*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

*** การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพ่อใหญ่ครูเส โคตะขุน ***

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กรณีศึกษาการปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน

กรณีศึกษาการปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน


กรณีศึกษาการปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสาน...ผลการศึกษาจากการติดตามนโยบายและการเก็บข้อมูลปรากฏการณ์จากพื้นที่เกี่ยวกับพืชพลังงาน โดย "คณะทำงานศึกษาพืชพลังงานอีสาน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก อีสาน" ที่ได้ทำการศึกษาข้อมูลนโยบายพืชพลังงานและนำเสนอข้อเท็จจริง จากพื้นที่ต่างๆ โดยมีการศึกษาแหล่งปลูกจากการส่งเสริมของศูนย์วิจัย การพบเห็นตามเส้นทางต่าง ๆ รวมถึงการสอบถามจากเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน และลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง


สถานการณ์การปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคอีสาน
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ รัฐบาลเริ่มส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมันใน พ.ศ.2511 และเริ่มส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นใน พ.ศ.2530 เป็นต้นมา ในส่วนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มรัฐบาลเริ่มส่งเสริม ใน พ.ศ.2517 โดยมีการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมอาหาร สบู่ ยา เทียนไข เป็นต้น แต่การทำสวนปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยไม่สามารถแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าและมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าไทย เมื่อมีการเปิดการค้าเสรีไทย-อาเซียน ประเทศไทยต้องลดภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์มเหลือร้อยละ 5 ใน พ.ศ.2546 และต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ใน พ.ศ.2548 ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันผันผวน และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย

ใน พ.ศ.2548 รัฐบาลมีแผนนำน้ำมันปาล์มมาผลิตไบโอดีเซล โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 กำหนดให้ใช้ไบโอดีเซล B5 (ส่วนผสมไบโอดีเซลร้อยละ 5) ทั่วประเทศในปี 2554 และเพิ่มขึ้นเป็นไบโอดีเซล B10 (ส่วนผสมไบโอดีเซลร้อยละ 10) ในปี 2555 นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายขยายพื้นที่สวนปาล์มจากประมาณ 2.2 ล้านไร่ ใน พ.ศ.2547 เป็น 10 ล้านไร่ ใน พ.ศ.2547 -2572 จึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่ปลูก และเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไร่เพิ่มมากขึ้น

พัฒนาการการปลูกปาล์มน้ำมัน ในภาคอีสาน
ความสำคัญของพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมันในฐานะพลังงานทดแทนน้ำมันจากธรรมชาติ จากปัญหาพลังงานใต้ภิภพที่มีน้อยลง การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อทำไบโอดีเซล กระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพลังงานได้มีความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกในภาคอีสาน ได้มีการคัดเลือกพื้นที่เหมาะสมในจังหวัด เริ่มต้นที่จังหวัดหนองคายโดยพื้นที่เป้าหมายต้องเป็นพื้นที่ที่ มีระบบน้ำชลประทาน ส่วนพื้นที่ลุ่มต้องสามารถระบายน้ำได้ในฤดูฝน สภาพดินถือว่าเหมาะสมเกือบทุกอำเภอของจังหวัดหนองคาย แต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือแหล่งน้ำ และต้องเพิ่มเติมการจัดการพื้นที่ ซึ่งแตกต่างจากภาคใต้ในด้านการรักษาความชื้นในดินต้อง ปลูกโดยใช้วัสดุคลุมโคนต้น ลดการสูญเสียน้ำ

นายธีระชัย แสนแก้ว รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรฯ จึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันดีเซลลง 10% ภายในปี 2555 หรือคิดเป็นความต้องการใช้ไบโอดีเซลจำนวน 8.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบด้านการผลิตและกำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการทำโครงการนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเลือก จ.หนองคาย เป็นพื้นที่นำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมัน

ทั้งนี้
กรมวิชาการเกษตรได้ทำการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และอากาศของ จ.หนองคาย และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า มีศักยภาพที่จะปลูกปาล์มน้ำมันและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับปาล์มทางภาคใต้ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย จัดทำแปลงทดสอบปลูกขนาดใหญ่พื้นที่รวม 6 หมื่นไร่ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำถึงข้อดีของการปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้งให้การสนับสนุนต้นกล้าปาล์มคุณภาพดีแก่เกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ซึ่งล่าสุดราคารับซื้อผลผลิตปาล์มอยู่ที่ 2.5 - 4 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก
การผลิตเป็นไบโอดีเซล จะประสานกระทรวงพลังงาน จัดทำแผนการผลิตปาล์มน้ำมันให้สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งโรงงานผลิตไบโอดีเซลในพื้นที่ เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้รวมกลุ่มเกษตรกร กลุ่มละประมาณ 3,000 ไร่ ต่อ 1 โรงงาน เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรต่อไป ( แนวหน้า วันที่ 20/3/2008 )

ภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกระทรวงเกษตรฯจึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันดีเซลลง 10% ภายในปี 2555 หรือคิดเป็นความต้องการใช้ไบโอดีเซลจำนวน 8.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบด้านการผลิตและกำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการทำโครงการนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเลือก จ.หนองคาย เป็นพื้นที่นำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเกี่ยวกับการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศ แผน 5 ปีของกระทรวงฯ (2551-2554) กำหนดให้มีพื้นที่ปลูกปาล์ม 6 ล้านไร่ เป็นการปลูกภายในประเทศ 5 ล้านไร่ และประเทศเพื่อนบ้าน 1 ล้านไร่ โดยกระทรวงพลังงาน จะให้เงินทุนหมุนเวียน 7,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำมาผลิตไบโอดีเซลทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซล 10% ภายในปี 2555 และในภาคอีสานตั้งเป้าขยายพื้นที่ประมาณ 328,000 ไร่ และตั้งโรงงาน 2 โรงงาน

ผลการศึกษาผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน

ผลการศึกษาพบว่า ยังมีความเห็นที่แตกต่างของข้อมูลทางนักวิชาการที่ทำการศึกษาของนักวิชาการ 3 ท่าน คือ ดร.สมเจตน์ ประทุมมินทร์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญเพาะด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และ คุณนคร สาระคุณ อดีตนักวิชาการ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้

ดร.สมเจตน์ ประทุมมินทร์ รักษาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นนักวิชาการที่เห็นด้วยกับการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคอีสาน มีความเห็นว่าแนวโน้มความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันมีไม่จำกัดและสามารถต่อยอดมูลค่าเพิ่มได้อีกมาก ตามแผนการพัฒนาพลังงานของประเทศ และมีความเห็นว่าพื้นที่ภาคใต้ที่สามารถปลูกปาล์มได้เหลือน้อยและผลิตปาล์มได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงาน ดังนั้นภาคอีสานมีพื้นที่ที่มีศักยภาพที่สามารถขยายพื้นที่ปลูกได้มากกว่า 1 ล้านไร่ ซึ่งมีการทดลองในแปลงที่ จ.หนองคาย จ.อำนาจเจริญ จ,อุบลราชธานี ทำให้มีความมั่นใจว่าภาคอีสานมีศักยภาพที่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันได้ โดยได้ทำการสำรวจและจัดทำแผนที่ศักยภาพการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ จ.หนองคาย จ.อุบลราชธานี ( อ.น้ำยืน อ.นาจะหลวย อ.บุณฑริก) จ.ศรีสะเกษ นครพนม สกลนคร ยโสธร มุกดาหาร เป็นต้น โดยได้ทำการปลูกทดสอบ รวมถึงการเก็บข้อมูลในแปลงของเกษตรกร ซึ่งพบว่าในภาคอีสานพื้นที่ที่เป็นราบลุ่ม มีลักษณะดินเป็นดินทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย ซึ่งปลูกข้าวไม่ได้ผล หรือให้ผลผลิตต่ำมาก เพราะดินชั้นบนไม่เก็บน้ำ และเมื่อปลูกมันสำปะหลังก็มักประสบปัญหาหัวมันเน่า จากการสำรวจพบว่าพื้นที่ลักษณะนี้มีระดับใต้ดินอยู่ตื้นไม่เกิน 1 เมตร จากผิวดิน ซึ่งมีศักยภาพสูงในการปลูกปาล์มน้ำมัน จากการศึกษาพบว่าแปลงทดสอบของกรมวิชาการเกษตรที่ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคายเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ในปีที่ 2 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1.3 ตันต่อไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 22 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับมาตรฐานเดิมที่วางไว้เพียง 900 กิโลกรัมต่อไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 19 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงมั่นใจว่าพื้นที่เขตภาคอีสานสามารถปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดี (เคหการเกษตร ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 )

ส่วนงานศึกษาเรื่องความเหมาะสมของสภาพอากาศในการผลิตปาล์มน้ำมัน โดย ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้มีข้อสรุปว่าปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันคือ จำนวนวันที่ดินมีความชื้น เพียงพอ โดยเมื่อพิจารณาปริมาณน้ำฝนเทียบกับอัตราศักยภาพการระเหยน้ำของพืช และให้ดินเก็บปริมาณน้ำไว้ได้ปริมาณ 100 มิลลิเมตร พบว่าพื้นที่ใต้จากเส้นรุ้งที่ 10 ของประเทศไทยมีจำนวนวันที่ที่ดินยังมีความชื้นให้พืชได้ใช้ประมาณ 285 วัน แต่พื้นที่เหนือเส้นรุ้งที่ 14 คือ ภาคอีสานจะมีจำนวนวันต่ำกว่า 225 วัน กล่าวคือเขตภาคอีสานจะมีวันที่ต้นไม้จะขาดน้ำ หรือไม่สามารถดูดน้ำจากดินได้อีกนานถึง 140 วัน หรือ 4.6 เดือน หากเป็นต้นไม้ใบเลี้ยงคู่จะทิ้งใบเพื่อตัดการเสียน้ำ แต่ต้นปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่มีการทิ้งใบระหว่างที่ขาดน้ำ ด้วยการปิดปากใบ ซึ่งทำให้ปาล์มไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ยิ่งกว่านั้นใบต้องหายใจตลอดเวลา อาหารที่สะสมในต้นจึงถูกนำมาใช้เพื่อการยังชีพ เป็นการลดการสะสมอาหารที่จะส่งไปเลี้ยงทะลาย

โดยสรุปของงานศึกษาชิ้นนี้ คือ ปาล์มน้ำมันเป็นพืช ที่ทนและสามารถขึ้นได้ในหลายท้องที่ แต่การสร้างทะลายเป็นภาระที่หนักของต้น ไม่เพียงสภาพอากาศที่ต้องมีความชื้นสูงพอให้ตาดอกเป็นดอกตัวเมียไม่ฝ่อ ต้นปาล์มน้ำมันยังต้องใช้น้ำและอาหารที่สะสมเพื่อเลี้ยงทะลาย ดังนั้นการกระจายของฝนที่ต้องมีทุกเดือน เพื่อสร้างความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศในทรงพุ่มได้ จึงเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการสร้างผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่สุด

และความเห็นของคุณนคร สาระคุณ อดีตนักวิชาการผู้ทำงานวิจัยเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันตามศักยภาพของที่ดินหรือโซนนิ่งในเขตภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง กรมวิชาการเกษตร ให้ความเห็นต่อพื้นที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมันว่าระยะแรกให้พิจารณาว่ามีน้ำ ดินเหมาะสมหรือเปล่า ความชื้นในอากาศต้องไม่ต่ำกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ แต่พื้นที่ในภาคอีสานแม้บางที่มีดิน น้ำดี แต่มักประสบปัญหาเรื่องความชื้นในอากาศที่แห้งแล้งยาวนาน 4-6 เดือน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการติดผลของปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะช่วงออกดอกและการผสมเกสรที่ต้องมีอุณหภูมิและความชื้นในอากาศเหมาะสม ถ้าช่วงผสมเกสรอากาศแห้งปาล์มน้ำมันจะไม่ติดผล เป็นความเสี่ยงของเกษตรกรที่ปลูกปาล์มในภาคอีสาน

ประมวลสถานการณ์การปลูกปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ภาคอีสาน

การส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานมีรูปแบบการส่งเสริมในลักษณะการให้ข้อมูลที่สร้างแรงจูงใจ ให้ข้อมูลด้านดีที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เป็นรายได้ที่มั่นคงในอนาคต จากการศึกษาระยะแรกพบว่าการส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน มี 3 ลักษณะ คือการส่งเสริมโดยหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร เช่น ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จังหวัดหนองคายและศูนย์วิจัยพืชไร่ จังหวัดอุบลราชธานี การส่งเสริมโดยกลุ่มทุนบริษัทจำหน่ายกล้าพันธุ์ และ ความสนใจของเกษตรกรที่อยากสร้างรายได้จากพืชเศรษฐกิจ ซึ่งมีความเป็นมาและรายละเอียดที่แตกต่างกันดังนี้

1. การส่งเสริมผ่านโครงการวิจัยและพัฒนา โดยศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย
ภาวะราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกระทรวงเกษตรฯจึงร่วมกับกระทรวงพลังงานจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา และส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลทดแทนการใช้น้ำมันดีเซล ตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันดีเซลลง 10% ภายในปี 2555 หรือคิดเป็นความต้องการใช้ไบโอดีเซลจำนวน 8.5 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบด้านการผลิตและกำหนดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยกำหนดให้ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นฐานการปลูกปาล์มน้ำมัน ควบคู่ไปกับการทำโครงการนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเลือก จ.หนองคาย เป็นพื้นที่นำร่องในการปลูกปาล์มน้ำมัน

กรมวิชาการเกษตรได้ทำการวิเคราะห์สภาพพื้นที่และอากาศของ จ.หนองคาย และพื้นที่ใกล้เคียง พบว่า มีศักยภาพที่จะปลูกปาล์มน้ำมันและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับปาล์มทางภาคใต้ จึงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย จัดทำแปลงทดสอบปลูกขนาดใหญ่พื้นที่รวม 6 หมื่นไร่ พร้อมทั้งจัดฝึกอบรมและให้คำแนะนำถึงข้อดีของการปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้งให้การสนับสนุนต้นกล้าปาล์มคุณภาพดีแก่เกษตรกรในพื้นที่ที่ต้องการเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ที่มั่นคงในอนาคต ซึ่งล่าสุดราคารับซื้อผลผลิตปาล์มอยู่ที่ 2.5 - 4 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคายจึงเป็นหน่วยงานที่ จำหน่าย ต้นกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 2 จำนวน 800,000 ต้น ให้เกษตรกร ที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนาศูนย์ต้นแบบการจัดการวัตถุดิบและพัฒนาการผลิตพลังงานทดแทนแบบครบวงจรนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำไปปลูกไร่ละ 22-25 ต้น โดยกำหนดเงื่อนไขคือ พื้นที่ปลูกปาล์มจะต้องผ่านการประเมินความเหมาะสมโดยนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรจะต้องชำระค่าต้นกล้าคืนในปีที่ 4 โดยใช้คืนในรูปทะลายปาล์มสด คิดตามราคาผลผลิตราคาต้นละ 50 บาท

ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ จ.หนองคาย ได้นำต้นกล้าไปปลูกแล้วจำนวน 37,454 ต้น พื้นที่ 1,502 ไร่ และมีเกษตรกรผ่านการสำรวจดินเพิ่มอีกกว่า 500 ราย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ซึ่งพร้อมจะนำต้นกล้า 200,000 ต้นไปปลูกในเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้มีแผนเร่งสำรวจพื้นที่ใน จ.หนองคาย และอุบลราชธานี เพิ่มเติมอีกกว่า 30,000 ไร่ ภายในปี 2551

ผลจากการทำโครงการศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย ได้จัดทำโครงการผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมัน เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด คือ หนองคาย อุบลราชธานี และอุดรธานี ปี 2550 คาดว่าทั่วภาคอีสานจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นไร่ จากที่ปลูกไปแล้ว 6 หมื่นไร่

2. การส่งเสริมโดยบริษัทเอกชน
จุดเริ่มต้นของการปลูกปาล์มในพื้นที่จังหวัดเลย มีบริษัทผลิตกล้าปาล์มแห่งหนึ่งเข้าไปส่งเสริม ในปี 2548 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 182 รายคิดเป็นพื้นที่ปลูก 1.4 พันไร่ นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่น ๆ ที่มีธุรกิจกล้าปาล์มและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ส่งเสริมเกษตรกรรวม 288 ราย คิดเป็นพื้นที่ 4 พันไร่ สรุปปัจจุบันจังหวัดเลยมีการปลูกปาล์มแล้ว 5.4 พันไร่ คิดเป็นปาล์มจำนวน 1.2 แสนต้น หากรวมจังหวัดใกล้เคียง คือเพชรบูรณ์ และหนองบัวลำภู คาดว่ามีพื้นที่ปลูกปาล์มไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นไร่

ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดเลยมีพื้นที่ปลูกปาล์มแล้วประมาณ 1 หมื่นไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วราว 1 พันไร่ นายเจรียม ชาชุมพร ประธานกรรมการบริษัท เมืองเลยปาล์มน้ำมัน จำกัด ตั้งอยู่ที่ อ.เอราวัณ จ.เลย ดำเนินธุรกิจรับซื้อผลปาล์มดิบส่งขายให้กับโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ ให้ข้อมูลถึงการสำรวจพื้นที่จังหวัดเลย พบเกษตรกรสนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก โดยบางส่วนได้โค่นสวนผลไม้ เช่น ลำไย และมะขามหวาน เพื่อปลูกปาล์มแทน เนื่องจากราคาลำไยที่ตกต่ำอย่างมากตั้งแต่ปี 2547-2548 ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ ทยอยตัดต้นลำไยทิ้ง แล้วเริ่มปลูกปาล์มน้ำมันแทน โดยเชื่อว่าราคาผลผลิตจะพุ่งสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน และ มีแนวโน้มว่า เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น สำหรับฤดูกาลนี้ โดยจะทำการปลูกทดแทนพืชอื่นๆ ที่ผลผลิตราคาไม่ดี อาทิเช่น ปลูกแทนลำไย หรือปลูกบนพื้นที่นาร้างหรือนาที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก รวมถึงที่ดอนบางแห่ง อาทิเช่น ต.หนองหญ้าปล้อง อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งที่นาบริเวณนี้มีน้ำท่วมซ้ำซากจนเกษตรกรบางรายต้องเลิกทำนาข้าว หันมาปลูกปาล์มแทนแล้วราว 200 ไร่

3. ความสนใจของเกษตรกรที่อยากสร้างรายได้จากพืชเศรษฐกิจ
จากข้อมูลในพื้นที่พบว่ามีเกษตรกรที่สนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันและได้ดำเนินการศึกษาหาความรู้ ในการปลูกปาล์มเพื่อค้นหาทางเลือกในการสร้างเศรษฐกิจครอบครัว เช่น พื้นที่ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีษะเกษ

กรณีศึกษาพื้นที่

การศึกษาข้อมูล ปรากฏการณ์จากพื้นที่โดยคณะทำงานศึกษาพืชพลังงานอีสาน ได้ทำการศึกษาข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อเท็จจริง จากพื้นที่ต่างๆ โดยมีการศึกษาแหล่งปลูกจากการส่งเสริมของศูนย์วิจัย การพบเห็นตามเส้นทางต่าง ๆ รวมถึงการสอบถามจากเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน และลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เกษตรกรโดยตรง สามารถรวบรวมผลจากการศึกษาได้ 4 กรณี ดังนี้

1. กรณีศึกษา พื้นที่บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย

จากการศึกษาข้อมูลพื้นที่ บ้านนาบอน ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย พบว่าในพื้นที่มีเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วโดยบริษัทเอกชนเข้ามาส่งเสริม จุดเริ่มต้นของการปลูกปาล์มในพื้นที่จังหวัดเลย มีบริษัท จำหน่ายกล้าปาล์มน้ำมัน เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ โดยปี 2548 มีเกษตรกรร่วมโครงการ 182 รายคิดเป็นพื้นที่ปลูก 1.4 พันไร่ นอกจากนี้ยังมีบริษัท ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวเนื่องร่วมส่งเสริมเกษตรกรรวม 288 ราย คิดเป็นพื้นที่ 4 พันไร่ สรุปปัจจุบันจังหวัดเลยมีการปลูกปาล์มแล้ว 5.4 พันไร่ คิดเป็นปาล์มจำนวน 1.2 แสนต้น หากรวมจังหวัดใกล้เคียง คือเพชรบูรณ์ และหนองบัวลำภู คาดว่ามีพื้นที่ปลูกปาล์มไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นไร่

ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดเลยมีพื้นที่ปลูกปาล์มแล้วประมาณ 1 หมื่นไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วราว 1 พันไร่ มีการจัดตั้งบริษัท เมืองเลยปาล์มน้ำมัน จำกัดเป็นการร่วมหุ้นของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ตั้งอยู่ที่ อ.เอราวัณ จ.เลย ดำเนินธุรกิจรับซื้อผลปาล์มดิบส่งขายให้กับโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้

นายประทับ สืบสาย เกษตรกรและสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน บ้านนาบอน หมู่ 9 ที่ ต.นาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย มีการปลูกปาล์มในพื้นที่ 35 ไร่ โดยแรงจูงใจสำคัญของการปลูกปาล์มน้ำมันคือ การเห็นประสบการณ์จากพื้นที่ภาคใต้ ผ่านการเข้าไปทำงานรับจ้างในสวนปาล์มน้ำมันที่จังหวัดชุมพร ของลูกชาย ซึ่งเห็นว่าได้รับผลผลิตดี ราคาขายและรายได้ดี ประกอบกับสภาพพื้นที่ที่มีอยู่ได้มีการทำการเกษตรมาหลายรูปแบบทั้งสวนมะขามหวาน ไร่ข้าวโพด ไร่ขิง มันสำปะหลัง อ้อย เป็นเศรษฐกิจที่ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับครอบครัวได้ นายประทับและครอบครัวจึงได้มีความพยายามศึกษาเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ด้วยการเดินทางไปศึกษาดูงานที่จังหวัดชุมพร การศึกษาข้อมูลจากเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ และการศึกษาข้อมูลจากนักวิชาการของศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย จึงตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งมีแรงจูงใจสำคัญ คือ รายได้ และเห็นว่าเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ยาวนาน ถึง 25 ปี โดยที่ไม่ลงทุนปีต่อปี เหมือนพืชไร่ อื่น ๆ ข้อมูลเบื้อต้นจากการศึกษาด้วยตัวเองทำให้ตัดสินใจลงทุนปรับเปลี่ยนพื้นที่สู่การปลูกปาล์มน้ำมัน และมีการสร้างเครือข่ายผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในเขต ต.นาบอน ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 400 ราย ที่สนใจและสั่งกล้าพันธุ์ปาล์ม




ต้นทุนการผลิต
จากการศึกษาต้นทุนการผลิตในพื้นที่ 35 ไร่การคำนวณต้นทุนการผลิตเบื้องต้น พบว่าเกษตรกร มีการลงทุนไปกว่า 309,130 บาท ในระยะเวลา 3 ปีผ่านมาแล้วได้ผลผลิตตอบแทนเพียง 1,986 บาท ผลผลิตที่ได้รับ 890 กิโลกรัม เมื่อนำไปขายได้ราคา 2-3 บาท มีรายได้สุทธิจำนวน 1,986 บาท คิดเป็นรายละเอียดการลงทุน โดยซื้อต้นกล้าปาล์ม พันธุ์ยังกัมบิมาปลูกในพื้นที่35 ไร่ จำนวน 22 ต้นต่อไร่ ใช้ระยะปลูก 9x9 ราคาต้นละ 160 – 169 บาท รวมค่ากล้าพันธุ์ 130,130 บาท

การดูแลรักษา
ค่าปุ๋ย เนื่องจากมีการลงทุนในการซื้อต้นกล้าและการปรับพื้นที่ไปเป็นจำนวนมากการใช่ปุ๋ยจึงพยายามหาทางลดต้นทุนโดยการทำปุ๋ยใช้เอง ได้นำเอาวัสดุจากในท้องถิ่น เช่น กากถั่ว เปลือกถั่วเหลืองถั่วเขียว มูลสัตว์ ทำปุ๋ยชีวภาพที่มีในท้องถิ่น 2 ตันต่อปี ราคาตันละ 3,000 บาท เวลา 3 ปี รวมค่าวัสดุ 9,000 บาท ส่วนการพัฒนาระบบน้ำใช้บ่อนำขนาดใหญ่กลางแปลงจัดการโดยใช้ท่อซีเมนต์และท่อพีวีซีและจัดทำระบบน้ำหยด เป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ( ธกส.) เป็นเงิน 150,000 บาท และค่าจัดการที่ดิน มีการใช้แรงงานคนในครอบครัว และซื้อน้ำมันรถไถเพื่อปรับพื้นที่ จำนวน 20,000 บาท จากข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่คุ้มค่าปุ๋ยเคมี ปุ๋ยปรับสภาพดิน ที่ต้องบำรุงต้นปาล์มตามสภาพ เช่น การใช้ซิลิกอนรองก้นหลุม ใช้ปุ๋ยเคมีตามการวิเคราะห์อาการและได้รับคำแนะนำตามหลักวิชาการ รวมค่าการลงทุนในการซื้อต้นกล้าปาล์มและการดูแลรักษาเป็นเงินจำนวน 309,130 บาท

การให้ผลผลิต ในปีที่ 3 (2550) สามารถตัดทะลายปาล์มได้โดยการตัดกำหนดระยะเวลา 15 วัน จึงสามารถตัดได้ 1 ครั้ง ปีแรกให้ผลผลิต 4 รอบการเก็บเกี่ยว ดังนี้
ครั้งที่ 1 ได้ผลผลิต จำนวน 198 กิโลกรัม ราคา 3 บาท = 594 บาท
ครั้งที่ 2 ได้ผลผลิต จำนวน 80 กิโลกรัม ราคา 2 บาท = 160 บาท
ครั้งที่ 3 ได้ผลผลิต จำนวน 247 กิโลกรัม ราคา 2 บาท = 494 บาท
ครั้งที่ 4 ได้ผลผลิต จำนวน 369 กิโลกรัม ราคา 2 บาท = 738 บาท
นายประทับ มีแหล่งตลาดที่อำเภอเอราวัณ มีการรับซื้อผลผลิตราคากิโลกรัมละ 3 บาท โดยบริษัทเมืองเลยปาล์ม มีลานเทรับซื้อจากเครือข่ายผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และมีพ่อค้าคนกลางรับซื้อในท้องถิ่น ราคากิโลกรัมละ 2 บาท (ราคาเมื่อต้นปี 2551) และในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2551 ราคาผลผลิตลดต่ำลง เหลือ 1 บาท และไม่มีตลาดขายทะลายปาล์ม จนต้องปล่อยทะลายปาล์มที่ตัดได้แล้วทิ้ง

การขยายตัวของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพื้นที่อำเภอเชียงคาน กลุ่มเกษตรกรประมาณ 50 รายที่ปลูกในปี 2549 เริ่มให้ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว และมีเกษตรกรกว่า400 คน ที่ให้ความสนใจปลูกปาล์มน้ำมันโดยมีการเตรียมพื้นที่ด้วยการรื้อสวนมะม่วง สวนมะขามหวาน และสวนผลไม้อื่น ๆ รอการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ

3. กรณีศึกษาบ้านโคกเจริญ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
การศึกษาปาล์มน้ำมัน บ้านโคกเจริญ ต.ละลาย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ พบว่า เริ่มปลูกเมื่อปี 2547 – 2548 เกิดจากการไปศึกษาจากพื้นที่บ้ายห้วยฆ้อง อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ โดยผู้นำชุมชนและผู้สนใจจำนวน 5 คน ไปศึกษาแปลงของเกษตรกรที่ปลูกมานานและเริ่มให้ผลผลิตแล้ว เห็นว่าในพื้นที่นั้นสามารถให้ผลผลิตได้ดี การศึกษาดูงานในพื้นที่เกษตรกร 3 ครั้ง และได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานจากโรงงานสุขสมบูรณ์ และเห็นช่องทางการลงทุน การตลาด จึงตัดสินใจปลูกปาล์ม โดยซื้อพันธุ์จากที่ผ่านการรับรองจากบริษัทสุขสมบูรณ์ ใช้พันธุ์เทเนอรา

จากการสัมภาษณ์ นายวรจักร บุญสูง เกษตรกรบ้านโคกเจริญ พบว่าเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่บ้านโคกเจริญ จำนวน 30 ครัวเรือน รวมพื้นที่กว่า 500 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย มีพื้นที่การปลูกประมาณ 10 – 30 ไร่ มีการรวมกลุ่มกันเองภายในชุมชนเพื่อซื้อต้นกล้าปาล์ม และนัดหมายการตัดผลผลิตเพื่อขายทุกวันที่ 1 และวันที่ 15 ของเดือน

การปลูกและการดูแล
นายวรรจักร เริ่มปลูก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2548 ใช้ต้นกล้าพันธุ์เททเนอรา อายุประมาณ 8 เดือน ราคาต้นละ 59 บาท ช่วงเริ่มปลูกมีการให้น้ำต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือนโดยให้สัปดาห์ละครั้ง การใช้ปุ๋ยส่วนมากใช้ปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยคอก ที่สามารถหาซื้อได้ภายในชุมชน และใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15- 15 – 15 ราคากระสอบละ 1,300 บาท อัตรการใช้ปุ๋ยเฉลี่ยปีละ 3 - 4 ครั้งต่อปี ครั้งละ 1 กระสอบ

การตัดและจำหน่ายผลผลิต
การตัดทะลายปาล์ม มีการนัดหมายตัดพร้อมๆ กันทุกวันที่15 ของเดือน และ 15 วัน ตัด 1 ครั้ง โดยมีพ่อค้ามารับซื้อ ในชุมชน รับซื้อในราคากิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกช่องทางการขายนี้ นอกจากนี้มีลานเท (ร้ายไทยยนต์) ใน อ.กันทรลักษณ์ รับซื้อในราคา 3.20 บาท
ปริมาณผลผลิตในพื้นที่ 5 ไร่ ของนายวรจักร ให้ผลผลิต 1.7 ตัน ขายได้ราคา กิโลกรัมละ 3.20 – 4 บาท (ราคาหน้าโรงงานที่ชลบุรี 7 บาท)

จากการศึกษาในพื้นที่พบว่าเกษตรกรค่อนข้างมั่นใจว่าการลูกปาล์มจะให้ผลผลิตแต่ไม่มั่นใจว่าราคาจะเป็นอย่างไรเนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนขึ้น ลง อยู่ตลอดเวลา ในพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์จะสามารถให้ผลผลิตที่คุ้มค่าเนื่องจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. สภาพพื้นที่ ลักษณะดินเป็นดินร่วน ปนดินเหนียวเหมาะสม การให้น้ำให้เพียงระยะ 3 เดือนแรกและให้ในอัตรา สัปดาห์ ต่อครั้ง
2. การใช้ปุ๋ย เกษตรกรในพื้นที่มีการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอกที่หาง่ายในท้องถิ่น ลดปริมาณการซื้อปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง มีวิธีการใส่ปุ๋ยคอกโดยไม่ต้องเพิ่มการจัดการ ประหยัดแรงงานด้วยการนำปุ๋ยคอกใส่กระสอบปุ๋ยและผ่าด้านหนึ่งแล้วนำไปวางไว้ใกล้โคนต้นระยะห่างประมาณ 0.50 เมตร
3. การปลูกพืชแซม เพื่อสร้างรายได้เสริม ระยะ 1-2 ปีแรก เกษตรกรมีการปลูกพืชอายุสั้นแซมระหว่างต้น เช่น กล้วย มะละกอ มะเขือ มะเขือพวง ข้าวโพด พืชผักสวนครัวอื่น ๆ ที่เป็นรายได้ระยะที่ปาล์มยังไม่ให้ผลผลิต
4. การตลาด มีการจัดการผลผลิตโดยรวมกลุ่มกันนัดหมายตัดทะลายปาล์มพร้อมกันทำให้ผลผลิตมีมากพอให้บริษัทมารับซื้อถึงในชุมชน โดยเกษตรกรไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าขนส่ง วันขายชัดเจนทำให้สามารถวางแผนการตัด- ขายได้โดยผลผลิตไม่เสียน้ำหนัก
ส่วนการจัดการผลผลิตมีการตั้งเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กจำนวน 2 เครื่องจากโครงการ SML โดยผ่านกระบวนการแบบง่าย ๆ สกัดน้ำมันไปใช้กับรถไถนา

การขยายตัวในพื้นที่แถบนี้มีบ้านสามเสา บ้านห้วยตาสด บ้านโคกเจริญ หากประเมินจากจำนวนกล้าปาล์มที่บริษัทนำมาขายในพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ในแถบเทือกเขาพนมดงรัก

3. กรณีศึกษาบ้านนิคมแปลง 1 ตำบลชานุมาน อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
นายปราโมทย์ ทองแสง อายุ 50 ปี บ้านนิคมแปลง 1 ต.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ นายปราโมทย์เป็นคนอำเภอเขื่องในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ย้ายติดตามพ่อซึ่งเป็นทหารผ่านศึกมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านนิคมแปลง 1 ตั้งแต่นายปราโมทย์ยังเด็ก เมื่อปี 2513 ได้รับการจัดสรรที่ดินจากทางราชการ จำนวน 23 ไร่ นายปราโมทย์แต่งงานมีบุตร 3 คน กำลังเรียนระดับอุดมศึกษา 2 คน ชั้นประถมศึกษาอีก 1 คน ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างไถไร่ในพื้นที่ มีรถไถนา 3 คัน ครอบครัวได้ซื้อที่ดินเพิ่มสองแปลง แปลงละ 8 ไร่ รวมมีพื้นที่เพิ่มเป็น 16 ไร่ ปลูกมันสำปะหลัง กล้วย สับปะรด ที่ดินแปลงหนึ่งมีปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการพัฒนาถนนที่ตัดผ่านพื้นที่ได้มีการยกระดับผิวถนนและพัฒนาเป็นถนนลาดยางโดยไม่มีการวางท่อระบายน้ำบริเวณที่ดินนั้น ทำให้น้ำท่วมทุกปีส่งผลให้ การปลูกสวนกล้วยและสับปะรดขาดทุนทุกปี นายปราโมทย์สนใจปลูกยางพาราเนื่องด้วยพื้นที่น้ำท่วมจึงไม่สามารถปลูกยางพาราได้จึงสนใจปลูกปาล์มน้ำมัน โดยได้ไปศึกษาข้อมูลจากนายเส็ง บ้านห้วยฆ้อง ต.ป่าก่อ อ.ชานุมาน อ.อำนาจเจริญ จากประสบการณ์ของนายเส็งที่ปลูกมาแล้ว 9 ปี ( ปลูกเมื่อปี 2542 ) ที่เล่าว่าได้นำเอาทะลายปาล์มขนาดใหญ่หนัก 40 กิโลกรัม มาจากการไปรับจ้างที่ภาคใต้ นำมะเพาะเมื่อปี 2541 และเริ่มปลูกปาล์มในไร่มันสำปะหลัง 200 ต้น ในปี2542 หลังจากนั้น 3 ปี ก็ให้ลูกตัดผล แต่ไม่มีตลาด จึงต้องตัดไปให้หมูป่าที่เลี้ยงไว้กิน ประสบการณ์ของนายเส็งบอกว่าปาล์มน้ำมันสามารถทนน้ำท่วมได้ 2 - 3 เดือน

การตัดสินใจปลูกปาล์มของนายปราโมทย์ หลังจากไปศึกษาจากแปลงของนายเส็งซึ่งมีบทบาทในการขายกล้าปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่าด้วย ในราคาต้นละ 80 บาท แต่ขณะนั้นไม่มีกล้าปาล์ม จากนั้นได้ตัดสินใจสั่งซื้อกล้าปาล์มจากป้ายโฆษณาของบริษัทสหพันธ์ปาล์ม และมีนายหน้าอยู่ที่บ้านพรเจริญ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากบ้านนายปราโมทย์มากนัก ราคาต้นกล้าปาล์มลูกผสมเทเนอรา ราคาต้นละ 90 บาท บริการส่งถึงบ้าน จึงสั่งซื้อต้นกล้าจำนวน 475 ต้นเป็นเงินจำนวน 42,750 บาท นำมาปลูกในพื้นที่ 2 แปลง 16 ไร่ ใช้ระยะปลูก 7 x 8 เมตร ใช้วิธีการไถเบิกร่องแล้วขุดหลุมปลูกโดยไม่ได้ใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม

การดูแลรักษา ได้มีการจัดทำระบบน้ำในแปลงที่อยู่ใกล้หมู่บ้านลงทุนค่าอุปกรณ์ 8,000 บาท แล้วใช้แรงงานตัวเองในการติดตั้งระบบส่งน้ำและใช้น้ำจากระบบประปาของหมู่บ้านในระยะแรก ปัจจุบันได้ขุดเจาะบ่อบาดาลลงทุน 11,000 บาท ส่วนแปลงที่มีปัญหาน้ำท่วมไม่ต้องทำระบบน้ำ ปีที่ผ่านมา ( 2551) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 เพียงกระสอบเดียว เพราะเห็นว่าราคาปาล์มไม่สูง ไม่อยากลงทุน

ตลาดปาล์มน้ำมัน หลังจากตัดทะลายปาล์มได้นำไปขายที่จุดรับซื้อที่บ้านห้วยฆ้อง โดยมีลูกสาวนายเส็ง ตั้งเป็นจัดรับซื้อและมีรถบรรทุกจากบริษัทสุขสมบูรณ์ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรีมารับซื้อไปยังโรงงาน ในทุกวันที่ 1 และ วันที่ 15 ของทุกเดือน ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่ที่มีผลผลิตปาล์มน้ำมันแล้ว ในหลายหมู่บ้านเช่น บ้านคำเขื่อนแก้ว บ้านปากก่อ บ้านโคกก่อ และอำเภอชานุมาน

การให้ผลผลิตปาล์มอายุ 2 ปี ของนายปราโมทย์ ให้ทะลายประมาณ 20% ของจำนวนต้นทั้ง 2 แปลง ได้ตัดมาแล้ว 3 รอบ ได้ผลผลิตครั้งละ 500-600 กิโลกรัม บรรทุกไปขายให้กับจุดรับซื้อในพื้นที่ ราคากิโลกรัมละ 2.50 บาท ครั้งล่าสุดที่ตัดปาล์ม ( 15 ต.ค. 2551 ) และรอบล่าสุดไม่ได้ตัดปาล์มเนื่องจากติดภารกิจของครอบครัว

ปฏิกิริยาของคนในชุมชน ได้รับความสนใจจากเพื่อนบ้าน ค่อนข้างมาก ประเด็นที่สนใจคือ การปลูกปาล์มต้องรดน้ำหรือเปล่า ปลูกแล้วขายที่ไหน กี่ปีจะได้ขาย และหลักเกณฑ์ที่บอกว่าต้องส่งโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากตัดเป็นเงื่อนไขที่ชาวบ้านรับไม่ได้มากที่สุด เพราะเห็นว่ากดดันมากเกินไป

นายปราโมทย์ มีทัศนะต่อการขายผลผลิตว่าตลาดน่าจะเคลื่อนเข้ามาหาพื้นที่ในเร็ว ๆ นี้ แต่ราคารับซื้อปาล์มก็ไม่น่าจะสูง เพราะทราบว่าราคา 2-3 บาทต่อกิโลกรัมมานานแล้ว คาดว่าพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญน่าจะปลูกปาล์มไปแล้วกว่า 10,000 ไร่ ทั้งจากการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและการส่งเริมของบริษัทเอกชน หมู่บ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอชานุมาน เช่นบ้านห้วยสิ่ว ตำบลชานุมาน บ้านคำเดือย ตำบลคำเขื่อนแก้ว บ้านห้วยกอก บ้านนายาง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

ปัญหาที่พบ เนื่องจากปาล์มเป็นพืชใหม่ที่ไม่เคยรู้จักเลย หากว่ามีปัญหาอาการจะแสดงออกทางใบ ทางทะลายแต่ไม่มีความรู้เลย ดูไม่ออกและไม่มีใครมาแนะนำให้คำปรึกษาเลย ปีที่ผ่านมาปาล์มในแปลงน้ำท่วมหลังน้ำลดมีอาการใบไหม้เป็นจุดตายไป 3 ต้น ก็ยังไม่ทรายสาเหตุว่าตายเกิดจากการใส่ปุ๋ยมากเกินไปหรือติดเชื้อโรคอะไร

และนายปราโมทย์มีข้อเสนอว่าหากราคาทะลายปาล์มตกต่ำน่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันสกัดน้ำมันปาล์มทำ ไบโอดีเซลใช้กันเอง

4. กรณี นายสมาน แก้วมณี บ้านโพนสว่าง ต.รัตนวาปี อ.รัตนวาปี
จากการศึกษาแปลงเกษตรกรของนายสมาน แก้วมณี อายุ 61 ปี มีการปลูกปาล์มน้ำมันในปี2549 โดยเขาร่วมโครงการกับศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย ก่อนการปลูกได้ผ่านการฝึกอบรม ให้ความรู้จากศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย การให้ความรู้ถึงวิธีการปลูก การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา และมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยฯ ลงไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ ทีมศึกษาลงศึกษาแปลงของนายสมานพบว่าสภาพพื้นที่เป็นที่นาลุ่ม ติดหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่าหนองคอน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี เชื่อมต่อกับห้วยปากคาด นายสมาน บอกว่าเดิมทีพื้นที่จำนวน 22 ไร่นี้เคยเป็นที่นา ปลูกข้าวไว้กิน บางปีที่น้ำไม่ท่วมก็ได้ข้าวค่อนข้างมาก บางปีที่น้ำท่วมข้าวก็เสียหาย ด้วยความคิดอยากสร้างรายได้ให้กับครอบครัวยามแก่ ประกอบกับครอบครัวไม่มีแรงงาน คิดว่าการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นทางออกหนึ่ง จึงตัดสินใจใช้พื้นที่นาน้ำท่วมจำนวน 22 ไร่ ปลูกปาล์มน้ำมัน

การลงทุนนายสมานบอกว่า ได้ซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 จากศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย จำนวน 500 ต้น ราคากล้าปาล์มต้นละราคา 50 บาทเป็นเงินจำนวน 25,000 บาท เดิมมีความพยายามเข้าร่วมโครงการร่วมระหว่างกรมวิชากรเกษตรกับธกส. เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ว่าการดำเนินการล่าช้า และยังไม่ได้รับการอนุมัติ ความสนใจจึงนำพาตัวเองไปกู้เงินธกส. จำนวน 80,000 บาท เพื่อซื้อกล้าปาล์ม

การลงทุน นอกเหนือจากค่าพันธ์ปาล์มยังมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าปุ๋ยเคมี สูตร 21-0-0 ปีที่ 1 รองก้นหลุมก่อนปลูก จำนวน 2 กระสอบ ปีที่ 2 ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-0-0 จำนวน 6 กระสอบ กระสอบละ1,000 บาท ค่าปุ๋ยเป็นเงิน 8,000 บาท ค่าไถปรับพื้นที่ 30,000 บาท

ปัญหา น้ำท่วมแปลง ซึ่งปัจจุบัน( 22 กันยายน 2521) ในแปลงปาล์มน้ำมันมีน้ำท่วมสูงมิดยอดนานกว่า 20 วัน และบางต้นมีอาหารแห้งตาย โดยไม่ทราบสาเหตุ และต้องเตรียมกล้าปาล์มปลูกซ่อมอีกประมาณ 50 ต้นเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตขึ้นอีก และไม่มั่นใจว่าหลังน้ำลดจะมีอัตราการตายเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่

สภาพปัญหา ข้อจำกัด ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ข้อมูลเบื้องต้นจากพื้นที่พบว่าการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคอีสาน จากแปลงศึกษาพบข้อจำกัด ด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ความรู้ เทคนิค การปลูกปาล์มน้ำมัน การดูแลรักษาต้นกล้า การให้น้ำ ให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืช ควบคุมโรค และแมลง ตลอดจนการเตรียมต้นกล้า พร้อมนำไปปลูกในแปลงปลูกจริง ต้องปฏิบัติตามหลักวิชาการ แต่เกษตรกรยังไม่มีความชัดเจนในการปลูกปาล์มน้ำมัน ความรู้ที่มีรับผ่านการส่งเสริมของผู้ผลิตกล้าปาล์ม ข้อมูลที่ได้รับทำให้เกษตรกรวิเคราะห์แนวโน้มที่จะได้รับผลผลิต และมีความหวัง แต่หน่วยงานระดับจังหวัดยังไม่มีข้อมูลเช่น เกษตรจังหวัดเลย ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขปริมาณการปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดเลยที่แน่ชัด ที่สำคัญยังไม่มีการรับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกปาล์มหรือไม่

2. คุณภาพสายพันธุ์ พันธุ์ที่เหมาะสมคือพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1, 2 และ 3 สายพันธุ์ปลูกเป็นการค้าคือลูกผสมเทเนอรา (ดูรา x ฟิสิเฟอรา)เป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตร จัดหาและแนะนำพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูงแก่เกษตรกร แต่สายพันธุ์”ยังกัมบิ”ที่มีธุรกิจกล้าปาล์มโฆษณาในพื้นที่จ.เลย นำมาขายในพื้นที่เป็นพันธุ์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงเป็นความเสี่ยงในการได้พันธุ์ที่ดีและให้ผลตามการชวนเชื่อ ซึ่งการเลือกพันธุ์มีความสำคัญมาก ถ้าเลือกใช้พันธุ์ ที่มี คุณภาพต่ำ (พันธุ์ปลอม) ได้จากการผสมระหว่างพ่อและแม่พันธุ์ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์ และผสมพันธุ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือได้จากการผสมพันธุ์แบบเปิด คือ ไม่มีการควบคุมการผสมพันธุ์และส่วนใหญ่ได้จากต้นกล้าที่งอกอยู่บริเวณใต้โคนต้น ความเสียหายเมื่อนำพันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพต่ำ ไปปลูก คือ ผลผลิตทะลายปาล์มสดและน้ำมันดิบลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกด้วยพันธุ์การค้า 15-50 % และ 35-55 % จะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย อาจจะต้องโค่นทิ้งถ้าสายพันธ์ไม่ดี ราคาต้นพันธุ์มีราคาแพง มีความเสี่ยงต่อการได้รับต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพไม่ตรงตามสายพันธุ์

3. ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และแหล่งน้ำที่เพียงพอ รวมถึงความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการออกดอก การเจริญของผลปาล์ม แม้ว่าต้นปาล์มเจริญเติบโตดี แต่การให้ผลผลิตยังไม่สามารถประเมินได้ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

การศึกษาพบว่าต้นปาล์มสามารเจริญเติบโตได้ทั่วไปในภาคอีสาน แต่การให้ผลผลิตเป็นทะลายที่สมบูรณ์และมีความคุ้มทุน อาจจะอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปีและมีความชื้นสูงเพียงพอต่อการพัฒนาผลของปาล์ม

4. การตลาด การจัดการผลผลิต ยังไม่มีตลาดที่แน่นอนในพื้นที่ภาคอีสาน และยังไม่มีโรงงานผลิตปาล์มน้ำมัน มีเพียงการดำเนินธุรกิจรับซื้อผลปาล์มดิบส่งขายให้กับโรงงานปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก โดยสร้างเครือข่ายผู้รวบรวมปาล์มสด การตลาดในพื้นที่ยังไม่มีความมั่นคง การซื้อขายมีเพียงลานรับซื้อในกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่ อ.เชียงคาน จ.เลย ได้รวกลุ่มกันเพื่อขายปาล์มผ่านบริษัทเมืองเลยปาล์ม และ ราคาผลผลิตได้เพียงกิโลกรัมละ 2 บาท เกษตรกรในพื้นที่กันทรลักษณ์มีการรับซื้อในชุมชนโดยบริษัทสุขสมบูรณ์

5. การแย่งชิงพื้นที่ผลิตอาหาร การรุกพื้นที่ของปาล์มน้ำมันในพื้นที่อาหาร ปรากฏในหลายพื้นที่ เช่น พื้นที่ปลูกไม้ผล ที่ อ.เชียงคาน พื้นที่นาข้าว นาที่ลุ่มใน อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง การสูญเสียพื้นที่อันเคยเป็นแหล่งอาหารทั้งอาหารธรรมชาติ และการปลูกพืชผักอาหาร หากไม่มีมาตรการกำกับที่ชัดเจนและราคาจูงใจ จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวเบียดแย่งพื้นที่ผลิตอาหารได้

โอกาสและความหวัง
พื้นที่ในภาคอีสานบางพื้นที่มีศักยภาพเพียงพอในการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีษะเกษ สามารถให้ผลผลิตได้ และการให้ผลผลิตที่ต่อเนื่อง เป็นโอกาสเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถเติบโตได้ท่ามกลางพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด

แรงจูงใจของเกษตรกรในการปลูกปาล์มน้ำมัน
นอกเหนือไปจากแรงจูงใจของปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติพลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐทำให้ธุรกิจพลังงานทดแทนจากปาล์มน้ำมันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญอีกประการที่ทำให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดเลย ทั้งที่ยังไม่มีการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการปลูกปาล์มหรือไม่ การมีบริษัทเอกชนลงไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อผลผลิต เป็นอีกเหตุ ปัจจัยทำให้เกษตรกรตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันแทนการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งการทำนา เนื่องจากมองว่าปาล์มน้ำมันมีข้อดีกว่าหลายประการดังนี้

• การปลูกปาล์มน้ำมันเป็นการลงทุนครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนนานเป็นเวลา 20 – 25 ปี ไม่ต้องลงทุนปีต่อปีเหมือนพืชไร่ เช่นมันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด
• ระยะเวลาการให้ผลผลิตเร็วกว่าไม้ผล เช่น มะขามหวาน คือประมาณ 3 ปีก็เริ่มต้นให้ผลผลิต ในขณะที่มะขามหวานต้องใช้ระยะเวลา 3 – 4 ปีจึงจะได้เก็บเกี่ยวผลผลิต และราคาผลผลิตราคาตกต่ำ ไม่แน่นอน
• แม้ว่าจะเป็นการลงทุนที่สูงมากแต่คาดว่าจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า สามารถสร้างเงินรายได้เป็นก้อนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะน้ำมันแพง ความต้องการพลังงานทดแทนมีมากขึ้น ผลผลิตปาล์มมีราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
• การส่งเสริมของหน่วยงานราชการโดยมีกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพลังงาน เช่น การส่งเสริมผ่านโครงการวิจัยและพัฒนา โดยศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย และศูนย์วิจัยพืชไร่จังหวัดอุบลราชธานี
• การส่งเสริมและการสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สินเชื่อ ให้ข้อมูลผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับในเชิงบวก โดยธุรกิจขยายพันธุ์ และสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ผ่อนซื้อกล้าพันธุ์จากราคา 160 บาท ให้ซื้อในราคา 110 บาท เมื่อได้รับผลผลิตจึงจะจ่ายคืนอีก 50 บาท

แม้ว่าผลตอบแทนเรื่องรายได้ในความเป็นจริงอาจจะไม่เป็นไปตามที่ภาครัฐและธุรกิจเอกชนให้ข้อมูลไว้เสียทั้งหมด แต่แรงจูงใจเหล่านี้ก็เพียงพอให้เกษตรหลายรายเลือกที่จะปรับเปลี่ยนจากพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แล้วมาลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น ซึ่งกระแสความร้อนแรงของปาล์มน้ำมันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินอย่างกว้างขวาง ทั้งใน พื้นที่นา สวนผลไม้ พื้นที่ปลูกอาหารสัตว์ รวมถึงพื้นที่ว่างเปล่า ไปจนกระทั่งพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ การกว้านซื้อที่ดินทำกินของเกษตรกรรายย่อยโดยนายทุนและเกษตรกรรายใหญ่ ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของคนในชุมชนตามมา

ข้อคิดเห็น จากการศึกษา
จากการศึกษาพบว่าเกษตรกรต้องแบกรับความเสี่ยงเพียงลำพังเช่น เกษตรกรหลายพื้นที่ต้องตัดทะลายปาล์มทิ้ง สูญเสียรายได้ที่ควรจะได้ หลายพื้นที่ขาดความรู้ทางวิชาการจึงมีข้อสังเกตและ ข้อคิดเห็นกรณีการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน ต่อเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ ดังนี้

1. เกษตรกรรายย่อยที่ยังไม่ตัดสินใจ
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเท่าทันข้อมูล ศึกษาอย่างละเอียดบนพื้นฐานความเป็นจริงของที่ดิน แหล่งน้ำ ตลาด และความรอบรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันก่อนที่จะตัดสินใจ โดยเฉพาะการลงทุนทำการผลิตที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ใช้ระยะเวลานานกว่าจะได้เก็บเกี่ยว รวมถึงการใคร่ครวญต่อวิถีการผลิตที่ต้องพึงรักษาพื้นที่อาหารแหล่งอาหารธรรมชาติ อย่าให้สูญเสียไปกับการผลิตพืชน้ำมัน หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ตามกระแสของเศรษฐกิจภาพรวม
ส่วนเกษตรกรที่ลงทุนปลูกไปแล้ว รัฐต้องประสานให้มีการรับซื้อ การสกัดปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ในชุมชน ไม่ควรปล่อยผลผลิตทิ้ง ควรประสานให้เกิดการพัฒนาการสกัดปาล์มน้ำมันระดับชุมชน

2. ความจำเป็นที่ต้องหาข้อสรุปทางวิชาการ
ในการปลูกปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกรมวิชาการเกษตรและนักวิชาการที่ปฏิบัติงานในฐานะนักส่งเสริม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา วิจัย ค้นคว้าข้อเท็จจริง ให้เกิดข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนทำการส่งเสริม รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ต่อเกษตรกรและสาธารณะอย่างรอบด้าน ในแง่มุมที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่จะอาจเกิดขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เกษตรกรตัดสินใจบนพื้นฐานการรับรู้ข้อมูลที่เห็นว่าจะได้ น่าจะให้ผลผลิตที่ดี หรือได้รับคำแนะนำจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจกล้าปาล์ม และสุดท้ายเกษตรกรก็ต้องเป็นผู้ที่แบกรับความเสี่ยงเพียงลำพัง

ข้อมูล ความชัดเจนในหลักวิชาการที่หน่วยงานมีข้อมูล ความรู้ที่ชัดเจนอยู่แล้วต้อง มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเข้าถึง ต้องจริงจังกับการวางกลยุทธการให้ข้อมูลแก่เกษตรกร
ที่มา : คณะทำงานศึกษาพืชพลังงานอีสาน

ปลูก "ปาล์มน้ำมัน" ในอีสาน ระวังโอกาสจะกลายเป็นเสี่ยง

ปลูก "ปาล์มน้ำมัน" ในอีสาน ระวังโอกาสจะกลายเป็นเสี่ยง

แม้ว่ารัฐบาลจะยังไม่ได้ผลักดัน ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานปลูกพืชพลังงานทดแทน "ปาล์มน้ำมัน" อย่างเป็นรูปธรรมเหมือนกับโครงการยางพาราล้านไร่ก็ตาม

แต่จากสถานการณ์ของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสานจำนวนไม่น้อยหันมาปลูกปาล์มน้ำมันมากยิ่งขึ้น มีพื้นที่ปลูกกว่า 1 แสนไร่ แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีสภาพแห้งแล้ง ไม่มีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการปลูกก็ตาม

แต่หลังจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่ก่อนหน้านี้มีราคาสูงถึงลิตรละ 45 บาท แต่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ลิตรละ 18 บาท ขณะที่ราคารับซื้อปาล์มน้ำมันก็ตกต่ำ จากเดิมที่เฉลี่ย 6 บาท/กก.ปัจจุบันเหลือเพียง 2.60 บาท/กก. ซึ่งหากราคาน้ำมันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นนี้ ก็มีแนวโน้มสูงว่าเกษตรกรจะทิ้งไร่ปาล์มน้ำมันอย่างแน่นอน

ดร.อุดม ชาคำ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย ระบุว่า ในช่วงกลางปี 2551 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรในภาคอีสานก็มีความตื่นกลัวว่าราคาน้ำมันจะทะยานสูงขึ้น ทำให้ในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันมากยิ่งขึ้น ทั้งๆ ที่ภาคอีสาน รัฐบาลยังไม่ได้ส่งเสริมให้ปลูกเพื่อใช้ในการผลิตไบโอดีเซลแต่อย่างใด เป็นเพียงการทดลองปลูกเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันหนองคาย ได้เพาะกล้าปาล์มสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1-6 แล้วประมาณ 9 แสนต้น ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เหมาะสม ให้ผลปาล์มโดยเฉลี่ย 1.5 ตัน/ไร่ เปอร์เซ็นต์น้ำมันเฉลี่ย 17-19% โดยศูนย์ได้กระจายกล้าปาล์มไปสู่มือเกษตรกรแล้วประมาณ 8 แสนต้น ในพื้นที่ปลูก 4 หมื่นไร่

"การปลูกปาล์มน้ำมันถือเป็นปัจจัยเสี่ยง กว่าจะรู้ได้ว่าต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกจะออกดอกเป็นตัวผู้หรือตัวเมียต้องใช้เวลา 20-21 เดือน หากต้นปาล์มขาดน้ำในช่วงนี้ ต้นปาล์มน้ำมันจะออกดอกเป็นตัวผู้หรือดอกตัวเมีย จึงค่อนข้างกังวลว่าอนาคตเกษตรกรจะไม่สนใจในการบำรุงรักษาสวนปาล์ม ที่ต้องการน้ำสูง เพราะราคาผลผลิตตกต่ำ จึงเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ค่อนข้างสูง" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปาล์มหนองคาย

ด้าน นายสมบัติ เหสกุล นักวิชาการอิสระ ซึ่งวิจัยศักยภาพการผลิตพลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์ม 2.37 ล้านไร่ ผลผลิต 6.24 ล้านตัน และจากการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมันทั้งประเทศ มีอีกประมาณ 3 แสนไร่ ภาคกลาง 4 หมื่นไร่ ภาคตะวันออก 7 หมื่นไร่ ภาคเหนือ 5 หมื่นไร่ และภาคใต้ 1.4 แสนไร่ ขณะที่ภาคอีสานมีพื้นที่ปลูกที่มีศักยภาพเพียงกว่า 1 หมื่นไร่เท่านั้น ซึ่งอยู่ในเขต จ.หนองคาย นครพนม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และสุรินทร์

ทั้งนี้การปลูกปาล์มในเชิงพาณิชย์ของชาวอีสาน ขึ้นอยู่กับโอกาสและเงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1.ปัจจัยน้ำ ต้นปาล์มน้ำมันต้องการน้ำเฉลี่ย 2,000 มม./ปี แล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน แต่เขตภาคอีสานมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,300 มม./ปี และแล้งติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน 2.แหล่งทุน เกษตรกรต้องมีเงินลงทุนในช่วง 30 เดือนแรก เฉลี่ยไร่ 1.3 หมื่นบาท และค่าติดตั้งระบบน้ำอีก 7,000 บาท/ไร่ ส่วนในปีที่ 4-25 จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียน 4,000-5,000 บาท/ไร่ และทุกๆ 5 ปี จะต้องพัฒนาระบบน้ำอีก" 3.โรงงานสกัดปาล์มในพื้นที่ จะตั้งมีรัศมีไม่เกิน 50 กม.ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรภาคอีสานจะต้องขนผลปาล์มไปขายที่ จ.ชลบุรี มีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 1.50-2.0 บาท/กก. และ 4.ทักษะของเกษตรกร ซึ่งการปลูกปาล์มต้องการดูแลรักษา การจัดการแปลง ซึ่งแตกต่างไปจากการทำไร่ทำนา

ดังนั้นหากคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์ เกษตรกรที่ปลูกปาล์มตั้งแต่ 20 ไร่ขึ้นไป หากผลผลิตเฉลี่ย 3 ตัน/ไร่ ราคาปาล์มอยู่ที่ 3.90 บาท/กก. อัตราคุ้มทุนอยู่ที่ 5 ปี แต่ถ้าหากคำนวณราคาปาล์ม ณ ปัจจุบันที่ราคา 2.60 บาท/กก.เกษตรกรขาดแทนแน่นอน ฉะนั้นควรปลูกตามหัวไร่ปลายนา แล้วหีบใช้เองชุมชนจะคุ้มทุนกว่า

ขณะที่ นายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ระบุว่า ตามที่กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล โดยมีเป้าหมายจะส่งเสริมให้มีการใช้ไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซลให้ได้ 5% ภายในปี 2554 ส่งเสริมให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นให้ได้ 2.5 ล้านไร่ในปี 2551-2555 และเพิ่มเป็น 10 ล้านไร่ภายใน 2572 มีเป้าหมายในภาคอีสานอยู่ที่ 5 แสนไร่ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ขณะนี้เกษตรกรภาคอีสานได้ปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วประมาณ 1 แสนไร่ กระจายตามจังหวัดต่างๆ อาทิ หนองคาย เลย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี มุกดาหาร และศรีสะเกษ ส่วนใหญ่เป็นรายย่อย มีพื้นที่ปลูกราว 10-20 ไร่ โดยได้ผันพื้นที่นาข้าว นาลุ่มน้ำท่วม สวนผลไม้ มาเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มแทน

จากการศึกษาได้พบพื้นที่เหมาะสมของการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานมีอย่างจำกัด แต่ปรากฏว่ามีการปลูกกระจายทั่วไป แม้แต่ในเขตพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น จ.มหาสารคาม ยโสธร ที่ต้องลงทุนสูง เฉพาะต้นกล้าราคาเฉลี่ย 60-180 บาท/ต้น เกษตรกรมีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีโรงงานหีบน้ำมันปาล์มในภาคอีสาน จึงทำให้ไม่มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน

หากประเมินในจากทุกมุมมองแล้วเกษตรกรในภาคอีสาน ควรจะตระหนักให้ดีก่อนตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมัน เนื่องจากดูจากปัจจัยต่างๆ แล้วมีอัตราเสี่ยงพอสมค




ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก









ปลูกปาล์มน้ำมันอีสานเสี่ยงสูง ขาดความรู้-ต้นทุนสูง-ไม่มีตลาดรับซื้อ

ปลูกปาล์มน้ำมันอีสานเสี่ยงสูง ขาดความรู้-ต้นทุนสูง-ไม่มีตลาดรับซื้อ





เวทีเสวนาฝ่าวิกฤตอาหาร และพลังงาน เรื่อง ปาล์มน้ำมันใน อีสาน : ความหวังหรือภัยเงียบ ? ซึ่งจัดโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยและการพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน กระทรวงพลังงาน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อมูลที่หลายฝ่ายต้องตระหนักอย่างยิ่ง


ปลูกปาล์มอีสานมีข้อจำกัดเพียบ

นายอุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน เปิดประเด็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 3.2 ล้านไร่ ในปี 2550 มีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.6 ล้านตัน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา ส่งเสริมไบโอดีเซลทดแทนน้ำมันดีเซล ร้อยละ 5 ในปี 2554 หรือเป็นไบโอดีเซล B100 จำนวน 3.02 ล้านลิตรต่อวัน จึงมีแผนส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่ม 2.5 ล้านไร่ในปี 2551- 2555 และเพิ่มเป็น 10 ล้านไร่ในปี 2572 โดยพื้นที่ภาคอีสานอยู่ในเป้าหมาย 5 แสนไร่ มีภาคเอกชน เข้ามาส่งเสริมและมีธุรกิจจำหน่ายกล้าปาล์มน้ำมันอย่างกว้างขวาง

ปัญหาเวลานี้คือ เกษตรกรชาวอีสานยังขาดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันในฐานะพืชแปลกถิ่น อีกทั้งยังไม่มีโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน ปัจจุบันมีการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานไปแล้ว 70,000- 100,000 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ จ.หนองคาย, เลย, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี, มุกดาหาร และศรีสะเกษ โดยมีศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักให้การส่งเสริม มีการจัดฝึกอบรมและสนับสนุนสินเชื่อในรูปของกล้าปาล์ม และ ธ.ก.ส.ให้เงินกู้เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันอีกด้วย

ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยพื้นที่ปลูก 10-20 ไร่ ใช้พื้นที่เดิมที่เป็นนาข้าว นาลุ่มน้ำท่วม สวนมะขามหวาน ลำไย เป็นต้น ซึ่งเป็นการเบียดแย่งพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารได้

จากการลงพื้นที่ศึกษาของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน พบข้อจำกัดในการปลูกปาล์มในภาคอีสานหลายด้าน คือ มีการปลูกปาล์มน้ำมันกระจายทั่วภาคอีสาน ทั้งที่หลายพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม เช่น มหาสารคาม ยโสธร และพบว่าในหลายพื้นที่ อายุปาล์ม 4-5 ปี ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วต้องตัดทะลายปาล์มทิ้ง เกษตรกรจึงเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงแต่ฝ่ายเดียว ขณะที่ราคาต้นกล้าปาล์มสูงถึงต้นละ 60-180 บาท ทั้งยังไม่มีโรงงานหีบน้ำมันปาล์มในภาคอีสาน จึงยังไม่มีตลาดรับซื้อที่แน่นอน

ดร.อุดม คำชา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน จ.หนองคาย ให้ข้อมูลว่า ได้กระจายกล้าปาล์มน้ำมันในภาคอีสานราว 8 แสนต้น คิดเป็นพื้นที่ปลูกประมาณ 4 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นเพียงการเริ่มทดลองปลูกเท่านั้น เพราะต้องหาพันธุ์ที่เหมาะสม ทนแล้ง และให้ผลผลิตสูง เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่มีพื้นที่ปลูกในเชิงพาณิชย์แล้ว 7 จังหวัด คือ หนองคาย, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ และบุรีรัมย์

การปลูกปาล์มในภาคอีสานยังเป็นเรื่องน่าห่วง มีความเสี่ยงสูง เพราะยังไม่มีโรงงานสกัดน้ำมันในพื้นที่ ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนหลายปี กว่าจะคืนทุนต้องใช้เวลา 7-10 ปี เกษตรกรทั่วไปไม่ควรปลูกเป็นพืชเชิงเดี่ยวในทางพาณิชย์ ควรปลูกพืชอื่นด้วย


อย่าผลีผลามปลูก-ศึกษาข้อมูลให้ดี


ขณะที่นายสมบัติ เหสกุล นักวิชาการ ผู้วิจัยศักยภาพการผลิตพืชพลังงาน กล่าวว่า ถ้าดูตัวแปรทางเศรษฐกิจในการปลูกปาล์มน้ำมันที่ภาคอีสาน ตนเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่คุ้มกับการลงทุน ที่ปลูกไปแล้ว 1 แสนไร่ ส่วนใหญ่ขาดความรู้ ขาดทักษะ ทั้งการคัดเลือกสายพันธุ์ การดูแล แม้แต่โรคที่เกิดกับปาล์มน้ำมันก็ยังไม่รู้ ส่วนโรงงานที่รับซื้อก็อยู่ใกล้ที่สุดที่ จ.ชลบุรี มีระยะทางไกลกว่า 700 กิโลเมตร ต้นทุนการขนส่งสูงมาก

ราคารับซื้อในภาคอีสานปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 2-2.50 บาท ถือว่าไม่คุ้มกับการลงทุน ที่ควรต้องได้ราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 3.5 บาทขึ้นไป จึงเห็นว่า ผู้ที่ยังไม่ปลูกก็ควรหยุดไว้ก่อน ส่วนที่ปลูกแล้ว รัฐบาลต้องส่งเสริมและหาทางช่วยเหลือต่อไป

การเสวนายังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยไม่พร้อมสำหรับการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ครองตลาดน้ำมันปาล์ม ผู้ประกอบการรายเดียวลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้ต้นทุนต่ำ และภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน กำหนดให้น้ำมันพืชเป็น 1 ใน 15 รายการสินค้าที่ไทยต้องลดภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 0 ซึ่งจะส่งผลกระทบ กับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยทั้งระบบ

การเสวนาครั้งนี้มีความเห็นร่วมกันว่า จะต้องทำให้ประชาชนตระหนักในด้าน "ความมั่นคงอาหาร" ไม่ทำการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อการทำลายฐานทรัพยากรอาหารของครอบครัวและชุมชน ส่วนเกษตรกรรายย่อยที่ยังไม่ตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้เท่าทันข้อมูล ศึกษาอย่างละเอียดบนพื้นฐานความเป็นจริงของที่ดิน แหล่งน้ำ ตลาด และความรอบรู้เกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน

สำหรับเกษตรกรที่ลงทุนปลูกไปแล้ว รัฐบาลต้องประสานให้มีการรับซื้อสกัดปาล์มน้ำมันเพื่อใช้ในชุมชน รวมทั้งต้องศึกษา วิจัย ให้เกิดข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนทำการส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลต่อเกษตรกรและสาธารณะทั้งแง่มุม "โอกาสและความเสี่ยง" ที่จะอาจเกิดขึ้น ไม่ใช่ปล่อยให้เกษตรกรตัดสินใจ บนพื้นฐานการรับรู้ข้อมูลที่เห็นว่าน่าจะให้ผลผลิตที่ดี

หรือได้รับคำแนะนำจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจกล้าปาล์ม เพราะสุดท้ายเกษตรกรต้องเป็นผู้ที่แบกรับภาระทั้งหมด


























.

ข้อควรคิดก่อน''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''

ข้อควรคิดก่อน''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''


“ปาล์มน้ำมัน” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ถูกจับตามองในฐานะแหล่งพลังงานทดแทน กอปรกับปาล์มเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์หลายด้านทั้งอุปโภค บริโภคและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมาก ส่งผลให้ในช่วงปีที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามกำหนด แนวทางการส่งเสริมการปลูกปาล์มในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันและช่วยขจัดปัญหาความยากจน แต่เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่สูงมาก จึงเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้วพื้นที่ในภาคอีสานซึ่งยังคงประสบปัญหาภัยแล้งนั้นเหมาะสมกับการปลูกปาล์มมากน้อยเพียงไร
นายธีระพงษ์ จันทรนิยม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า
การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานนั้นสามารถปลูกได้ แต่ต้องคำนึงถึงสภาพดินและน้ำเป็นหลัก เนื่องจากธรรมชาติปาล์มเป็นพืชที่ชอบขึ้นในบริเวณเขตร้อนชื้น ดินคุณภาพดีมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี และมีการกระจายตัวสูงอาทิ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือบริเวณภาคใต้ของไทย ดินต้องดี และมีฝนตกตลอดปีผลผลิตจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับ ปริมาณปุ๋ยและธาตุอาหารที่ปาล์มได้รับเป็นหลัก
แต่สำหรับภาคอีสานปัจจัยหลักของการเพิ่มผลผลิตนั้นอยู่ที่ ดินและน้ำ เช่น พื้นที่เป็นดินทรายก็จะมีปัญหาเรื่องการอุ้มน้ำอีกทั้งหากต้องประสบภาวะฝนทิ้งช่วงนาน มีช่วงแล้งยาวจะทำให้ปาล์มเกิดสภาวะการขาดน้ำ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพผลผลิตของปาล์มได้ ทั้งนี้เนื่องจากผลวิจัยใน “โครงการผลของการให้น้ำต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)

ซึ่งได้ติดตามศึกษาผลของสภาวะแล้งที่มีต่อการพัฒนาปาล์มถึงระบบการให้น้ำต้นปาล์มในช่วงฤดูแล้ง โดยมีการจัดระบบให้น้ำต้นปาล์มเปรียบเทียบกับกลุ่มปาล์มที่ไม่ได้รับน้ำ พบว่า การขาดน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโต และปริมาณผลผลิตของปาล์มโดยในสภาพที่ไม่มีฝนตกต่อเนื่อง 2-3 เดือน ในช่วงแตกใบ จะทำให้ทางใบหักต้องมีการตัดใบทิ้ง การสังเคราะห์แสงเพื่อเป็นอาหารจึงไม่เพียงพอหากช่วงแล้งเกิดขึ้นในช่วงการกำหนดเพศนั้น จะทำให้มีสัดส่วนเพศผู้มากขณะที่เกษตรกรต้องการดอกเพศเมีย ซึ่งมีปริมาณการให้น้ำมันมากกว่าสำหรับในช่วงการผสมเกสร หากเจอภาวะแล้ง จะทำให้ประสิทธิภาพ ในการผสมเกสรลดลง การพัฒนาเป็นผลน้อย ปริมาณผลผลิตที่ได้จึงลดลง เนื่องจากจำนวนผลต่อทะลายต่ำน้ำหนักทะลาย ลดลง 10-15% มีผลให้ปริมาณการผลิตผลปาล์มน้ำมันโดยรวมลดลงเหลือเพียง 2 ตัน/ไร่/ปี ในขณะปาล์มซึ่งปลูกในบริเวณที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้รับน้ำตลอดปีจะสามารถผลิตผลปาล์มได้สูงถึงประมาณ 3-3.5 ตัน/ไร่/ปี

นายธีระพงษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ดีหากภาครัฐยังคงมีนโยบาย การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคอีสานก็สามารถปลูกได้ โดยแนะนำให้มีการเลือกพื้นที่การเพาะปลูกให้ดีดินจะต้องไม่เป็นดินทราย มีสภาวะเป็นเกลือ หรือเป็นดินลูกรังสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ มีระบบการจัดการน้ำที่ดีสามารถผันน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง


การติดตั้งระบบการให้น้ำปาล์มในภาคอีสาน:


ให้วางเป็นท่อยาวที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตรจากผิวดิน ควบคุมการให้น้ำให้มีความชื้นเพียง 70% หรือสังเกตได้จากการกำดินเป็นก้อนนั้นเพียงพอที่จะช่วยให้ปาล์ม มีศักยภาพในการผลิตมากที่สุด ขณะที่การให้น้ำมากเกินไปไม่เพียงสิ้นเปลือง ยังเป็นผลเสียทำให้น้ำชะปุ๋ยลงไปใต้ดินลึกมากขณะที่ราก ซึ่งทำหน้าที่ดูดอาหารจะอยู่ที่บริเวณ 15-20 เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนวิธีการให้ปุ๋ยจากเดิมซึ่งใช้วิธีการหว่านให้เปลี่ยนเป็นการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ ซึ่งทำให้ปุ๋ยสามารถละลายไปพร้อมกับน้ำลงสู่ต้นปาล์มได้รวดเร็ว โดยใช้ได้กับการให้น้ำแบบหยด หรือมินิสปริงเกิล หากระบบการให้น้ำมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอ ธาตุอาหารก็จะกระจายทั่วทั้งแปลงดี ลดการสูญเสียจากการชะล้าง มีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตคุ้มค่าในระยะยาว


ผลการวิจัย “โครงการจัดการระบบการให้น้ำและปุ๋ยทางระบบน้ำเพื่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน” โดยนายสมเกียรติ สีสนอง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบว่า

การให้ปุ๋ยทางระบบน้ำจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น โดยแปลงที่ให้ผลผลิตสูงสุดที่ระดับ 4.0 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.72 บาท/กก. เมื่อเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ 2.72 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุน 1.52 บาท/กก. และผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศมาเลเซีย 3.01 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.70–1.00 บาท/กก.

เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดการแปลงในแต่ละปีแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนของปุ๋ยลดลงประมาณ 45–60% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขณะที่ปริมาณผลผลิตและธาตุอาหารในดินและ ใบพืชยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้นทุนที่ลดลงก็สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบน้ำได้


ข้อควรพิจารณาก่อนปลูกปาล์ม:


อย่างไรก็ดีการพิจารณาว่าควรจะปลูกปาล์มในภาคอีสานหรือไม่นั้นก็ควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญว่า มีสภาพแล้งรุนแรงมากน้อยเพียงใด มีแหล่งน้ำพอที่จะนำน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นปาล์มได้ตลอดฤดูแล้งหรือไม่ ที่สำคัญ ต้องพิจารณาด้วยว่าผลกำไรที่ได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการวางระบบน้ำหรือไม่เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องใช้เวลาในการเพาะยาวนานกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลาหลายปีฉะนั้นการวางแผนการปลูกปาล์มจึงมีความจำเป็น ทั้งในเรื่องของสภาพของดิน การให้ปุ๋ยและระบบการให้น้ำ เพื่อให้การปลูกปาล์มของเกษตรกรประสบผลสำเร็จมากที่สุด.






ที่มา : นสพ. เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2549

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี

                    ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี

 
การเพาะต้นกล้าแบบอนุบาลครั้งเดียว (single stage nursery) การเพาะต้นกล้าแบบนี้เป็นที่นิยมปฏิบัติในประเทศแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันในแอฟริกาตะวันตกและลาติน อเมริกา....
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
.

การปลูกปาล์มน้ำมัน

            การปลูกปาล์มน้ำมัน




การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน
1. การเลือกพื้นที่

• ควรเลือกพื้นที่ที่ดินมีชั้นหน้าดินลึก ความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง
• ควรมีลักษณะดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียว เนื้อดินไม่ควรเป็นทรายจัด ไม่มีชั้นลูกรัง
หรือชั้นดินดานสูงมากกว่า 0.50 เมตร
• มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง น้ำไม่แช่ขังนาน มีระดับน้ำใต้ดินตื้น ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ี่เหมาะสม 4 - 6
• ความลาดเอียง 1 - 12 % แต่ไม่ควรเกิน 23 %
• ควรอยู่ในเขตที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,800 มม./ปี แต่ละเดือนควรมีฝนเฉลี่ยประมาณ 120 มม./เดือน
ฝนทิ้งช่วงติดต่อกันนานไม่เกิน 3 เดือน เพราะช่วงแล้งที่ยาวนานทำให้ดอกตัวเมียลดลง ดอกตัวผู้เพิ่มขึ้น
ส่งผลให้ผลผลิตลดลงในเวลา 19 - 22 เดือนหลังจากนั้น
• มีแหล่งน้ำเพียงพอสำรองไว้ใช้ ถ้ามีการขาดน้ำมากกว่า 300 มม.ต่อปีหรือช่วงแล้งติดต่อมากกว่า 4 เดือน
• พื้นที่ที่มีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพพรุ
ดินค่อนข้างเค็ม พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังนาน ฯลฯ ต้องมีการจัดการแก้ไขตามสภาพปัญหาของพื้นที่นั้นๆ
• เป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดประมาณ 2,000 ชั่วโมง/ปี หรือไม่ควรต่ำกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน
• อุณหภูมิ 22 - 32 องศาเซลเซียส
• ไม่อับลมและไม่มีลมพัดแรง


2. การเตรียมพื้นที่

โค่นล้ม กำจัดซากต้นไม้และวัชพืชออกจากแปลง ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบ ในกรณีที่โค่นล้มปาล์มเก่า
เพื่อปลูกใหม่ทดแทน ควรใช้วิธีสับต้นปาล์มและกองให้ย่อยสลายในแปลง ไม่ควรกองซากต้นปาล์มสูงเกินไป
เพราะจะเป็นที่วางไข่ของด้วงแรด

ทำถนนในแปลง เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งผลผลิตและปฏิบัติงานการดูแลรักษาสวน และเก็บเกี่ยวปาล์มการวางผัง
ทำถนนขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและขนาดของสวนปาล์มน้ำมัน โดยทั่วไปรูปแบบของถนน มี 3 แบบคือ
- ถนนใหญ่ กว้างประมาณ 6 - 8 เมตร ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งวัสดุ
การเกษตร และผลผลิตไปโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม (สำหรับสวนปาล์มขนาดเล็กกว่า 500 ไร่ ไม่จำเป็นต้องสร้างถนนใหญ่)
- ถนนย่อยหรือถนนเข้าแปลง เป็นถนนที่สร้างแยกจากถนนใหญ่ มีความกว้างประมาณ 4 - 6 เมตร
ระยะห่างถนนประมาณ 500 เมตร เพื่อใช้สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตรเข้าสวนปาล์ม และขนส่งผลผลิต
- ถนนซอย เป็นถนนขนาดเล็กแยกจากถนนย่อยเข้าไปในแปลงปลูกปาล์ม ความกว้างขนาด 3 - 4 เมตร
มีระยะห่างประมาณ 50 เมตร สำหรับขนส่งวัสดุการเกษตร และผลผลิตสู่ถนนย่อย
ทำทางระบายน้ำ การทำระบบระบายน้ำควรทำตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และควรออกแบบ
ให้เชื่อมโยงกับระบบการขนส่งเพื่อให้มีการสร้างสะพานน้อยที่สุด ในสวนปาล์มประกอบด้วยทางระบายน้ำ 3 ประเภท คือ
- ทางระบายน้ำระหว่างแถวปาล์ม ควรสร้างขนานกับทางระบายน้ำหลักและตั้งฉากกับทางระบายน้ำ
ระหว่างแปลง ขนาดของทางระบายน้ำระหว่างแถวปากร่องกว้าง 1.20 เมตร ท้องทางระบายน้ำกว้าง 0.30 - 0.50 เมตร และ
ลึก 1 เมตร การทำทางระบายน้ำระหว่างแถวปาล์มขึ้นอยู่กับชนิดของดินในแต่ละแปลง ถ้าเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง
ควรขุดระบายน้ำทุก ๆ 2 - 4 แถวปาล์ม ถ้าเป็นที่ราบลุ่มควรมีการระบายน้ำที่ดี ควรทำทางระบายน้ำทุก ๆ 6 แถว
ถ้าที่ดอนใช้ระยะ 100 เมตร
- ทางระบายน้ำระหว่างแปลง ควรสร้างขนานกับถนนเข้าแปลง มีระยะห่างกันประมาณ 200 - 400 เมตร
ทางระบายน้ำนี้จะตั้งฉากและเชื่อมโยงกับทางระบายน้ำหลักมีขนาดของคูกว้าง 2.00 – 2.50 เมตร ลึก 1.20 – 1.80 เมตร
ท้องคูกว้าง 0.60 - 1.00 เมตร
- ทางระบายน้ำหลัก เป็นทางระบายน้ำขนาดใหญ่สามารถรับน้ำจากทางระบายน้ำระหว่างแปลงได้ แล้ว
ไหลลงสู่ทางน้ำธรรมชาติต่อไป ส่วนมากร่องน้ำขนาดใหญ่นี้จะสร้างขนานกับถนนใหญ่ หรือตามความจำเป็นใน
การระบายน้ำ มีขนาดปากร่อง 3.50 - 5.00 เมตร ท้องร่องกว้าง 1.00 เมตร และลึกประมาณ 2.50 เมตร
โดยปกติด้านข้างของทางระบายน้ำจะมีมุมลาดชันประมาณ 50 - 60 องศา จากแนวขนานของทางระบายน้ำ
วางแนวปลูก ทำหลังจากสร้างถนนและทางระบายน้ำ ระบบการปลูกใช้สามเหลี่ยมด้านเท่า ให้แถวปลูกหลัก
อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ระยะปลูก 9 เมตร x 9 เมตร x 9 เมตร เพื่อให้ต้นปาล์มทุกต้นได้รับแสงแดดมากที่สุดและสม่ำเสมอ
ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกในช่วงเตรียมพื้นที่เนื่องจากการปลูกปาล์มน้ำมันใช้ระยะปลูก 9 x 9 x 9 เมตร
แบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งทำให้มีพื้นที่ว่างระหว่างแถวมากในช่วงตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งปาล์มอายุ 3 ปี
ดังนั้นจึงควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินเพื่อช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รักษาความชุ่มชื้นของดิน เพิ่มความ
อุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินจากการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของพืชตระกูลถั่ว อีกทั้งยังควบคุมวัชพืชในแปลงด้วย
เนื่องจากพืชตระกูลถั่วบางชนิดปลูกคลุมดินครั้งเดียวอย่างถูกวิธี สามารถป้องกันกำจัดวัชพืชได้อย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งปาล์มน้ำมันให้ผลผลิต แต่มีข้อควรพิจารณาคือ ควรเป็นพืชที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมของเขตนั้น
เช่น ถั่วพร้า ก็จะเป็นพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสมกับภาคอีสาน สำหรับภาคใต้พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่นิยมปลูกกัน
ทั่วไปในสวนปาล์มน้ำมันและได้ผลดี คือ ถั่วเพอราเรีย (Puraria phaseoloides) ถั่วเซ็นโตซีมา
(Centrosema pubescence) ถั่วคาโลโปโกเนียม (Calopogonium mucunoides) ใช้อัตราเมล็ด
0.8 - 2.0 กิโลกรัมต่อไร่ โดยมีอัตราส่วนของเมล็ดพืชคลุม 3 ชนิดคือ คาโลโปโกเนียม : เพอราเรีย : เซ็นโตซีมา
เท่ากับ 2: 2: 3 (เมล็ดมีความงอก 60 - 80 เปอร์เซ็นต์) เมล็ดถั่วทั้ง 3 ชนิดนี้หาชื้อได้ตามร้านค้าชุมชน
ในพื้นที่ที่มีการปลูกปาล์มน้ำมัน การปลูกพืชคลุมตระกูลถั่วในภาคใต้ ทำได้โดยใช้เมล็ด การปลูกพืชคลุมโดยใช้
เมล็ดมี 2 วิธี วิธีแรกปลูกพืชคลุมพร้อมปลูกต้นปาล์มน้ำมัน โดยหลังปลูกปาล์มน้ำมันให้ปลูกตามด้วยพืชคลุมทันที
โดยปลูกพืชคลุมหว่านหรือหยอดเมล็ดในระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน 5 แถว แต่ละแถวห่าง 1 เมตร ขนานไปกับแถวปาล์ม
ห่างจากโคนต้นปาล์ม 2 เมตร และปลูกเพิ่มในแถวปาล์มอีก 3 ในแนวตั้งฉาก นำเมล็ดพืชคลุมที่เตรียมไว้ลงปลูก
โดยการเปิดร่องลึก 1.2 นิ้ว โรยเมล็ดในร่องให้กระจายอย่างสม่ำเสมอแล้วกลบ การปลูกด้วยเมล็ดอีกวิธีคือ
ปลูกพืชคลุมก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน หลังวางแนวปลูกปาล์ม และควรทำในต้นฤดูฝน ให้แนวปลูกพืชคลุมเหมือน
กรรมวิธีแรก เมื่อพืชคลุมคลุมพื้นที่ได้ 50 - 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2 - 3 เดือนหลังปลูกพืชคลุม จึงเอาต้นปาล์มน้ำมัน
ลงปลูก ก่อนปลูกถากพืชคลุมบริเวณหลุมให้เป็นวงกว้างประมาณ 1 - 2 เมตร

ข้อควรระวังในการปลูกพืชคลุมดินคือ

ต้องไม่ให้เถาของพืชคลุมพันต้นปาล์มน้ำมัน และควรมีการป้องกันกำจัดหนูที่จะมากัดโคนต้นปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ

การวิเคราะห์ดินก่อนปลูกปาล์ม

เป็นการวิเคราะห์คุณสมบัติของดินทั้งทางเคมีและทางกายภาพ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปประเมินสภาพและ
องค์ประกอบของดิน วางแผนปรับปรุงดิน จัดการดิน กำหนดชนิดและวิธีการใส่ปุ๋ย การวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน
ทางกายภาพ ได้แก่ ส่วนประกอบของดิน ความลึกของดิน ความลาดเท การระบายน้ำ การวิเคราะห์คุณสมบัติของดิน
ทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด - ด่าง (pH) ความต้องการปูน อินทรีย์วัตถุ ความเค็มของดิน ฟอสฟอรัส โปแตสเชียม
แคลเซียม แมกนีเซียม ส่วนในดินกรดจัดหรือดินพรุวิเคราะห์เพิ่มในธาตุ เหล็ก และทองแดง

3. การปลูกและดูแลรักษา


• เตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย รูปตัวยู หรือทรงกระบอก ควรแยก
ดินบน - ล่างออกจากกัน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (0-3-0) อัตรา 250 - 500 กรัม/หลุม

• ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป ซึ่งมีลักษณะต้นสมบูรณ์แข็งแรง ไม่แสดงอาการผิดปกติ
และมีใบรูปขนนก จำนวนอย่างน้อย 2 ใบ

• เวลาปลูก ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง หรือหลังจากปลูกแล้ว
จะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือนจึงจะเข้าฤดูแล้ง ข้อควรระวัง หลังจากปลูกไม่ควรเกิน10 วัน
จะต้องมีฝนตก

• วิธีการปลูก ถอดถุงพลาสติกออกจากต้นกล้าปาล์มน้ำมัน อย่าให้ก้อนดินแตก จะทำให้ต้นกล้าชะงัก
การเจริญเติบโต วางต้นกล้าลงในหลุมปลูก ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไป และจัดต้นกล้า
ให้ตั้งตรงแล้วจึงอัดดินให้แน่น เมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก

• ตอนปลูกควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนต้นเพื่อป้องกันหนู หลังจากปลูกเตรียมการป้องกันกำจัดหนูโดยวิธี
ผสมผสาน หากสำรวจแล้วพบว่ามีหนูเข้าทำลาย ควรวางเหยื่อพิษและกรงดัก

• การปลูกซ่อม เมื่อพบต้นปาล์มที่ถูกทำลายโดยศัตรูพืช และต้นที่กระทบกระเทือนจาการขนส่งหรือ
การปฏิบัติอย่างรุนแรง ตลอดจนต้นผิดปกติจะต้องขุดทิ้งและปลูกซ่อม ควรปลูกซ่อมให้เร็วที่สุด ดังนั้นควร
เตรียมต้นกล้าไว้สำหรับปลูกซ่อมประมาณร้อยละ 5 ของต้นกล้าที่ต้องการใช้ปลูกจริง โดยดูแลรักษาไว้ใน
ถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 15 x 18 นิ้ว ต้นกล้าจะมีอายุระหว่าง 12 - 18 เดือน ทั้งนี้เพื่อให้ต้นกล้าที่นำไปปลูกซ่อม
มีขนาดใกล้เคียงกับต้นกล้าในแปลงปลูกจริง หรือเตรียมโดยนำไปปลูกระหว่างต้นปาล์มในแถวนอกสุด เพื่อให้
คงระยะปลูกภายในแปลงไว้ และสะดวกในการจัดการสวน การปลูกซ่อมแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ

1. ปลูกซ่อมหลังจากปลูกในแปลงประมาณ 1 - 2 เดือน หรือไม่ควรเกิน 1 ปี อาจเกิดจาก
การกระทบกระเทือนตอนขนย้ายปลูก ได้รับความเสียหายจากศัตรูปาล์มน้ำมัน เช่น หนู เม่น หรือเกิดจากภัยธรรมชาติ
เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้งหลังปลูกอย่างรุนแรง

2. ปลูกซ่อมหลังจากการย้ายปลูก 1 ปีขึ้นไป เป็นการปลูกซ่อมต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ
เช่น ต้นมีลักษณะทรงสูง โตเร็วผิดปกติซึ่งเป็นลักษณะของต้นตัวผู้
• หลังปลูก ถ้าพบด้วงกุหลาบเริ่มทำลายใบเป็นรูพรุนให้ฉีดพ่นด้วยเซฟวิน 85 % ในตอนเย็นทั้งใบ
และบริเวณโคนต้น



ด้วงกุหลาบ
ลักษณะการทำลาย

• กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นในช่วงอายุ 1 - 3 ปี ตามระยะเวลา เช่น ก่อนการใส่ปุ๋ย ถ้าใช้สารเคมี
กำจัดวัชพืช ระวังอย่าให้สารเคมีสัมผัสต้นปาล์มน้ำมัน



รัศมีรอบโคนต้นปาล์มที่ต้องกำจัดวัชพืช
อายุปาล์ม (เดือน)
รัศมีรอบโคนต้น (เมตร)
0 - 6
0.50 – 0.75
6 - 12
0.75 – 1.00
12 - 24
0.75 - 1.25
24 - 30
1.25 – 2.25
มากกว่า 30
2.25 – 2.75


4. การใส่ปุ๋ย

• ปาล์มน้ำมันอายุ 1 - 3 ปี เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบอย่างรวดเร็ว การใส่ปุ๋ย
ในช่วงนี้เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทั้งทางลำต้นและทางใบอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมัน
ให้ผลผลิตที่สูง และสม่ำเสมอในระยะต่อ ๆ ไป อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยเคมีต้องคำนึงถึงชนิดของดินที่ปลูก
ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากในดินแต่ละพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่แตกต่างกัน ในคำแนะนำนี้ได้แบ่งชนิดดินออก
เป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้สามารถเลือกใส่ปุ๋ยได้ใกล้เคียงกับชนิดของดินที่ปลูกปาล์มน้ำมัน (ตาราง ที่ 1)

ตารางที่ 1 ปริมาณปุ๋ยเคมีสำหรับปาล์มน้ำมันอายุปลูก 1 - 3 ปี
ชนิดดิน
อายุปาล์มน้ำมัน (ปี)
ชนิดและปริมาณปุ๋ยเคมี (กก./ต้น)
21-0-0
18-46-0
0-0-60
กีเซอร์ไรท์
โบแรท
ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
1
1.25
0.50
1.00
0.50
0.09
2
2.50
0.75
2.50
1.00
0.13
3
3.50
1.00
3.00
1.00
0.13
ดินเหนียวที่มีความอุดม สมบูรณ์สูง (มีดินเหนียวตั้งแต่ 40 % ขึ้นไป)
1
1.00
0.60
0.50
-
0.09
2
2.00
0.90
1.80
-
0.13
3
2.00
1.10
2.30
0.70
0.13
ในดินกรดหรือดินเปรี้ยวจัด
(acid sulphate)
1
1.00
0.90
1.00
0.30
0.09
2
2.20
0.90
2.50
0.30
0.13
3
3.00
1.10
2.50
0.70
0.13
ดินทราย
1
2.50
0.90
1.20
1.00
0.13
2
3.00
1.10
3.50
1.40
0.13
3
5.00
1.30
4.00
1.40
0.13
ดินอินทรีย์ (ดินพรุ) และดินที่มีแร่ธาตุต่ำ
21-0-0
18-46-0
0-0-60
บอแรกซ์
จุนสี
1
1.00
1.00
1.50
0.09
1.20
2
2.50
1.20
2.50
0.13
0.80
3
2.50
1.50
4.00
0.13
0.40
• การใส่ปุ๋ย ควรแบ่งใส่ปีละ 2 - 3 ครั้ง ตามความเหมาะสม

• การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันอายุ 4 ปีขึ้นไป หรือที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดิน
และใบปาล์มน้ำมัน ควบคู่กับการสังเกตลักษณะอาการขาดธาตุอาหารที่มองเห็นได้ที่ต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับ
การใส่ปุ๋ยเคมีให้เพิ่มขึ้นหรือน้อยลงตามความเหมาะสม หากไม่สามารถวิเคราะห์ดินและใบได้ควรใส่ปุ๋ยดังใน
ตารางที่ 2 โดยปริมาณปุ๋ยที่ใส่ในปีถัดไป ให้พิจารณาตามปริมาณผลผลิตที่ได้รับในปีนั้น


ตารางที่ 2 ปริมาณปุ๋ยเคมีสำหรับปาล์มน้ำมันอายุปลูก 4 ปีขึ้นไป

อายุปาล์ม
(ปี)
ปุ๋ย (กก./ต้น/ปี)
แอมโมเนียมซัลเฟต
(21-0-0)
ร็อคฟอสเฟต
(0-3-0)
โพแทสเซียมคลอไรด์
(0-0-60)
กีเซอร์ไรด์
(26 %MgO)
โบเรท
(B)
4 ปีขึ้นไป
3.0 - 5.0
1.5 - 3.0
2.5 - 4.0
0.80 - 1.00
0.08 - 0.10


• ควรกำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย และใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยเมื่อฝนแล้งหรือ
ฝนตกหนัก


การใส่ปุ๋ย
การใส่ทะลายเปล่า


• ปุ๋ยไนโตรเจน โปแตสเชียม และแม็กนีเชียม ควรหว่านบริเวณรอบโคนต้นให้ระยะห่างจาก
โคนต้นเพิ่มขึ้นตามอายุปาล์ม (0.50 เมตร ถึง 2.50 เมตร) ส่วนฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยดินได้ง่าย ควรลด
การสัมผัสดินให้มากที่สุด จึงควรใส่ฟอสฟอรัสบนกองทางหรือทะลายเปล่า เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีราก
ของปาล์มหนาแน่น อีกทั้งยังช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยจากการชะล้างหรือไหลบ่าของปุ๋ยไปตามผิวดิน

• ควรใส่แมกนีเซียมก่อนโปแตสเซียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• ใส่ทะลายเปล่าประมาณ 150 - 200 กก./ต้น/ปี วางรอบโคนต้นเพื่อปรับปรุงสภาพดิน
รักษาความชื้นและป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

• การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันนั้นจะมีผลต่อผลผลิตหลังจากที่ใส่ไปแล้วประมาณ 2 ปี ดังนั้นจึง
ไม่ควรลดปริมาณปุ๋ย เนื่องจากตอนนั้นราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันต่ำ เพราะการไม่ใส่ปุ๋ยหรือการลดอัตราปุ๋ย
จะมีผลกระทบอย่างรุนแรงกับปาล์มที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี


5. การให้น้ำ

• ในสภาพพื้นที่ที่มีช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีค่าการขาดน้ำมากกว่า 300 มม./ปี
หรือมีช่วงแล้งติดต่อกันนานกว่า 4 เดือน ควรมีการให้น้ำเสริม หรือทดแทนน้ำจากน้ำฝนในปริมาณ
150 - 200 ลิตร/ต้น/วัน พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ มีแหล่งน้ำเพียงพอและมีแหล่งเงินทุน ควรติดตั้งระบบน้ำหยด
(Drip irrigation) หรือแบบมินิสปริงเกอร์ (Minispringkler)

6. การตัดแต่งทางใบ ทำการตัดแต่งทางใบในขณะเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือตัดแต่งประจำปี ซึ่งการจัดการ
ทางใบแตกต่างกันตามอายุของปาล์มน้ำมัน ดังนี้

• อายุระหว่าง 1 - 3 ปี หลังปลูก ควรให้ต้นปาล์มน้ำมันมีทางใบมากที่สุด ตัดแต่งทางใบออก
เท่าที่จำเป็น เช่น ทางใบที่แห้ง ทางใบที่มีโรคหรือแมลงทำลายเป็นต้น

• อายุระหว่าง 4 - 7 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 3 รอบนับจากทะลายที่อยู่ล่างสุด
• อายุระหว่าง 7 - 12 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 2 รอบนับจากทะลายล่างสุด
• อายุมากกว่า 12 ปี ต้นปาล์มควรเหลือทางใบ 1 รอบนับจากทะลายล่างสุด




7. การเก็บเกี่ยว

• อายุการเก็บเกี่ยว เริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 30 เดือน นับจากหลังปลูกลงแปลง
และจะให้้ผลผลิตอย่าง
ต่อเนื่องเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี แต่ต้องมีการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่ออายุและสภาพพื้นที่ แล้วปาล์มน้ำมัน
จะให้ผลผลิตเฉลี่ยตลอดชีวิต 3,000 กก./ไร่/ปี

• รอบการเก็บเกี่ยว อยู่ในช่วง 10 - 20 วัน แล้วแต่ฤดูกาล โดยเฉลี่ยประมาณ 15 วันต่อครั้ง
• ควรเก็บเกี่ยวเมื่อปาล์มน้ำมันสุกพอดี ชนิดผลดิบสีเขียวให้เก็บเกี่ยวเมื่อผลสุกเป็นสีส้ม
มากกว่า 80 % ของผล หรือมีผลร่วง 1 - 3 ผล ส่วนชนิดผลดิบสีดำเมื่อสุกเปลี่ยนสีผลเป็นสีแดง ให้เก็บเกี่ยว
เมื่อมีผลสุกร่วงจากทะลาย 1 - 3 ผล เมื่อเฉือนเปลือกจะเห็นเนื้อผลเป็นสีส้มเข้ม

• เก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว ควรส่งโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง

8. การกองทางใบ
ทางใบที่ตัดแล้วควรนำมาเรียงกระจายให้รอบโคนต้น หรือเรียงกระจายแบบแถวเว้นแถวไม่กีดขวางทางเดินเก็บเกี่ยวผลผลิตและขนผลผลิตและวางสลับแถวกันทุก ๆ ปี เพื่อกระจายทั่วแปลง ซึ่งทางใบเหล่านี้คิดเทียบเป็นปุ๋ยเคมีประมาณ 40 %
ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ตลอดทั้งปี จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีในสวนปาล์ม
น้ำมันลงได้ ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้
ทางใบเหล่านี้ยังเป็นตัวกระจาย
อินทรีย์วัตถุในสวนปาล์มน้ำมันได้เป็นอย่างดี (ประมาณ 1.6 ตัน
ทางใบสดต่อไร่ต่อปี)โดยไม่ต้อง
เพิ่มต้นทุนจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
หรือปุ๋ยชีวภาพอื่น ๆ อีก


9. การเลือกซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ต้นกล้าปกติอายุ 8 - 12 เดือน

• ต้องเป็นพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราเท่านั้น และมีการรับรองพันธุ์
• เลือกซื้อต้นกล้าที่มีลักษณะสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่ผิดปกติ ไม่มีโรคและแมลงทำลาย
• โคนต้นควรมีขนาดใหญ่
• เลือกซื้อจากแปลงเพาะกล้าที่มีป้ายแสดงว่า เป็นแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง
โดยกรมวิชาการเกษตร สามารถตรวจรายชื่อ ”ผู้ขอจดทะเบียนแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน” ได้จาก http://
www.it.doa.go.th


• ดูหลักฐานแหล่งที่มาของพันธุ์ที่น่าเชื่อถือ และที่กรมวิชาการเกษตรรับรอง ซึ่งตรวจสอบได้จากแบบบันทึกการตรวจสอบแปลงเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน

สำหรับผู้ประกอบการ

• ขอดูบัตรประจำตัวเจ้าของแปลงเพาะชำปาล์มน้ำมัน รับรองโดยกรมวิชาการเกษตร
• ขอหนังสือสัญญาซื้อขายหรือใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน
• แหล่งที่มาของพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่

- ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ปัจจุบัน มี 6 พันธุ์ คือ พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฏร์ธานี 1, 2, 3,4, 5 และ 6
- ผลิตโดยบริษัทเอกชนของประเทศไทย
- นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศ คอสตาริก้า ปาปัวนิวกินี ไอวอรีโคสต์ แซร์ เบนิน ยกเว้น
มาเลเซียและอินโดนีเซีย เนื่องจากมีนโยบายห้ามส่งออกพันธุ์ปาล์มน้ำมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526


10. การบันทึกข้อมูล

• บันทึกข้อมูลผลผลิต การใส่ปุ๋ย และวัสดุการเกษตร การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และรายรับ - รายจ่าย ฯลฯ
เพื่อประกอบการจัดการสวนให้มีประสิทธิภาพ
ที่มา : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี.