำนานความเป็นมา
มีคตินิยามเกี่ยวกับเรื่องกรวยดอกไม้ธูปเทียนและการบอกหนทางแก่ผู้ตายอยู่ว่า พรานป่าผู้หนึ่งเมื่อมีชีวิตอยู่ได้ล่าสัตว์ขายเป็นอาชีพครั้นเมื่อเจ็บหนักใกล้จะหมดลมหายใจได้เห็นวิญญาณของสัตว์ที่ตนเคยฆ่าจำนวนมากมาปรากฏอยู่ตรงหน้าจึงเกิดความสะดุ้งหวาดกลัวต่ออกุศลที่กระทำไว้พรานได้บอกเรื่องราวแก่ภิกษุลูกชายของตน
ภิกษุผู้เป็นลูกชายของพรานได้ให้บิดาพนมมือแล้วจัดกรวยดอกไม้ธูปเทียนใส่ในมือเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย ครั้นเมื่อบิดาใกล้จะหมดลมหายใจภิกษุได้เตือนให้บิดาของตนรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัย โดยกล่าวคำว่า
สัมมา อรหัง หรือ สัมมา สัมพุทโธให้นึกถึงพระอรหันต์
คนเจ็บใกล้หมดลมหายใจเราเรียกว่าอยู่ในช่วงใกล้มรณะญาณ โสตประสาทและจักษุประสาท (หูและตา) ยังไม่ดับสนิทเมื่อเห็นอาการว่าใกล้จะหยุดหายใจ ให้พยายามดูแลใกล้ชิดนำกรวยดอกไม้ธูปเทียนที่จัดเตรียมไว้ใส่มือพนม พร้อมบอกหนทางแก่คนเจ็บ
คนโบราณเชื่อว่าควรให้คนป่วยได้ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่และนำเงินติดกระเป๋าให้ด้วยเพราะเมื่อดวงวิญญาณออกจากร่างแล้ว จะได้ใส่เสื้อผ้าชุดใหม่และมีเงินทองติดกระเป๋าสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสู่โลกของวิญญาณ



ลางบอกเหตุแห่งการมรณะ
ก่อนที่จะถึงมรณะญาณจะมีสิ่งบอกเหตุหลายอย่างสำหรับคนป่วย เช่น กินสั่งลา ไฟธาตุแตก เป็นต้น
กินสั่งลา คืออาการของคนป่วยที่เจ็บหนักมาเป็นเวลานาน กินข้าวกินน้ำไม่ค่อยได้ แล้วจู่ๆ ก็มีอาการเหมือนหายป่วย ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ขอข้าวขอน้ำกินหลังจากนั้นอีกไม่นานก็จะหมดลมหายใจหรือตายอย่างสงบ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า กินสั่งลา
ไฟธาตุแตกคนป่วยจะปล่อยอุจจาระปัสสาวะออกมาอย่างไม่รู้ตัว ลูกหลานจะรีบทำความสะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ให้ สิ่งที่น่าสังเกตุก็คือคนไข้หรือคนชราที่นอนเจ็บอยู่นั้น ตัวจะเย็นผิดปกติหากเย็นจากปลายเท้ามาขึ้นตามลำดับเรียกว่า ตายขึ้นหากตายแล้วร่างกายจะเย็นจากตัวลงสู่ปลายเท้า เรียกว่า ตายลง เป็นภาษาชาวบ้าน
มีคติความเชื่ออันหนึ่ง กล่าวว่าหากมีนกแสกมาเกาะที่หลังคาบ้านที่มีคนป่วย หรือบินผ่านพร้อมส่งเสียงร้องในเวลากลางคืน แสดงว่าคนป่วยนั้นถึงกาลหมดอายุ เพราะนกแสกเป็นพาหนะของพญายม
ของถูกผีทับ

เป็นคติความเชื่อของชาวบ้านว่าเมื่อก่อนที่คนเจ็บจะหมดลมหายใจ ต้องนำยาที่ใช้รักษาพยาบาลออกไปไว้นอกบ้านมิฉะนั้น เมื่อคนเจ็บตาย ยานั้นเรียกว่าของถูกผีทับไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะคุณภาพเสื่อมบางทีเชื่อถึงขนาดต้องนำคาถาเลขยันต์ของศักดิ์สิทธิ์ออกไปนอกตัวบ้านก่อนที่คนเจ็บจะตาย มิฉะนั้นของจะเสื่อมต้องนำไปถวายวัดหรือนำไปเข้าพิธีปลุกเสกใหม่เป็นคติความเชื่อของคนโบราณซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยยึดถือปฏิบัติกันแล้ว
การจุดเทียนขี้ผึ้ง

ในสมัยโบราณ เมื่อคนเจ็บสิ้นลมหายใจแล้วให้จุดเทียนขี้ผึ้งหนัก ๑ บาทมีไส้ ๗ ไส้ไว้จนกว่าเทียนดับเป็นอันสิ้นสงสัยเพราะคนป่วยตายแน่ทั้งนี้เนื่องจากบางทีคนป่วยอาจสลบหรือเพียงหมดสติไปชั่วคราวเท่านั้นจึงไม่ผลีผลามรีบร้อนจัดการศพในทันทีที่สิ้นใจ

การเฝ้าศพหรือเฝ้าผี
หากมีคนตายในบ้านในเวลาค่ำไม่สามารถนำศพบรรจุโลงได้ทัน จะต้องมีการนอนเฝ้าศพหรืออยู่เป็นเพื่อนศพโดยการนำผ้าขาวหรือผ้าห่มมาคลุมศพไว้ตั้งแต่หัวถึงเท้าจุดตะเกียงหรือเปิดไฟให้สว่าง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความวังเวงน่ากลัวนั่นเอง

คติความเชื่อเกี่ยวกับแมวดำ
คนโบราณเชื่อกันว่า ถ้าแมวดำกระโดดข้ามศพจะทำให้ศพนั้นผุดลุกขึ้นมาหรือทำให้ปีศาจคนองด้วยเหตุนี้หากศพนอนอยู่ในที่ซึ่งมีฝาเรือนกั้นไม่มิดชิดต้องกางมุ้งให้ศพด้วยบางท้องที่จะให้ศพนอนตรงรอด หรือขื่อบ้านหันหัวศพไปทางทิศตะวันตกเพราะเชื่อกันว่าเป็นทิศของคนตายด้วยเหตุนี้จึงถือคติไม่นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก
คติความเชื่อเกี่ยวกับการกางมุ้งให้ศพ
การนำผ้าห่มมาคลุม หรือกางมุ้งให้ศพก็เพื่อไม่ให้มองเห็นแล้วเกิดความกลัว ต้องระวังอย่ายกหรือถือข้าวของข้ามศพเพราะถือเป็นการไม่ให้ความเคารพบางคนมีคติความเชื่อว่าต้องกางมุ้งให้ศพเพียง ๒ หูคร่อมศพไว้และเมื่อคนป่วยสิ้นใจลูกหลานอาจร้องไห้เศร้าโศกอาลัยรักควรระวังอย่าให้น้ำตาไปโดนร่างของศพเพราะเชื่อกันว่าจะทำให้วิญญาณของผู้ตายเป็นห่วงลูกหลานไม่ยอมไปสู่สุคติ
การอาบน้ำศพ - พิธีรดน้ำศพ
การอาบน้ำศพเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งในพิธีทำศพซึ่งจะทำกันก่อนนำศพใส่โลง เหตุที่ต้องมีการอาบน้ำศพเพราะต้องการให้ร่างกายของคนตายสะอาดบริสุทธิ์เช่นเดียวกับที่พวกพราหมณ์ในอินเดียลงอาบน้ำชำระบาปในแม่น้ำ
ในสมัยโบราณการอาบน้ำศพจะทำการอาบกันจริงๆ คือต้มน้ำด้วยหม้อดิน ซึ่งในหม้ออาจใส่ใบไม้ต่างๆต้มลงไปด้วยเช่น ใบหนาด ใบส้มป่อย ใบมะขามใบหนาดนั้นถือกันว่าเป็นใบไม้ทีผีกลัวและใช้ปัดรังควานได้
การอาบน้ำศพจะอาบด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วจึงอาบด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง ฟอกด้วยส้มมะกรูด เมื่อล้างจนสะอาดหมดจดแล้วจึงฟอกด้วยขมิ้นชันสดและผิวมะกรูดตำละเอียดต่อจากนั้นจึงทำการแต่งตัวให้ศพ
แต่การอาบน้ำศพในปัจจุบัน เรียกว่าพิธีรดน้ำศพคือใช้น้ำพุทธมนต์หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าน้ำมนต์ ผสมกับน้ำฝนหรือน้ำสะอาดบางทีใช้น้ำอบไทยร่วมด้วยเพื่อให้เกิดความหอม เมื่อถึงเวลาอาบน้ำศพซึ่งจะทำกันหลังจากที่คนป่วยตายไม่นานนักเพราะศพยังสดอยู่ญาติมิตรและผู้คนทั่วไปกล้าที่จะเข้าใกล้ เนื่องจากยังไม่มีกลิ่นหรือขึ้นอืดสัปเหร่อหรือผู้ใหญ่จะจัดให้ศพนอนในที่อันสมควรจับมือข้างหนึ่งยื่นออกมายังหมอนใบเล็กที่รองรับ
ลูกหลานของผู้ตายจะทำหน้าที่ใช้ขันใบเล็กๆ ตักน้ำมนต์จากขันใหญ่ส่งให้กับผู้ที่มาทำการรดน้ำศพโดยการเทน้ำลงบนมือของผู้ตาย กล่าวคำไว้อาลัยหรือกล่าวขอให้วิญญาณของผู้ตายจงไปสู่สุคติไม่ต้องห่วงอาลัยมีกังวล
ปริศนาธรรมในการทำพิธีรดน้ำศพ

การรดน้ำศพเป็นปริศนาธรรม ให้เห็นว่าคนเราเมื่อตายไปแล้วแม้นำของหอมหรือน้ำอบน้ำมนต์ใดๆ มาราดรด ก็ไม่อาจที่จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ควรประมาทเร่งขวนขวายสร้างบุญกุศลและคุณงามความดีไว้ เพราะท่านยังโชคดีที่มีโอกาสได้กระทำส่วนคนที่ตายนั้นหมดโอกาสไปแล้ว

การแต่งตัวให้ศพ การหวีผมให้ศพและปริศนาธรรม
เมื่อทำพิธีอาบน้ำศพเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องจัดการแต่งตัวหวีผมศพให้เรียบร้อย เกี่ยวกับการหวีผมให้ศพนั้นมีคติความเชื่อเป็นหลายนัย บ้างให้หวีสามหนเท่านั้นบ้างก็ว่าให้หวีกลับไปข้างหน้าซีกหนึ่งไปข้างหลังอีกซีกหนึ่งหมายถึงหวีสำหรับคนตายครึ่งหนึ่งสำหลับคนเป็นครึ่งหนึ่ง
หลังจากหวีผมเสร็จจะต้องหักหวีที่ใช้ทิ้งหรือโยนใส่ไปในโลงศพ ตอนหักหวีให้กล่าวเป็นภาษาบาลี "อนิจจังทุกขัง อนัตตา" เป็นปริศนาธรรม หมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร แม้หวีดีๆ ก็ยังต้องหักเป็นท่อนใช้การไม่ได้ในวันหนึ่งชีวิตของมนุษย์เราก็เช่นกัน
หวีที่ใช้หวีผมให้ศพนั้นคนเป็นจะไม่นำมาใช้อีก จึงต้องหักทิ้ง

การนุ่งผ้าให้ศพ

เมื่ออาบน้ำ หวีผม ให้ศพเสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นการนุ่งผ้าแต่งตัวให้ศพซึ่งจะกระทำไม่เหมือนกับการแต่งตัวของคนเป็น คือ
๑. ให้ใช้ผ้าขาวนุ่งในชั้นแรกเอาชายพกไว้ข้างหลังแล้วนำเสื้อขาวมาสวมให้โดยเอารังดุมไว้ข้างหลังให้ต่างกับการใส่เสื้อคนเป็นแล้วเย็บเนาเป็นตะเข็บลงมาหาเอวทั้ง ๒ ข้าง ให้ห่มผ้าเฉียงจากขวามาซ้าย
๒. เสร็จแล้วจึงนำเสื้อผ้าใหม่อีกชุดหนึ่งมาสวมใส่ทับข้างนอกอย่างที่คนธรรมดาใส่กันทั่วไปตามปกติ

ปริศนาธรรมของการนุ่งผ้าให้ศพ

การแต่งตัวนุ่งห่มให้ศพของคนโบราณแบบนี้เป็นปริศนาธรรมให้เห็นว่า คนเราเกิดด้วยทิฏฐิ ตายด้วยทิฏฐิ อวิชชาปิดหน้าปิดหลังการนุ่งห่มอย่างแรกหรือชั้นแรกที่อยู่ข้างใน หมายถึงความตาย การนุ่งห่มชั้นนอกหมายถึงการเกิด อันคนเรามีเกิดแล้วก็มีวันดับวนเวียนอยู่ในสังสารวัฎ
ในปัจจุบัน ไม่ค่อยได้ทำพิธีอาบน้ำศพแต่งตัวและนุ่งผ้าศพอย่างสมัยโบราณกันแล้ว คงมีแต่การรดน้ำศพที่มีดังกล่าวมาแล้วส่วนเสื้อผ้านั้นนิยมสวมใส่ชุดใหม่ให้ศพ
การทำศพของคนโบราณมีปริศนาธรรมอยู่ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มรดน้ำศพ ไปจนถึงตอนเผา
ประเพณีที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการทำศพอีก ๒ อย่างที่ยึดถือกันมา คือ
  • การตำหมากใส่ปากศพ และ
  • การนำเงินใส่ปากศพ
การตำหมากใส่ปากศพ
เมื่อทำพิธีอาบน้ำแต่งตัวและรดน้ำศพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตำหมากใส่ปากศพ ๑คำหรือถ้าคนตายยังมีฟันอยู่ ก็ใช้หมากเจียนพลูที่เป็นคำๆ หักใส่ปากศพเป็นปริศนาธรรมว่า แม้หมากพลูที่คนตายเคยชอบนักหนาเมื่อตายแล้วก็ไม่สามารถเคี้ยวกินได้ขนาดตำป้อนให้แล้วก็ยังไม่รู้จักเคี้ยวไม่รู้จักคาย หรือแม้แต่ทรัพย์สมบัติทั้งหลายตายไปก็ไม่มีใครนำติดตัวไปได้นอกจากบุญกุศลและคุณความดีที่สร้างไว้เท่านั้นที่จะติดตัวไป
การนำเงินใส่ปากศพ
การนำเงินใส่ปากศพ มีคติที่มาหลายนัยบ้างว่าเป็นปริศนาธรรมเช่นเดียวกับการตำหมากใส่ปากศพ คือตายแล้วก็ไม่สามารถเอาทรัพย์สินติดตัวไปไม่ได้แม้เงินที่อมไว้ในปากสัปเหร่อก็ล้างเอาไปเสียอีกนัยหนึ่งบอกว่าคนสมัยโบราณเอาเงินใส่ปากศพเพื่อให้สัปเหร่อเป็นค่าจ้างเผา
บางคติว่าเงินที่ใส่ปากศพนั้นสำหรับให้วิญญาณของคนตายใช้เป็นค่าเดินทาง หรือค่าจ้างสำหรับคนพายเรือที่ทำหน้าที่พาดวงวิญญาณของผู้ตายข้ามแม่น้ำไปสู่ดินแดนของคนตายหรือโลกของวิญญาณ
นอกจากคนไทยแล้ว ชนชาติอื่นๆ เช่น จีน กรีกโบราณยิว ฯลฯ ก็มีการนำเงินใส่ปากศพโดยมีคติเกี่ยวกับความเชื่อแตกต่างกันไป
การปิดหน้าศพ
ในสมัยโบราณการทำศพบางแห่งจะมีการปิดหน้าศพด้วยขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้วกว้างพอปิดหน้าศพได้พอดีบางทีปิดเฉพาะดวงตาและปากเท่านั้น หรือใช้ผ้าปิดแทนทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันภาพอุจาดตาและป้องกันไม่ให้แมลงมาวางไข่
การมัดตราสัง
ก่อนนำศพใส่โลก ต้องทำพิธีมัดตราสังด้วยด้ายสายสิญจน์ นิยมมัดเป็น ๓ เปลาะ คือที่คอ ที่มือและที่เท้า มีผู้แต่งคำโครงอธิบายปริศนาธรรมของการมัดตราสังเป็น ๓เปลาะไว้ดังนี้
มีบุตรห่วงหนึ่งเกี้ยว
พันคอ
ทรัพย์ผูกบาทาคลอ
หน่วงไว้
ภริยาเยี่ยงอย่างปอ
รึงรัด มือนา
สามห่วงใครพ้นได้
จึงพ้นสงสาร

ในการมัดตราสังศพ
  • เมื่อนำบ่วงคล้องคอ สัปเหร่อจะว่าคาถา ปุตโต คีวหมายความว่า ลูกคือห่วงผูกคอ เมื่อเวลามัดว่าคาถารัดประคดอก เป็นห่วงที่๑
  • แล้วโยงเชือกมากลางตัว ทำเป็นห่วงตะกรุดเบ็ดผูกหัวแม่มือของศพที่พนมมือกรวยดอกไม้ธูปเทียนอยู่ รวบมือศพผูกให้พนมไว้ที่หน้าอกว่าคาถา ธน หตุเถ ความหมายว่า ทรัพย์คือห่วงผูกมือ ในเวลามัดว่าคาถารัดประคดเอวเป็นห่วงที่ ๒
  • แล้วโยงเชือกมาที่เท้าทำเป็นบ่วงผูกหัวแม่เท้ารวบรัดเท้าผูกให้ข้อเท้าทั้งสองติดกันว่าคาถา ภริยา ปาเท หมายความว่า ภรรยา คือห่วงผูกเท้าเป็นห่วงที่ ๓ (แม้ศพผู้หญิงก็ว่าคาถาแบบเดียวกัน) บางตำราว่าใช้คาถา ธน ปาเทไม่ใช่ ภริยา ปาเท และบางตำราก็ให้ผูกจากเท้าขึ้นมาก่อน
เสร็จแล้วให้เอาผ้าขาวผืนใหญ่ห่อตัวศพโดยขมวดไว้ด้านศีรษะ เพื่อจะได้เป็นการสะดวกเมื่อเวลาเปิดเอาน้ำมะพร้าวล้างหน้าศพก่อนเผา แล้วเอาด้ายดิบขนาดนิ้วหัวแม่มือมัดเป็นเปลาะๆ ให้แน่นเป็น ๕ เปลาะ เป็นปริศนาธรรม หมายถึง นิวรณ์ ๕ คือ
๑. กามฉันทะ
๒.ความพยาบาท
๓. ความง่วงเหงาหาวนอน
๔.ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
๕. ความลังเลใจ
ทั้ง ๕ ประการนี้คือสิ่งขวางกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
เหตุที่ต้องมัดศพอย่างแน่นหนาเพราะในสมัยโบราณไม่มียาสำหรับฉีดรักษาศพจึงต้องมัดไว้ให้ดีเพื่อให้ผ้าซับเลือดน้ำเหลืองและป้องกันโลงแตกเพราะศพขึ้นอืด

พิธีเบิกโลง
พิธีเบิกโลงในแต่ละท้องที่อาจมีแตกต่างกันไปบ้างหลังจากทำพิธีมัดตราสังเสร็จแล้ว จะไม่นำศพใส่โลงในทันที ต้องทำพิธีเบิกโลงก่อน โดย
  • เอาไม้ไผ่มาจักเป็นซีกเล็กๆ ทำเป็นบันได ๔ ขั้น หรือให้มี๓ ช่องกว้างยาวเท่ากับโลง สำหรับวางบนปากโลง
  • เอาเฝือกผืนหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่ ๗ ซีกถักติดกันเหมือนแร่งวางก้นโลงเอาผิวไม้ขึ้น ไว้ระยะห่างเพื่อรองรับอย่างเสื่อ
  • แล้วจึงเอาไม้ไผ่มาผ่าให้โตขนาดนิ้วก้อย ยาวพอสมควรผ่าข้างหนึ่งสำหรับคาบปากโลงเป็นระยะจนครบ ๘ อันเป็นทำนองไม้ตับปิ้งปลาและผ่าอีกข้างหนึ่งสำหรับคาบสายสิญจน์วางทางขวาก่อนให้รอบโลง ไม้นี้เรียกว่าปากกาจับโลง
  • เอาเทียน ๘ เล่มพาดที่ปากโลงระหว่างปากกาทั้ง ๘ ช่องกับมีกระทงใบตองขนาดเล็กใส่กุ้งพล่าปลายำ หรือจะเป็นอาหารอย่างอื่นๆ ก็ได้นำมาวางบนปากโลงทั้ง ๘ ช่องใกล้เทียนที่ติดไว้ ให้เป็นเครื่องสังเวยเทพทั้ง ๘ทิศ
  • สัปเหร่อจะทำน้ำมนต์สำหรับรดโลงต้องเตรียมขันและเทียนติดพาดปากขันเล่มหนึ่ง เงินค่ายกครู แต่ก่อนประมาณ ๖สลึง
  • สัปเหร่อจุดเทียนเป็นคู่ๆ ตั้งแต่ด้านปลายเท้าไปด้านศีรษะแล้วตั้งต้นทำน้ำมนต์ธรณีสาร ใช้สำหรับประพรมแก้เสนียดจัญไรแล้วว่าคาถา
    สิโรเม พุทธเทวญจ
    นลาเฏ พรหมเทวตา
    หทย นรายกญเจว
    เทวหตปรเม สุราฯ
    ปาเท วิสสณุกญเจว
    สพพกมมา ปสิทธิ เม
    เป็นการเชิญ พระพุทธ พระธรรม พระนารายณ์พระปรเมศวร พระวิศวกรรม มาเข้าสิงกายให้ทำกรรมต่างๆ สำเร็จ บทตั้งแต่ สิทธิกิจจเป็นบทให้พระเจ้าเรือน มีดังนี้
    สิทธิกิจจสิทธิกมม
    สิทธการิย ตถาคโต
    สิทธิลาโภนิรนตร
    สิทธิเตโช ชโย นจจ
    สิทธิกมม ปสิทธิเม
    สพพสิทธิ ภวนตุ เม
  • เสร็จแล้วสัปเหร่อจะนำน้ำมนต์ลูบหน้าเสยผม ๓ ครั้งประพรมโลง ๓ หน หยิบเทียนที่ติดปากโลงมาจุดด้ายสายสิญจน์ที่วงรอบโลงจุดเทียนเป็นคู่ๆ จากปลายเท้าให้ไหม้ขาดทุกช่อง เว้นช่องด้านสกัดที่จะใช้เป็นหัวโลงเอามีดหมอ กดด้ายสายสิญจน์ที่กลางหัวโลงเสกคาถาว่าพุทธปจจกขามิ ธมม หจจกขามิ สงฆ ปจจกุขามิ๓ หน
  • ความนี้สัปเหร่อจะถามว่า โลงของใคร ลูกหลานก็ตอบว่าโลงของ...(ชื่อผู้ตาย) หรือบางที สัปเหร่อก็ถามเองตอบเอง บางทีถามหนเดียวบางทีก็ถามตอบอย่างนั้น ๓ หน
  • เสร็จแล้วสัปเหร่อจึงเอามีดหมอสับปากโลง ๓ ครั้งโดยการสับตรงกลางก่อน แล้วจึงสับซ้ายขวา หรือบางทีสับเป็นรูปกากบาทเพื่อใช้เป็นเครื่องหมายว่าด้านนี้เป็นทิศศีรษะหัวโลง
  • ต่อจากนั้น จึงผลักเครื่องเซ่น ไม้ปากกา เทียนและด้ายสายสิญจน์ที่เหลืออยู่ลงไปในโลงให้หมดเอาใบตองบางทับเฝือกและของที่ผลักลงใส่โลงส่วนใหญ่นิยมใช้ใบตองต้นกล้วยตานีที่ใบไม่แตกยอดไม่หัก ๓ ยอดมาปู
    ด้วยเหตุนี้ในการตัดใบตองมาใช้ทั่วไป ชาวบ้านจึงหักยอดเสียก่อนเพราะใบตองที่ไม่ได้หักยอดถือว่าเป็นใบตองรองผี
    เฝือก ใบตองที่ใส่ในโลงศพล้วนเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น คือ ชี้ให้เห็นว่าร่างกายของเราก็เหมือนกับเฝือกที่นำไม้ไผ่มาสานต่อกันเป็นซี่ๆในที่สุดก็ต้องแยกสลายจากกัน
การนำศพไปวัด
การเคลื่อนย้ายศพไม่ว่าจะเพื่อนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัด เคลื่อนศพจากบ้านไปเผามีธรรมเนียมปฏิบัติดังนี้
  • หากเป็นการตั้งศพสวดอภิธรรมที่บ้านในวันเคลื่อนศพไปเผาที่วัด เจ้าภาพจะนิมนต์พระสงฆ์มาฉันเช้าที่บ้านส่วนใหญ่นิยมนิมนต์เพียง ๔ รูปหรือตามต้องการแต่เมื่อฉันเช้าเสร็จแล้วนิมนต์พระเพียง ๔ รูปทำหน้าที่จูงศพไปวัดหากมีลูกหลานผู้ตายบวชเณรหน้าศพ ก็ให้มาร่วมจูงศพด้วย โดยเดินต่อจากพระ
  • หากต้องการนำศพไปตั้งสวดอภิธรรมที่วัดก็ให้พระมาจูงศพเช่นเดียวกันหลังจากที่สัปเหร่อทำพิธีนำศพใส่โลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่หากมืดค่ำกะทันหันก็อาจตั้งศพไว้ที่บ้านคืนหนึ่งครั้นรุ่งเช้าจึงค่อยนิมนต์พระมาฉันเช้าแล้วจูงศพไปวัด

การเคลื่อนขบวนศพ
ในการเคลื่อนขบวนศพนั้นให้ลูกหลานของผู้ตายถือกระถางธูป และรูปของผู้ตายนำหน้าต่อมาจึงเป็นพระสงฆ์ ๔ รูปถือสายสิญจน์ที่ต่อมาจากการมัดตราสังศพและโยงออกมาหน้าโลงซึ่งสัปเหร่อได้จัดเตรียมไว้ไห้แล้วสายสิญจน์ที่ให้พระจับเวลาสวดศพทุกคืนก็ใช้เส้นเดียวกันนี้
สำหรับญาติพี่น้องคนอื่นๆ ก็ช่วยกันแยกโลงศพหรือนำศพตั้งไว้บนรถเข็นช่วยกันเข็นประคองตามกันไปเป็นขบวนเดินไว้อาลัยไปตลอดทางจนกว่าจะถึงวัดหากวัดอยู่ไกลจะใช้รถยนต์เป็นพาหนะในการเคลื่อนศพก็ได้หากไม่ต้องการนำรถของตนเองมาขนศพเพราะเชื่อเกี่ยวกับโชคลางก็สามารถขอเช่ารถของทางวัดหรือมูลนิธิได้
การนำศพออกจากบ้าน

เมื่อจะเริ่มเคลื่อนศพตามคติโบราณจะไม่ยกศพออกทางประตูเหมือนคนปกติ และไม่ให้ศพลอดใต้ขื่อบางทีก็ต้องรื้อฝาบ้านข้างหนึ่งเพื่อนำศพออกก็มีทั้งนี้เพราะเรือนสมัยก่อนประตูค่อนข้างเล็กและขื่อเตี้ยการยกศพต้องช่วยกันหลายคนจึงเบียดเสียดไม่สะดวกฝากระดานของบ้านสมัยก่อนสามารถถอดออกได้สะดวกเพราะใช้วิธีเข้าลิ่มไม่ได้ทำตายตัวเหมือนปัจจุบัน
เมื่อยกศพออกทางฝาบ้าน ต้องทำบันได ๓ขั้นไว้เป็นทางลง ไม่ลงบันไดเดียวกับคนเป็นใช้อยู่ประจำ บันได ๓ขั้นนี้ทำไว้ชั่วคราวไม่แข็งแรงนัก พอคนขึ้นลงก็หักโดยง่าย เป็นเคล็ดความเชื่อว่าทำให้วิญญาณไม่สามารถหาทางย้อนกลับมาบ้านได้ จะได้ไปผุดไปเกิดเสียไม่มัววนเวียนอยู่บนโลกด้วยความเป็นห่วงลูกหลานและทรัพย์สมบัติ
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยถือเคร่งครัดเท่าไรนักเพราะบางทีฝาบ้านเป็นปูนหรืออิฐหากทลายเพื่อเอาศพออกคงเป็นเรื่องใหญ่แน่
การทำประตูป่า

ประตูป่า คือการนำกิ่งไม้มาปักไว้ตรงประตูที่จะนำศพออกจากบ้านโดยรวบกิ่งไม้มัดไว้เป็นซุ้มหรือคูหา เมื่อนำศพออกไปพ้นประตูแล้วก็ให้รื้อทิ้งเสียเพราะเชื่อกันว่า วิญญาณของผู้ตายจะกลับบ้านไม่ได้เพราะประตูป่าที่จำไว้เป็นเครื่องหมายถูกรื้อไปแล้ว หากมองเป็นปริศนาธรรมก็คือคนที่ตายไปแล้วย่อมไม่สามารถย้อนกลับหรือฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้อีกเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่หากไม่เร่งสร้างคุณงามความดีก็เป็นสิ่งที่น่าเสียดายเพราะคนตายนั้นไม่มีโอกาสเช่นเราอีกแล้ว
การชักฟาก ๓ ซี่
เป็นคติความเชื่อเช่นกันสมัยโบราณใช้ไม้ไผ่มาผ่าทำฟากเป็นซี่ๆ สำหรับปูพื้นเรือนและทำฝาเมื่อนำศพออกจากบ้านแล้ว ให้ซักฟากออก ๓ ซี่ เพื่อลวงไม่ให้วิญญาณจำบ้านได้และปริศนาธรรม อธิบายเกี่ยวกับเรื่องไตรลักษณ์ คือ รูป สังขาร วิญญาณล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืน เมื่อความตายมาเยือนไม่มีใครสามารถหลีกหนีได้ต้องละสังขารทิ้งร่างไว้เหมือนกับเรือนที่ว่างเปล่า
การตีหม้อน้ำและหม้อไฟนำศพ
ในสมัยโบราณ เมื่อนำศพออกจากบ้านแล้วจะมีการตีหม้อน้ำ ๓ ใบ ด้วยไม้ซีก (ไม่นิยมใช้ไม้ท่อนเพราะต้องหักทิ้ง)เมื่อตีหม้อดินใส่น้ำซึ่งเตรียมไว้แตกแล้ว ก็หักไม้ทิ้งเสียเป็นปริศนาธรรมหมายถึงการแตกสลายของสังขาร หรือธาตุต่างๆ เช่นธาตุน้ำที่มาชุมนุมกันเป็นร่างกายเมื่อแยกออกจากกันแล้วก็ต้องกลับไปเป็นธาตุเหล่านั้นเหมือนเช่นเดิม
สำหรับหม้อไฟ หรือตะเกียงที่จุดไว้หน้าศพนั้นเมื่อเวลาเผาศพก็นำใส่เข้าไปในกองฟืนขณะที่ตีหม้อน้ำทั้ง ๓ ใบทิ้งนั้นคนบนเรือนก็ใช้พัดโบกไปทั้ง ๔ ทิศ
การซัดข้าวสาร
การซัดข้าวสารในปัจจุบันไม่นิยมทำกันแล้วแต่สมัยโบราณเมื่อนำศพออกจากบ้านต้องทำการซัดข้าวสารหรือบางทีก็ซัดเกลือขึ้นไปบนหลังคาด้วย พร้อมว่าคาถา
คจฉ อมุมหิ พุทธปัด แปลใจความได้ว่าจงไปทางโพ้นเถิด พระพุทธเจ้าปัดแล้ว
เป็นการขับไล่เสนียดจัญไรหรือความอัปมงคลทั้งหลายให้จากไป
การโปรยข้าวตอกข้าวสาร
ในระหว่างที่เคลื่อนศพไปวัดนั้นบางทีมีการโปรยข้าวตอกหรือข้าวสารไปตลอดทาง เป็นปริศนาธรรมเตือนใจว่าข้าวตอกข้าวสารไม่งอกขึ้นมาได้อีกฉันใดคนที่ตายย่อมไม่อาจฟื้นขึ้นมาฉันนั้น
การใช้ไม้ขีดทางนำหน้า
การใช้ไม้ขีดทางนำหน้าเมื่อเคลื่อนขบวนศพก็เป็นปริศนาธรรมเช่นกัน หมายถึงการเดินตามกันไปเป็นวัฏสงสารในวันนี้เรานำศพคนตายไปเผา วันต่อๆ ไป ทุกคนก็ต้องไปตามเส้นทางสายนี้เช่นเดียวกันไม่มีใครสามารถหลีกหนีพ้นได้
ขบวนศพห้ามผ่านเรือกสวนไร่นา
ในสมัยโบราณหนทางยังไม่ค่อยสะดวกนักการหามศพต้องหามไปตามทางเดินจะลัดผ่านไร่นาของคนอื่นไม่ได้อาจเพราะมีความเชื่อเกี่ยวกับความตายว่าเป็นอัปมงคล หรือขบวนแห่มีคนเป็นจำนวนมากหากเดินตัดผ่านไร่นาอาจไปเหยียบข้าวกล้าพืชไร่ได้รับความเสียหาย
การเรียกบอกหนทางแก่วิญญาณผู้ตาย
เมื่อนำศพไปวัดขบวนแห่ศพผ่านที่ไหนลูกหลานผู้ตายก็จะเอามือเคาะโลงเพื่อบอกให้รู้ตัวไปตลอดทาง เช่นลงจากบ้านแล้ว เลี้ยวขวาไปตามทาง ผ่านโรงเรียนแล้ว ข้ามสะพานแล้ว ถึงวัดแล้วทั้งนี้เป็นคติความเชื่อว่า เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายตามร่างไป
การไปงานศพ (ไปฟังพระสวด)
เมื่อไปถึงควรแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพแต่บางครั้งต้องดูตามสถานการณ์เพราะการพูดกระตุ้นให้เจ้าภาพเกิดความเศร้าโศกขึ้นมาอีกคงไม่เหมาะสมนัก บางทีเจ้าภาพยุ่งอยู่กับการต้อนรับแขกจนเกือบจะลืมเหตุการณ์ที่ต้องสูญเสียคนที่รักไปได้ชั่วคราวแล้วผู้ไปเคารพศพอาจแสดงออกด้วยอากัปกิริยาแทนคำพูดก็ได้
เจ้าภาพหรือตัวแทนของเจ้าภาพจะนำไปจุดธูปเคารพศพหากมีการจัดที่พุทธบูชาไว้ด้วยเช่น
เมื่อนำศพไปตั้งสวดอภิธรรมที่วัดต้องจุดธูปเทียนไหว้พระก่อน ด้วยธูปสามดอกแล้วจึงจุดธูปไหว้ศพเพียงดอกเดียวบางแห่งลูกหลานของผู้ตายจะคอยจุดธูปส่งให้กับแขก หากต้องจุดธูปเองควรใช้ไม้ขีดหรือจุดกับตะเกียงที่ตั้งไว้ต่างหากอย่ายื่นธูปไปจุดกับเทียนที่ตั้งไว้หน้าศพ เป็นการไม่เหมาะสม
หากนำพวงหรีดไปไว้อาลัยควรส่งให้เจ้าภาพหรือคนทีมีหน้าดูแลรับไปติดตั้ง ไม่ควรหาติดตั้งเอาเองตามใจชอบปัจจุบันไม่นิยมพวงหรีดที่ทำจากโฟมโดยทั่วไปจะใช้พวงหรีดที่ทำจากวัสดุธรรมชาติซึ่งย่อมสลายง่ายหรือใช้พวงหรีดที่ดัดแปลงมาจากผ้าเพราะเมื่อเสร็จงานแล้วเจ้าภาพสามารถถวายให้พระนำไปใช้ประโยชน์ได้
การสวดศพ
พระที่นิมนต์มาสวดพระอภิธรรมหน้าศพ นิยมนิมนต์เพียง ๔ รูป หากทำพิธีสวดที่บ้านต้องจัดรถคอยรับส่ง และจัดหาคนทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมคือ กล่าวนำอาราธนาศีล อาราธนาธรรม ฯลฯ ไว้ให้เรียบร้อย
เมื่อพระมาถึงแล้วเจ้าภาพต้องจุดธูปเทียนที่พระพุทธ และตู้พระธรรม กล่าวคำอาราธนา พระจึงจะเริ่มทำการสวดได้ บางงานเจ้าภาพนั่งรอไม่เห็นพระท่านเริ่มสวดเสียทีพระท่านก็นั่งรอไม่เห็นเจ้าภาพจุดธูปเทียนและกล่าวอาราธนาเสียทีจึงควรเรียนรู้การทำหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมเอาไว้บ้าง
การเคาะโลงให้ผู้ตายฟังพระสวด
เมื่อพระเริ่มสวด ลูกหลานของผู้ตายจะเคาะโลงเบาๆเพื่อเรียกให้ฟังพระสวดเป็นธรรมเนียมปฏิบัติคือลูกหลานยังคงปฏิบัติกับผู้ตายเหมือนเมื่อยังมีชีวิตอยู่เป็นความผูกพันภายในครอบครัว
การบรรเลงปี่พาทย์มอญ
หากเจ้าภาพมีฐานะดี ก็จัดหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลงเป็นทำนองวังเวงพอพระสวดพระอภิธรรมจบ ปี่พาทย์ก็ขึ้นรับฟังแล้วชวนให้เศร้าโศกเข้ากับบรรยากาศ
การเลี้ยงอาหารแขกที่มาฟังพระสวด
ตามธรรมเนียมของการสวดอภิธรรม พระจะสวดทั้งหมด ๔ จบแต่บางแห่งก็แตกต่างกันไป เมื่อพระสวดได้ ๒ จบ หรือ ๓ จบแล้วจึงทำการหยุดพักช่วงนี้เจ้าภาพจึงนำอาหารที่จัดเตรียมไว้มาเลี้ยงแขก เสร็จแล้วจึงฟังพระสวดต่อจนครบ๔ จบ

สำหรับผู้ไปร่วมพิธีเผาศพหรือไว้อาลัยผู้ตายก่อนทำการเผาหรือเมื่อไปฟังพระสวดอภิธรรมศพ เมื่อกลับถึงบ้านแล้วให้ล้างหน้าล้างตาก่อนเข้าบ้านบางทีนำใบทับทิมใส่ในขันแล้ววักน้ำในขันนั้นล้างหน้าเพื่อความเป็นสิริมงคล
นำศพเวียน ๓ รอบก่อนนำขึ้นเมรุ
หากตั้งศพสวดบำเพ็ญกุศลที่วัดในตอนเช้าของกำหนดทำพิธีเผาลูกหลานก็จะช่วยกันหามโลงศพเวียนรอบเมรุ ๓ รอบ แล้วจึงนำขึ้นไปตั้งไว้บนเมรุหากตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน ครั้นเคลื่อนศพมาถึงวัดแล้วก็ให้ทำการเวียนรอบเมรุก่อน๓ รอบเช่นกัน จึงจะนำไปตั้งบนเมรุ บางแห่งมีการนำโลงกระแทกเมรุก่อน ๓ ครั้งจึงนำขึ้นไปตั้ง นิยมหันหัวศพไปทางทิศตะวันตก
การเวียนศพต้องเวียนซ้ายต่างกับการเวียนเทียนหรือแห่นาคซึ่งเป็นงานมงคลจะทำการเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวรรต การเวียนศพ ๓รอบเป็นการเวียนเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย และเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสามภพ คือ ในโลกนรก และสวรรค์
การทิ้งเบี้ยให้ตากลียายกลา

สมัยโบราณ เมื่อนำศพขึ้นตั้งบนเมรุ หรือเชิงตะกอนแล้ว ต้องทิ้งเบี้ย๓๓ เบี้ยให้ตากลียายกลา ซึ่งเป็นเจ้าของป่าช้าเพื่อซื้อที่ให้ผีอยู่และเป็นค่าจ้างเผาเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครทำกันแล้วแต่จะใช้วิธีโปรยทาน
สาเหตุที่โยน ๓๓เบี้ยมีคติเป็นหลายนัย บ้างว่าเป็นการแสดงคุณบิดา ๒๐ เบี้ย มารดา ๑๒ เบี้ย (รวมได้๓๒ เบี้ย อีก ๑ เบี้ยไม่ทราบว่าหายไปไหน) บางทีก็ว่า ๓๒ เบี้ยนั้นหมายถึงอาการ ๓๒นั่นเอง


การจุดพลุสัญญาณ
ในสมัยโบราณ บ้านเรือนแต่ละหลังอยู่ห่างกัน จึงใช้เสียงพลุเป็นสัญญาณอาจจะจุดเมื่อเริ่มเคลื่อนศพไปวัดลูกหนึ่ง เมื่อถึงวัดแล้วลูกหนึ่งเมื่อพระสวดมาติกาลูกหนึ่ง และยิงลูกสุดท้ายเมื่อทำพิธีเผาไม่มีข้อจำกัดอันใดจะให้มีการจุดพลุหรือไม่ก็ได้แต่ตามต่างจังหวัดยังนิยมจุดกันอยู่

พิธีในวันเผา
เมื่อตั้งศพไว้บนเมรุเป็นที่เรียบร้อยแล้วเจ้าภาพจะนิมนต์พระมาเลี้ยงอาหารเพลที่ศาลาสวดอภิธรรม เสร็จแล้วทำการถวายจตุปัจจัยทอดผ้าบังสุกุล กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ตอนบ่ายมีการเทศนา ๑ กัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่พระท่านจะเทศน์ เกี่ยวกับเรื่องการ เกิด แก่ เจ็บ ตายความไม่เที่ยงของสังขาร ต่อจากนั้นก็มีการสวดมาติกา กล่าวชีวประวัติของผู้ตายการทอดผ้าบังสุกุลหน้าศพ และทำการเผาหรือประชุมเพลิง

การกล่าวถึงชีวประวัติของผู้ตาย
เมื่อผู้ร่วมพิธีเผาและไว้อาลัยแด่ผู้ตายมาพร้อมกันแล้วก่อนทำพิธีวางดอกไม้จันทน์อาจมีการกล่าวถึงชีวประวัติของผู้ตายอย่างย่อๆส่วนใหญ่จะบอกถึงวันเดือนปีเกิด ชื่อบิดามารดาบุตรธิดา หน้าที่การงานและคุณความดีของผู้ตาย สุดท้ายเป็นการกล่าวขอบคุณผู้มาร่วมไว้อาลัย

การชักผ้าบังสุกุล

เมื่อใกล้เวลาเผาเจ้าภาพจะเชิญแขกผู้มีเกียรติหรือผู้ที่เคารพนับถือร่วมทอดผ้าบังสุกุลโดยเรียกชื่อทีละคน ผู้ที่ได้รับเชิญก็เดินไปที่หน้าเมรุหยิบผ้าบังสุกุลซึ่งลูกหลานของผู้ตายวางไว้บนพาน หยิบไปเฉพาะผ้าบังสุกุลเท่านั้นนำไปวางไว้ในพานหน้าโลงศพบนเมรุ
เจ้าภาพหรือผู้มีหน้าที่ในการทำพิธีจะเชิญพระสงฆ์องค์หนึ่งให้ขึ้นไปพิจารณาผ้าบังสุกุลหรือซักผ้าบังสุกุลทำเช่นนี้ไปจนกว่าจะครบแขกที่เชิญหากมีแขกคนสำคัญอาจให้ทอดเป็นคนสุดท้าย เรียกว่าทอดผ้ามหาบังสุกุล วิธีการนั้นก็เช่นเดียวกัน เมื่อขึ้นบันไดไปบนเมรุเพื่อทอดผ้าให้เดินลงทางด้านข้างของเมรุไม่ควรเดินย้อนกลับตรงทางขึ้น
การโปรยทาน

การโปรยทาน เป็นการอุทิศส่วนกุศลแทนผู้ตาย คล้ายเป็นการแจกหรืออุทิศทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่มี ให้กับคนที่อยู่เบื้องหลังเป็นปริศนาธรรมทำนองตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้เช่นเดียวกัน เงินโปรยทานนี้ชาวบ้านนิยมเก็บไว้เป็นขวัญถุง
การวางดอกไม้จันทน์
เมื่อชักผ้ามหาบังสุกุลเสร็จแล้วเจ้าภาพก็จะนำดอกไม้จันทน์มาแจกให้กับผู้มาร่วมไว้อาลัยคนละ ๑ ช่อหรือนำใส่ถาดไปวางไว้หน้าเมรุ ครั้นได้เวลาเผา พระก็จะสวดพระอภิธรรมผู้มาร่วมพิธีจึงทยอยขึ้นบันไดเมรุ นำช่อดอกไม้จันทน์ไปวางไว้ในพานหน้าศพแล้วเดินลงทางบันไดด้านข้าง ไม่ควรย้อนกลับลงไปทางที่ขึ้นมาเพราะจะทำให้ชนหรือเกะกะขวางทางคนอื่นๆ ที่กำลังจะขึ้น
การวางดอกไม้จันทน์นี้หากเป็นสมัยโบราณที่มีการเผาบนเชิงตะกอนกลางแจ้งผู้มาร่วมพิธีก็จะถือฟืนติดมือกันมาคนละท่อน นำมาวางรวมกันซึ่งถ้าได้ไม้จันทน์ก็จะเป็นการดีเพราะเวลาเผามีกลิ่นหอมเมื่อพร้อมกันแล้วสัปเหร่อจึงทำการจุดไฟ
มอญร้องไห้
หากเจ้าภาพมีฐานะดีจัดให้มีวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลงในงานตลอดงาน หรือเฉพาะในวันเผาเมื่อเริ่มพิธีเผาคือผู้มาร่วมไว้อาลัยทำการวางดอกไม้จันทน์ ก็จะมีพิธีมอญร้องไห้โดยคนในคณะปี่พาทย์เป็นผู้ร้องคร่ำครวญพรรณนาถึงคุณงามความดีของผู้ตายด้วยความอาลัยรักผู้ร้องจะร้องอย่างโหยหวนเข้ากับบรรยากาศพลอยทำให้ลูกหลานของผู้ตายเกิดความเศร้าโศกพากันร้องไห้


การขอบคุณผู้มาร่วมพิธีและการมอบของที่ระลึก
เมื่อถึงตอนทำพิธีเผาศพเจ้าภาพและลูกหลานของผู้ตายจะไปยืนอยู่ที่บันไดทางลงของเมรุ ซึ่งมักทำไว้ ๒ ฟากเมื่อผู้มาร่วมพิธีวางช่อไม้จันทน์เสร็จและเดินลงมา เจ้าภาพก็กล่าวขอบคุณหากจะมอบของที่ระลึกก็มอบให้ในตอนนี้เลยซึ่งส่วนใหญ่ผู้ร่วมพิธีก็จะมอบซองใส่เงินช่วยงานให้เจ้าภาพเช่นกันพร้อมกล่าวขอบคุณและกล่าวคำอำลา
การเผาศพในปัจจุบัน
เมื่อแขกทยอยกลับกันไปบ้างแล้วเหลือแต่ผู้ที่สนิทสนมกับเจ้าภาพซึ่งรออยู่รอบๆ เมรุ สัปเหร่อจะทำการเปิดโลงศพเพื่อให้ลูกหลานได้ดูหน้าผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย แล้วจึงต่อยผลมะพร้าวให้แตกเอาน้ำมะพร้าวซึ่งถือกันว่าเป็นน้ำสะอาดบริสุทธิ์ล้างหน้าศพแล้วจึงนำเข้าเตาเผา
หากเป็นผู้มีฐานะดี จะจัดสร้างเมรุเผาศพขึ้นมาต่างหากมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม เวลาเผาก็ใช้วิธีจุดลูกหนูเป็นชนวนให้วิ่งตามเส้นเชือกไปสู่โลงศพ
การเอาผ้าโยนข้ามศพ
ประเพณีบางแห่งจะมีการนำผ้าขาวหรือเสื้อผ้าของผู้ตายตัวหนึ่งโยนไปมาข้ามกองไฟที่กำลังลุกไหม้ ๓ ครั้ง เป็นปริศนาธรรมหมายถึงว่าผู้ตายได้ข้ามพ้นของร้อนทั้ง ๓ อย่างไปพ้นแล้วของร้อนนั้นได้แก่ โลภะ คือความโลภ โทสะ คือ ความโกรธ และ โมหะ คือ ความหลง
ผ้านั้นบางทีก็ใช้ผ้าขาวที่คลุมโลงเมื่อโยนแล้วให้นำไปถวายพระหรือให้เป็นทานแก่คนยากจน
การชักฟืน ๓ ดุ้น

ในสมัยโบราณ ทำการเผาศพกันที่เชิงตะกอนเรียกว่าเผาสดคือนำกองฟืนมาสุมกันแล้วนำศพไปวางไว้ข้างบน เมื่อจุดไฟเผาแล้วผู้มาร่วมพิธีต้องรอสัปเหร่อชักฟืนออกมา ๓ ดุ้นก่อนจึงจะกลับบ้านได้เป็นอุบายให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสังขารเมื่อตายแล้วร่างย่อมถูกเผามอดไหม้ทิ้งไว้แต่คุณงามความดี หรือเป็นปริศนาธรรมว่าฟืนติดไฟทั้ง ๓ นั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โทสะ โมหะเป็นกองไฟที่แผดเผาให้เร่าร้อนอยู่ในวัฏสงสารเมื่อชักออกหรือหลุดพ้นได้แล้วย่อมพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
เมื่อกลับจากงานศพ
สำหรับผู้ไปร่วมพิธีเผาศพหรือไว้อาลัยผู้ตายก่อนทำการเผาหรือเมื่อไปฟังพระสวดอภิธรรมศพ เมื่อกลับถึงบ้านแล้วให้ล้างหน้าล้างตาก่อนเข้าบ้านบางทีนำใบทับทิมใส่ในขันแล้ววักน้ำในขันนั้นล้างหน้าเพื่อความเป็นสิริมงคล บางทีมีคติความเชื่อว่าเมื่อกลับจากงานศพต้องเดินวกวนอ้อมไปอ้อมมา เพื่อไม่ให้ผีตามมาถึงบ้านได้สำหรับเจ้าภาพและลูกหลาน หลังจากทำพิธีเผาแล้วเมื่อจะเดินทางกลับบ้านต้องกลับลวดเดียวให้ถึงบ้านเลย ห้ามไปแวะที่อื่นผู้ที่ถือรูปของผู้ตายก็เช่นเดียวกันให้นำรูปกลับมารวดเดียวให้ถึงบ้านอย่าแวะกลางทางแล้วนำรูปไปติดไว้ในที่อันสมควร
การบวชหน้าศพ (บวชหน้าไฟ)
ลูกหลานผู้ชายของผู้ตายที่อายุน้อยยังไม่ได้อุปสมบท ก็จะทำการบวชเณรหน้าศพส่วนใหญ่นิยมบวชก่อนวันเผา ๑ วัน หรือ ๓ วัน เมื่อทำพิธีเผาเสร็จแล้วจึงลาสึกการบวชก็เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายและเพื่อให้ผู้ตายได้เห็นชายผ้าเหลืองของลุกหลานซึ่งเชื่อกันว่าเป็นธงชัยสามารถช่วยฉุดดึงให้พ้นจากขุมนรกได้ดังนั้นผู้ใดมีลูกชายหลานชายก็อยากจะได้บวชให้แต่มาจบชีวิตลงเสียก่อนลูกหลานจึงบวชหน้าศพหรือบวชหน้าไฟให้ และเมื่ออายุครบอุปสมบท หรือบวชพระก่อนบวชลูกหลานก็จะทำการจุดธูปบอกกล่าวให้ญาติผู้ล่วงลับร่วมอนุโมทนาอีกครั้งหนึ่ง
วันห้ามเผาศพ
มีคติความเชื่อเกี่ยวกับการเผาศพอยู่หลายนัย คือ ห้ามเผาวันคี่วันข้ามแรม ต้องเผาวันคู่ และยังห้ามเผาในวันพระและศุกร์
ส่วนใหญ่ยังคงนิยมถือกันแก่ในเรื่องห้ามเผาวันศุกร์เพราะถือกันว่าวันนี้เป็นวันดี เหมาะแก่การทำงานมงคลอันเนื่องมาจากคำว่าศุกร์ไปคล้ายกับคำว่าสุข และคำว่าศุกร์นี้ยังมีความหมายคล้ายกับคำว่าสุก คือ เผาไม่ไหม้ อะไรทำนองนี้
สำหรับวันห้ามเผาวันพระนั้นเพราะในวันนี้พระท่านอาจมีกิจธุระมากถ้าในช่วงเข้าพรรษาอาจต้องเข้าโบสถ์ฟังสวดปาฎิโมกข์ หรือมีคนมาทำบุญกันที่วัดมากแต่ในปัจจุบันการเผาวันพระก็ค่อนข้างสะดวก เพราะวัดส่วนใหญ่อยู่ใกล้ชุมชน
การเก็บกระดูก
เมื่อทำการเผาเสร็จแล้วสัปเหร่อจะทำการแยกธาตุเก็บกระดูกใส่โกศที่ญาตินำไปให้ไว้ส่วนเถ้าก็ใช้ผ้าขาวห่อในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันเผา ญาติจะมารับโกศเพื่อนำไปไว้ที่บ้านหรือมีการทำบุญเลี้ยงอาหารพระที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย
โกศใส่กระดูกผู้ตายนั้นบางทีก็เอาไปไว้บนหิ้งบูชาที่บ้านบางคนก็นำไปใส่ไว้ในเจดีย์ประจำตระกูลซึ่งส่วนใหญ่สร้างไว้ที่วัดหรือบรรจุตามช่องซุ้มของประตูกำแพงวัด
เมื่อถึงวันสงกรานต์ญาติและลูกหลานของผู้ตายก็จะนำผ้าบังสุกุลมาทอดเพื่อให้พระมาชัก หรือพิจารณาผ้า เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายส่วนใหญ่นิยมทำกันในช่วงเทศกาลเช่น วันตรุษ วันสารทหรือวันสงกรานต์และหากคิดถึงผู้ตายที่ล่วงลับไปแล้ว จะทำวันไหนอีกก็ได้ตามแต่สะดวก หรือทำบุญตักบาตรกรวดน้ำไปให้ผู้ตาย
สำหรับเถ้านั้นบางทีก็นำไปบรรจุรวมกับโกศในเจดีย์ หรือนำเฉพาะเถ้าไปลอยน้ำส่วนเสื้อผ้ามุ้งหมอนข้าวของเครื่องใช้ของผู้ตายส่วนใหญ่นิยมถวายวัดหรือมอบเป็นทานให้แก่คนยากจนผู้ที่รับก็จะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตาย


การทำบุญร้อยวัน
หลังจากเก็บกระดูกแล้ว เมื่อครบวันตาย ๗ วัน ๕๐ วัน และ ๑๐๐ วันจะมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย แต่มักนิยมรวมไปทำ ๑๐๐ วันเลยทีเดียวในวันนี้ญาติพี่น้องและลูกหลานของผู้ตายจะมาพร้อมกันที่วัดไม่ต้องใส่ชุดไว้ทุกข์หรือขาวดำอีก หากแต่งชุดขาวดำไว้ทุกข์ให้ผู้ตายร้อยวันในวันนี้ก็สามารถออกทุกข์ คือ กลับไปนุ่งห่มเสื้อผ้ามีสีสันได้เหมือนเดิม
สิ่งของที่ต้องเตรียมก็คือ รูปภาพของผู้ตายส่วนใหญ่จะใช้ภาพที่ตั้งหน้าโลง ในช่วงที่ทำพิธีสวดพระอภิธรรรมนั่นเองพร้อมโกศใส่กระดูก นำมาใส่พาน พันสายสิญจน์ที่โกศและรูป ไปวางไว้ในพานข้างพระสงฆ์รูปที่เป็นประธาน
เมื่อได้เวลาซึ่งส่วนใหญ่จะก่อนเพลพระที่นิมนต์ไว้ ๙ รูปจะมาสวดพุทธมนต์ เสร็จแล้วเจ้าภาพจึงถวายจตุปัจจัยพระสวดอนุโมทนา และให้พร เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายต่อจากนั้นจึงเลี้ยงอาหารเพลพระ ซึ่งมักนิยมเลี้ยงหมดวัดเสร็จแล้วจึงมีการสวดอนุโมทนาและกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล อีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนเหล่านี้ไม่มีกำหนดตายตัว บางแห่งอาจผิดแผกแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเพณีท้องถิ่นนิยม
ที่มา : ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย